Wednesday, December 4, 2024

archiveKBank

NEWS

กสิกรไทย แยก เคไอวี ลุยลดต้นทุนธุรกิจ

ธนาคารกสิกรไทย ประกาศแยก บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ เคไอวี ลุยลดต้นทุนธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถให้บริการการเงินกับลูกค้ารายย่อย

KATALYST STARTUP LAUNCHPAD
ESGFinTechNEWS

กสิกรไทยจัดหลักสูตร KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2023 เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย

กสิกรไทยจัดหลักสูตรเข้มข้น เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย มอบองค์ความรู้พร้อมเครื่องมือต่อยอดธุรกิจเป็นปีที่ 4 มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท เน้น FinTech, ESG และ Green Technology, Artificial Intelligence และ Machine Learning, HealthTech และ Enterprise Solution

NEWS

เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง เปิดบริการใหม่ Reconciliation Service ช่วยขจัดปมขัดแย้งในครอบครัว

เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง เปิดบริการใหม่ Reconciliation Service  ชี้ความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนผ่านระหว่างรุ่น และ การปรับรูปแบบธุรกิจครอบครัว กระตุ้นความต้องการ  บริการวางแผนทรัพย์สินครอบครัว มากขึ้น

NEWS

Kbank เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกเงิน เร่งให้ความรู้ ผ่านแคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์

เคแบงก์ เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกเงินที่สร้างความเสียหายกับประชาชนกว่า 31,000 ล้านบาท เร่งให้ความรู้และวางมาตรการป้องกันผ่านแคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์

K PLUS
FinTechNEWS

กสิกรไทยเร่งเครื่องดิจิทัล ยอดผู้ใช้ K PLUS พุ่ง เพิ่มขึ้น 2 ล้านราย

กสิกรไทยเร่งเครื่องดิจิทัล ขยายโอกาสเข้าถึงบริการธนาคาร ยอดผู้ใช้แอปฯ K PLUS พุ่ง เพิ่มขึ้น 2 ล้านราย การทำธุรกรรมผ่าน K PLUS โตก้าวกระโดด 53% ยอดเงินธุรกรรมผ่าน K PLUS แตะ 10 ล้านล้านบาท

NEWS

ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ ปี 2565 กำไร 35,770 ล้านบาท

ขัตติยา  อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะสามารถประคองทิศทางการฟื้นตัวได้ดีกว่าปี 2564 แต่ภาคการส่งออกของไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565

และมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในปี 2566 เนื่องจากธนาคารกลางของประเทศแกนหลักของโลกยังคงต้องคุมเข้มนโยบายการเงินต่อเนื่องเพื่อสกัดแรงกดดันเงินเฟ้อ นอกจากนี้ แม้ว่าจีนจะเริ่มทยอยเปิดประเทศ

แต่การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนอาจหนุนตลาดต่างชาติเที่ยวไทยได้เพียงในระดับหนึ่ง ทำให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2566 จะยังไม่สามารถกลับเข้าสู่ระดับก่อนโควิด-19 ได้ ดังนั้น เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงมีความเปราะบาง และยังคงต้องติดตามแรงกดดันในส่วนของต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ ปัญหาค่าครองชีพ

และอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ยังขยับขึ้นต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ธนาคารและบริษัทย่อยจึงยังคงดำเนินธุรกิจตามหลักความระมัดระวังรอบคอบภายใต้ทิศทางภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน ในการเดินหน้าเชิงกลยุทธ์ด้วยการใช้เทคโนโลยี และกระบวนการใหม่ ๆ

รวมทั้งการผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจ และการเป็นธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค AEC+3 อย่างต่อเนื่องในการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบธนาคารพาณิชย์ให้กับประชาชนในวงกว้าง ให้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนและสภาพคล่อง

และใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ของธนาคาร ส่งเสริมให้ธุรกิจลูกค้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตอบรับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งธนาคารยังคงดำเนินการเชิงรุกในการดูแล และให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวไม่เท่ากันผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร

สำหรับปี 2565 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 35,770 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 2,283 ล้านบาท หรือ 6.00% โดยกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 98,504 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.72% เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของธนาคารและทิศทางอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

และมีอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) ที่สูงขึ้นอยู่ในระดับ 3.33% ประกอบกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 43.15%

อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยพิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL)  เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในระดับสูงเพื่อให้สอดคล้องกับหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 13,608 ล้านบาท หรือ 11.40% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อใหม่ในกลุ่มลูกค้าบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี โดยเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร

ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 3,700 ล้านบาท หรือ 8.42% ส่วนใหญ่เกิดจากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลงซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด

ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 3,709 ล้านบาท หรือ 5.22 % หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณธุรกิจ และค่าใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้า

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ในปี 2565 มีจำนวน 51,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 28.73% เพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต

รวมทั้งการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ยังคงเปราะบาง นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีความพร้อมในการดูแลช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร เพื่อให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้เต็มศักยภาพ ตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น

โดยอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 154.26% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,246,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2564 จำนวน 142,970 ล้านบาท หรือ 3.48% หลัก ๆ เป็นการเติบโตของเงินให้สินเชื่อสุทธิตามยุทธศาสตร์ของธนาคารและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ

นอกจากนี้ ธนาคารเพิ่มความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้ามีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และจะเป็นกำลังขับเคลื่อนการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.19% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 18.81% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.84%

ทั้งนี้ งบการเงินรวมของธนาคารและบริษัทย่อยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ได้รวมฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงานของธนาคารแมสเปี้ยน จากการเข้าไปลงทุนเพิ่มในช่วงปลายปีทำให้มีสัดส่วนการถือหุ้นรวมร้อยละ 67.50 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้ว ซึ่งไม่มีผลกระทบต่องบการเงินรวมอย่างมีสาระสำคัญ

NEWS

2 ยักษ์ใหญ่เดินหน้าลดโลกร้อน เคแบงก์ จับมือไทยฮอนด้า รุกธุรกิจ EV Bike พาประเทศไทยสู่สังคมสีเขียว

ธนาคารกสิกรไทยจับมือไทยฮอนด้า เดินหน้าสนับสนุนคนไทยใช้พลังงานสะอาดลดปัญหาโลกร้อน รุกธุรกิจ EV Bike รับกระแสความนิยมรถ EV และเชื่อมั่นว่าจะผลักดันให้ตลาด EV Bike เติบโต ช่วยให้คนไทยได้มีโอกาสขับขี่รถจักรยานยนต์พลังงานสะอาดมากขึ้น

NEWS

กสิกรไทยผนึกกำลัง 4 พันธมิตร ชูนวัตกรรมเดนโด ไดร์ฟ เฮ้าส์ คืนพลังงานสะอาดให้โลก

ธนาคารกสิกรไทย จับมือ 4 พันธมิตรชั้นนำ “ลีสซิ่งกสิกรไทย-มิตซูบิชิ มอเตอร์ส-อินโนพาวเวอร์-เอสซีจี รูฟฟิ่ง” เปิดตัวแคมเปญ “เดนโด ไดร์ฟ เฮ้าส์” บ้านพลังงานสะอาด ครั้งแรกในประเทศไทย

Movement

KBank จับมือพันธมิตรเดินหน้า SolarPlus ลุยติดโซลาร์รูฟฟรี ขยายอีก 4 โครงการของศุภาลัย

นาคารกสิกรไทย จับมือพันธมิตรเดินหน้าโครงการ SolarPlus ลุยติดโซลาร์รูฟให้ประชาชนฟรี หลังจากนำร่องที่โครงการศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ รังสิต คลอง 2 ได้รับความสนใจจากลูกบ้านดีเกินคาด ล่าสุดขยายเพิ่มอีก 4 โครงการของศุภาลัย โดยมี ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ที่ จากขวา)

พร้อมด้วย ธัญวรัตน์ ปัญญารัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) (ที่ จากซ้าย)  รชต ดีอารมย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด (ซ้าย) และ ไชยรพี เลี้ยงบุญเลิศชัย Head of Strategic Partnership บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด (ขวา) 

ร่วมกันส่งมอบพลังงานสะอาดลุยติดโซลาร์รูฟเพิ่มอีก 4 โครงการภายในปีนี้ ได้แก่ ศุภาลัย พาร์ควิลล์ รังสิต คลอง 4 ศุภาลัย วิลล์ รังสิต คลองหลวง-คลอง 2 ศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ กรุงเทพ-ปทุมธานี และศุภาลัย พรีโม่ พหลโยธิน 54/1 เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานสะอาดด้วยโซลาร์รูฟในบ้านพักอาศัยมากขึ้น

1 2 3
Page 2 of 3