Thursday, November 21, 2024
ArticlesCloud

บทบาทการพัฒนา ทักษะดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของหัวเว่ย

ASEAN Academy

หัวเว่ยได้ใช้กลยุทธ์ PIPES Talent Model ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล มาจากแนวคิดหลัก 5 ประการคือ แพลตฟอร์ม นวัตกรรม ความเป็นมืออาชีพ ประสบการณ์ และทักษะ

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังก้าวสู่การพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัล โดยมีการคาดการณ์ว่า มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี พ.ศ. 2573 ในขณะที่นานาประเทศทั่วทั้งภูมิภาคต่างเปิดรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในเชิงรุก

ส่งผลให้แนวโน้มความต้องการบุคลากรผู้มีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันการนำระบบอัตโนมัติมาใช้แทนแรงงานคน ทำให้การยกระดับฝีมือแรงงานและการพัฒนาทักษะแรงงานอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญต่อการก้าวสู่ยุคดิจิทัลในอนาคต

ทั้งนี้ ผลวิจัยจาก Gallup เปิดเผยว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรผู้มีทักษะดิจิทัล โดยกว่า 76% ของตำแหน่งงานที่ว่างยังเป็นด้านที่เกี่ยวกับทักษะดิจิทัล ในขณะที่บริษัทเกือบ 72% ต้องเผชิญกับความท้าทายในการเติมเต็มตำแหน่งงานเหล่านี้

ปัจจุบันแนวโน้มความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่ยังขยายไปถึงอุตสาหกรรมสาธารณสุข อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และภาคส่วนอื่นๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอีกด้วย

บทความโดย: จุน จาง ประธานฝ่ายสื่อสารองค์กร หัวเว่ยเอเชียแปซิฟิก

เพื่อลดช่องว่างด้านการขาดแคลนทักษะด้านดิจิทัล โปรแกรมการฝึกอบรมที่ตอบโจทย์ความต้องการจึงเป็นแรงผลักดันสำคัญในการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัล เพื่อให้พร้อมสำหรับความท้าทายในปัจจุบันและอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

โดยหัวเว่ยในฐานะผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีชั้นนำ ที่มาพร้อมกับองค์ความรู้และประสบการณ์ในอุตสาหกรรม รวมถึงศักยภาพด้านนวัตกรรมขั้นสูงจึงมีบทบาทสำคัญในการเร่งพัฒนาอีโคซิสเต็มของผู้มีทักษะดิจิทัล

สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยได้ใช้กลยุทธ์ PIPES Talent Model ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล โดยกลยุทธ์ PIPES มาจากแนวคิดหลัก 5 ประการคือ แพลตฟอร์ม นวัตกรรม ความเป็นมืออาชีพ ประสบการณ์ และทักษะ

โดยโครงการนี้เป็นการพัฒนาทักษะเฉพาะบุคคลที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ หน่วยงานกำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานด้านไอซีที ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป

ทั้งนี้การเสริมศักยภาพบุคลากรผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลของหัวเว่ยนี้ถือเป็นหนึ่งในการลงทุนเพื่ออนาคต และยังช่วยเร่งผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไปพร้อมกัน

แพลตฟอร์ม: ผลักดันแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนความรู้และบ่มเพาะทักษะดิจิทัล

หัวเว่ยได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย รัฐบาล และพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมบนแพลตฟอร์ม ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนจริง เพื่อเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลของบุคคลและชุมชนผ่านการแบ่งปันความคิดเห็นและทรัพยากรที่มีร่วมกัน

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 หัวเว่ยผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยกว่า 300 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ฝึกอบรมนักศึกษามากกว่า 50,000 คนผ่านหลักสูตรการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ และการแข่งขันทักษะไอซีที

และเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการปิดฉากการแข่งขันเทคโนโลยีไอซีทีระดับภูมิภาคในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นในการผลักดันเวทีระดับโลกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในการใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดโอกาสให้แสดงความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง

สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ โปรแกรม Huawei Cloud Incubator ช่วยผลักดันสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีให้เข้าถึงแพลตฟอร์มคลาวด์ของหัวเว่ย และในปัจจุบันโปรแกรมดังกล่าวร่วมสนับสนุนสตาร์ทอัพกว่า 110 รายทั่วภูมิภาค

นวัตกรรม: จุดประกายความคิดและสร้างสรรค์เทคโนโลยี

ด้วยเป้าหมายการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่จะผู้นำในอนาคต ด้วยแนวคิดใหม่และเทคโนโลยีขั้นสูง หัวเว่ยได้มีการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพื่อเสริมทักษะและความรอบรู้ในประเด็นใหม่ๆ ในอีโคซิสเต็มด้านเทคโนโลยีผ่านโครงการ Seeds for the Future

โดยโครงการฯดังกล่าวได้เปิดตัวในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2551 ช่วยเสริมทักษะความรู้ความสามารถของนักศึกษามหาวิทยาลัย ผ่านการฝึกอบรมด้วยแนวคิดใหม่ที่ผสานเทคโนโลยีขั้นสูง และการเข้าถึงวัฒนธรรมอันหลากหลายที่เป็นเอกลักษณ์

