“สสว. เผย ภาระหนี้สิน SME ไตรมาส 4/2566 ทรงตัวในสัดส่วนร้อยละ 60 หลังจากขยายตัวต่อเนื่องใน 3 ไตรมาสก่อนหน้าผลจากวิสาหกิจรายย่อย (Micro) เริ่มเข้าถึงแหล่งเงินในระบบเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการเป็นหลัก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับสูง ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการชำระหนี้ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพิ่ม ส่วน SME ที่ไม่มีหนี้สินแต่สนใจกู้ยืมต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือด้านองค์ความรู้การจัดการทางการเงินและหนี้สิน
“สสว. สรุปสถานการณ์ SME ปี 2566 คาดว่า GDP SME ขยายตัวร้อยละ 4 คิดเป็นมูลค่า 6.44 ล้านล้านบาท ขณะที่ปี 2567 GDP SME มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 4–5 ปัจจัยหลักยังมาจากการท่องเที่ยวและการส่งออก รวมทั้งเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เตรียมเพิ่มศักยภาพ SME เข้าสู่การเป็นธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน รองรับความต้องการสินค้าและบริการจากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
“สสว.เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) เดือนตุลาคม 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 53.3 ตามคาดการณ์ผลจากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพที่ส่งผลถึงต้นทุน ภาคการค้าได้รับอานิสงส์สูงสุด รวมถึงภาคการผลิตที่กลับมาเพิ่มกำลังการผลิตได้ในรอบ 9 เดือน เพื่อรองรับความต้องการบริโภคในช่วงเทศกาลปลายปี