Wednesday, December 4, 2024
Digital TransformationEduTechNetworkingNEWS

มศว โชว์ความก้าวหน้านวัตกรรมการศึกษา ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายของหัวเว่ย

มศว

มศว เปิดตัวพื้นที่ต้นแบบ โชว์เทคโนโลยีด้านการศึกษาระดับโลกในประเทศไทย ผลลัพธ์จากโครงการความร่วมมือทางเทคโนโลยีกับหัวเว่ย เสริมความแข็งแกร่ง เดินหน้าสู่มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม

หาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแสดงนวัตกรรมด้านการศึกษา ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงและโซลูชันสำหรับการศึกษา โดยคาดหวังถึงการเป็นพื้นที่ต้นแบบด้านการบริหารจัดการ ควบคุม และอำนวยความสะดวก การให้บริการเครือข่ายไร้สายในสถาบันการศึกษา ตลอดจนนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอน

พื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการเครือข่าย และห้องเรียนอัจฉริยะ

พื้นที่ต้นแบบด้านการศึกษานี้ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โดยจัดแสดงประสิทธิภาพระบบเครือข่ายด้วยการปฏิรูปทางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการสนับสนุนระบบการศึกษาด้วยโซลูชัน Campus Network ของหัวเว่ย บนเทคโนโลยี Wi-Fi 6 กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วทั้งวิทยาเขต

สร้างการเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมด้วยดาต้าเซ็นเตอร์ สตอเรจ บนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงาน โดย หัวเว่ย ประเทศไทย ได้ติดตั้งทรัพยากรคุณภาพสูงเพื่อรองรับการทำงานที่มั่นคงของพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งจะใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเพื่อช่วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล

พื้นที่สาธิตแห่งนี้ประกอบไปด้วย ห้องประชุม, ดาต้าเซ็นเตอร์, ศูนย์ปฏิบัติการ (O&M) และห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)

ทั้งนี้ โซลูชัน Huawei Cloud Campus Network และ iMaster NCE Campus ที่ติดตั้งแล้วเสร็จและทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ ได้ช่วยให้นักศึกษาและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย สามารถใช้ Wi-Fi ได้ทุกที่ทุกเวลาภายในวิทยาเขตทั้งสองแห่ง รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุด อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง (VR), อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบิ๊กดาต้า

Campus Network
ศูนย์ O&M
Campus Network
ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)
มศว กับเป้าหมาย Smart University

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า “เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที เพื่อก้าวสู่ มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยฯ”

“การทำงานร่วมกับหัวเว่ยนั้นช่วยให้นิสิตและคณาจารย์ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ และได้รับประโยชน์จากวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่สำหรับประสบการณ์การศึกษาที่ล้ำสมัย ช่วยให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้นในฐานะมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้นำในด้านการศึกษาต่อไป”

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพล ธาราธีรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “การก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมนั้น มีสิ่งสำคัญหลายๆ ประการที่ต้องปรับให้สอดรับกับแนวคิดสมาร์ท

อาทิ โครงสร้างพื้นฐานไอที เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการใช้และการจัดการข้อมูลที่ดี มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทุกหน่วยของมหาวิทยาลัยต้องสมาร์ท ทั้งระบบ ทั้งคน รวมถึงสิ่งแวดล้อม”

Campus Network
รองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพล ธาราธีรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

“ความร่วมมือกับหัวเว่ยที่เริ่มมาตั้งแต่พฤษภาคม 2561 มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีของมหาวิทยาลัย รองรับการใช้แอปพลิเคชันด้านการศึกษาในศูนย์การเรียนทั้งสองแห่ง ซึ่งได้แก่ ประสานมิตรและองครักษ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำด้านการศึกษา และมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม”

“ประเด็นหลักๆ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมไอทีดิจิทัล ของการปฏิรูปไปสู่ มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมนั้น ทางมหาวิทยาลัยได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและมีความพร้อม ตั้งแต่การยกเครื่องเพิ่มประสิทธิภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน การมีระบบการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ซึ่งทำให้มีการจัดการกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่และสามารถนำ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.วุฒิพล กล่าว