นอกจากนี้ยังมีการแข่งขัน Tech4Good ที่จัดขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันคิดค้นวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความตระหนักรู้ต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยในปีที่ผ่านมา หนึ่งในผู้ชนะระดับภูมิภาคซึ่งเป็นตัวแทนจากมูลนิธิอาเซียน ได้นำเสนอโครงการ N-ABLE ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการจับคู่ตำแหน่งงานกับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและตรงกับเนื้องาน ผ่านการให้คำปรึกษา การจับคู่งาน และการฝึกอบรม

ในวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัว Asia-Pacific OpenLab 3.0 ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคสำหรับนวัตกรรมและโซลูชันการวิจัยพัฒนาล่าสุดของหัวเว่ย มาพร้อมห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีไอซีทีล้ำสมัยสี่ห้อง

การเปิดตัว OpenLab ล่าสุดของหัวเว่ย เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านการผนึกกำลังเพื่อเสริมศักยภาพด้านนวัตกรรมของหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันนวัตกรรมและพลิกโฉมการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ความเป็นมืออาชีพ: บ่มเพาะทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล

เราเร่งพัฒนาบุคลากรดิจิทัลให้พร้อมสำหรับการจ้างงานในอนาคตผ่านการเสริมทักษะเทคโนโลยีไอซีที โปรแกรมให้คำปรึกษา การสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง และการฝึกอบรมก่อนการจ้างงาน และเราไม่ได้ทำสิ่งนี้เพียงลำพัง 

ในสิงคโปร์ Huawei ICT Academy ได้ผนึกกำลังกับวิทยาลัยสิงคโปร์โพลีเทคนิค (Singapore Polytechnic) เพื่อแนะนำหลักสูตรที่ได้รับการรับรองในอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมหลักสูตรต่างๆ ทั้งการเขียนโปรแกรม โซลูชัน AI และคลาวด์ ซึ่งมีเป้าหมายผลักดันให้บุคลากรมืออาชีพที่มีประสบการณ์ ให้สามารถใช้หลักสูตรเหล่านี้เพื่อเพิ่มพูนทักษะและเพิ่มโอกาสในการจ้างงานด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในอนาคต

ย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2563 ภายใต้การแนะนำของ KSP และการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหลากหลายหน่วยงานในประเทศอินโดนีเซีย หัวเว่ยได้เปิดตัวโครงการเพื่อปลูกฝังผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล เพื่อบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในประเทศอินโดนีเซียให้ได้ 100,000 คนภายในเวลา 5 ปี และในปัจจุบันหัวเว่ยบรรลุเป้าหมายดังกล่าวไปแล้วถึง 80%

ประสบการณ์: ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรม

ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำที่วางรากฐานในเอเชียแปซิฟิกมากว่า 20 ปี หัวเว่ยได้สั่งสมความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและพัฒนาองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมจนพร้อมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ให้กับบุคคลทั่วไป องค์กร และชุมชนทั่วทั้งภูมิภาค 

ทั้งนี้ โครงการ Business Institute ซึ่งอยู่ภายใต้ ASEAN Academy จะส่งมอบทักษะประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการองค์กรและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลแก่ผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้พวกเขามองเห็นภาพใหญ่ท่ามกลางความซับซ้อนในยุคดิจิทัล และสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญเพื่อการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด

ทักษะ: เร่งพัฒนาทักษะดิจิทัลและความเป็นผู้นำ

สถาบันด้านเทคนิคและวิศวกรรมของ ASEAN Academy ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ปฏิบัติงานด้านไอซีทีด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมการรับรองทักษะไอซีที, ทักษะการติดตั้งอุปกรณ์ และหลักสูตรอื่นๆ ภายในปีพ.ศ. 2565 ศูนย์ฝึกอบรม ASEAN Academy ในประเทศไทย, ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซียช่วยเสริมศักยภาพทักษะไอซีทีให้ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลไปแล้วกว่า 75,000 คน

หัวเว่ยยังมุ่งสร้างความเท่าเทียมด้านทักษะดิจิทัลและตอกย้ำความมุ่งมั่นในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยในประเทศไทยและบังกลาเทศ ด้วยโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) ที่เสริมทักษะดิจิทัลและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับผู้หญิงและเด็กกว่า 60,000 คน และโครงการ School-in-a-Bag ช่วยเสริมทักษะให้เยาวชนในฟิลิปปินส์กว่า 10,000 คนจาก 15 หมู่บ้าน สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ทางไกล

ในปีพ.ศ. 2564 หัวเว่ยได้ผนึกกำลังร่วมกับพรรคการเมืองสตรีของรัฐสภาอินโดนีเซีย หรือ KPP-RI จัดเวิร์คช็อปเตรียมความพร้อมให้กับนักการเมืองหญิงในยุคดิจิทัล พร้อมส่งเสริมทักษะความเป็นผู้นำเพื่อรับบทบาทสำคัญทางการเมืองในอนาคต

การลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา ซึ่งเราจะสามารถสร้างตลาดงานที่มีพลวัตรและมีขีดความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลได้ ผ่านการผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร การบุกเบิกการวิจัยเชิงนวัตกรรม

รวมทั้งการสร้างแหล่งการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการและการแบ่งปันองค์ความรู้ในอุตสาหกรรม ถึงเวลาแล้วที่เราต้องร่วมกันกำหนดภูมิทัศน์ดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อก้าวสู่ยุคแห่งความเจริญก้าวหน้าทางดิจิทัล และเร่งการเข้าถึงนวัตกรรมและโอกาสใหม่ๆ ต่อไปในอนาคต

Featred Image: Image by DCStudio on Freepik