“สำหรับแผนการพัฒนาต่อในอนาคต ทางมหาวิทยาลัยฯ กำลังพิจารณาถึง การพัฒนาระบบความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่าย การสร้างประสบการณ์การเรียนการสอนให้สอดรับกับนวัตกรรมและความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี ​AR/VR รวมถึงการนำเทคโนโลยี IoT เพื่อเชื่อมต่อคนและอุปกรณ์เข้าด้วยกัน”

เทคโนโลยีเครือข่ายที่ช่วยสร้างระบบการศึกษาอัจฉริยะ

ดร.วุฒิพล อธิบายเพิ่มเติมว่า “โซลูชันระบบเครือข่าย ระบบห้องเรียนอัจฉริยะ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการศึกษาขั้นสูงของหัวเว่ย เป็นโซลูชันที่เหมาะกับการสร้างเน็ตเวิร์คด้านการศึกษาและการวิจัยสำหรับอนาคตของมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒเป็นอย่างยิ่ง”

“เทคโนโลยีเครือข่ายรุ่นใหม่ สามารถตอบโจทย์ความต้องการเครือข่ายที่ซับซ้อนของมศว ได้เป็นอย่างดี สร้างการเชื่อมโยงเครือข่ายครอบคลุมทั่วทั้งมหาวิทยาลัย สามารถผนวกรวมเครือข่ายแบบมัลติเน็ตเวิร์คเข้าด้วยกัน และมีความเร็วสูงในการเชื่อมโยงกันระหว่างเครือข่าย”

“ทำให้มศว ได้ประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านการแชร์ข้อมูล ระบบบริการเสมือน และการควบคุมการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถจัดหาบริการข้อมูลคุณภาพสูงให้แก่คณาจารย์และนิสิตได้เป็นอย่างดี”

Campus Network

“ในมุมของผู้ดูแลระบบไอทีของมหาวิทยาลัย เราพบผลลัพธ์ที่ดีหลายประการ อาทิ ความเร็วของการเชื่อมต่อไร้สายที่ 10 Gbps, TCO ที่ลดลงถึง 30%, พื้นที่ให้บริการเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงที่ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย และความเร็วในการตอบสนองต่อปัญหาเครือข่ายที่ลดลงเหลือเพียงไม่ถึง 1 นาที”

“ขอย้ำว่า การก้าวสู่มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมนั้น ทาง มศว มีความจำเป็นต้องลงทุนระบบต่างๆ แต่ก็เป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดการสนับสนุนการเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อค่าหน่วยกิต หรือค่าใช้จ่ายของนิสิตแต่อย่างใด เรามุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นสำคัญ” ดร.วุฒิพล กล่าวเสริม

หัวเว่ย ช่วยเร่งกระบวนการก้าวสู่ดิจิทัลของภาคการศึกษา

แอรอน หวัง รองประธาน กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของมศว ในการธำรงไว้ซึ่งการเป็นต้นแบบในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค”

มศว
(จากซ้ายไปขวา) รองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพล ธาราธีรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์, รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แอรอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เอเชียแปซิฟิก, วินเซนต์ หลิว ประธานฝ่ายการตลาดเน็ตเวิร์กเอ็นเตอร์ไพรส์และจัดจำหน่ายโซลูชันระดับโลกของหัวเว่ย

พร้อมเสริมว่า “ด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เราได้สร้างพื้นที่สาธิตอันล้ำสมัยที่มุ่งสนับสนุนด้านการศึกษา ที่จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายในระยะยาว”

หัวเว่ย ตั้งเป้าที่จะช่วยเร่งกระบวนการก้าวสู่ดิจิทัลของภาคการศึกษาให้รวดเร็วขึ้น โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาผ่านแนวทางและทรัพยากรที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการผนวกรวมการเรียนการสอนกับเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างล้ำลึก

ทั้งนี้ การยกระดับอุตสาหกรรมการศึกษาสู่ดิจิทัลจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบุคลากรเปี่ยมความสามารถเพื่อระบบนิเวศดิจิทัลที่ก้าวหน้าทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค