“ผู้เขียนหยิบเอาการวางยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยี ไอที ไซเบอร์ และดิจิทัล ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มาถอดรหัส ซึ่งพบเห็นอะไรบางอย่าง ทั้งการปรับวิธีคิดใหม่ ความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน แนวทางการผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม ที่อาจสามารถใช้เป็นไกด์ไลน์ในการพัฒนาองค์กรของไทยได้
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้สูญเสียความเป็นผู้นําทางเทคโนโลยีให้แก่จีน แม้มีความคิดริเริ่มที่ใหม่ๆ สำหรับการออกแบบทางเทคโนโลยี ที่จะนําไปใช้ในอนาคตของ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD) แต่สิ่งที่เหนือกว่าฝังอยู่ในความคิดของบุคลากรทางทหารและพลเรือนที่เกี่ยวข้อง ยังคงวนเวียนอยู่กับวิธีการในแบบเดิม (Steady), อย่างสม่ำเสมอ (Consistent) และสามารถคาดเดาได้ (Predictable) ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีคิดแบบ รูปแบบตามมูลค่า (Value-based model)
ปัจจุบันภูมิทัศน์การแข่งขันของชาติมหาอำนาจได้ขยายตัวและไม่อาจคาดเดา มีความต้องการที่มากขึ้นในการใช้บุคลากรที่ปรับตัวและใช้เทคโนโลยีได้ดีกว่า เพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามมาคุกคามต่อผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา
DoD จึงได้ก้าวข้ามรูปแบบตามมูลค่า ที่ใช้วิธีการในแบบเดิม หมายถึง การหยุดนิ่ง, อย่างสม่ำเสมอ หมายถึง การทำมาต่อเนี่อง และสามารถคาดเดาได้หมายถึง ไม่สามารถหลบซ่อนการคาดเดา ทำให้ DoD ชนะกลับมาเป็นผู้นําทางเทคโนโลยี โดยใช้แนวทางของ ผู้ชนะ (Champion), ผู้สร้างนวัตกรรม (Innovator) และผู้ดำเนินการ (Implementer)
ตามคำแนะนําของ น.ท.สตีเฟน สคิปเปอร์ แห่ง กองทัพอากาศสหรัฐฯ (USAF) เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติที่สถาบันฮูเวอร์ของสแตนฟอร์ด ในบทความ “How the_DoD can win the great tech race with a new workforce model”
โดยบทความมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
จุดเริ่มต้น
ในช่วงปลายปี ค.ศ.2020 คณะกรรมการไซเบอร์สเปซของสหรัฐฯ (U.S. Cyberspace Solarium Commission) ได้ทำรายงาน เพื่อแจ้งพระราชบัญญัติการอนุญาตป้องกันประเทศของปี ค.ศ.2021 (National Defense Authorization Act for 2021) ที่ได้ทำการศึกษาและเสนอคำแนะนําที่มากกว่า 80 ข้อ
จุดหลักของความพยายาม ประกอบด้วยการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและบุคลากรของรัฐบาลให้ทันสมัย พร้อมกับดำเนินการทำงานร่วมกันในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา โดย_DoD ต้องขยายโครงการบูรณาการบุคลากรทางไซเบอร์กับภาคอุตสาหกรรมเอกชน
ในขณะเดียวกันต้องยกเครื่องแนวทางในการจัดหา, การบูรณาการ และการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ (Key player) ซึ่งช่วยเพิ่มความพร้อมในขอบเขตของโลกไซเบอร์ (Cyber Domain) ที่มีการแข่งขันอย่างมาก ด้วยในเวลาที่ผ่านมาไม่มีตัวแทนของความสามารถในด้านดิจิทัล หรือโครงสร้างขององค์กรที่จำเป็นในการรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในระดับที่ทัดเทียมกับคู่แข่ง โดยเฉพาะในประเทศจีน
เอริค ชมิดท์ อดีตหัวหน้า Alphabet บริษัทแม่ของ Google ชี้ให้เห็นว่า “กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD) ไม่มีปัญหาทางเทคโนโลยี แต่มีปัญหาทางด้านการนําเทคโนโลยีมาใช้ ต่างจากยุคอุตสาหกรรมที่ความคิดและการพัฒนาใหม่ๆ นั้นได้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลเป็นหลัก”
“แต่ปัจจุบันความเหนือกว่าของนวัตกรรมได้เริ่มต้นในภาคเอกชน ตอนนี้_DoD ถึงเวลาต้องเห็นด้วยกับแนวทางของผู้ชนะ (Champion), ผู้สร้างนวัตกรรม (Innovator) และผู้ดำเนินการ (Implementer) ขณะเดียวกันต้องขยายความร่วมมืออันมีค่าไปพร้อมกัน”
“สิ่งที่ได้รับจากการสร้างความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรมนั้น จะช่วยเพิ่มความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศสหรัฐฯ ต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยความสัมพันธ์เหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า_DoD ในวันนี้หลีกเลี่ยงการใช้แนวทางปฏิบัติในยุคอุตสาหกรรม เพื่อการแก้ปัญหาของวันพรุ่งนี้”
ผู้ชนะคือ ภาคเอกชน
ผู้ชนะคือ ภาคเอกชนซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนที่มีคุณค่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ สร้างแรงบันดาลใจระดับที่สูงขึ้นของความสำเร็จในการดำเนินงาน และขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา DoD_ประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างกลุ่มและหน่วยนวัตกรรม
จากการให้สัมภาษณ์ของ ไมเคิล บราวน์ อดีต CEO บริษัท Symantec ได้เน้นย้ำว่า “DoD_ในเวลาที่ผ่านมาประสบความสำเร็จได้ด้วยการจัดวางยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ และการกระทำต่างๆ ที่ได้มาซึ่งความรู้ อันรวมถึงความสามารถ”
“แม้องค์กรมีจุดแข็งเหล่านี้ แต่ในข้อจำกัดด้านงบประมาณของ DoD_รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างที่ล้าสมัยนั้น ได้ขัดขวางในการพัฒนาทางนวัตกรรม”
ในมุมมองของ บราวน์ ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวของการปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยใน_DoD ซึ่งในหลายๆ กรณีเมื่อถึงเวลาที่มีการระดมทุนก็สายเกินไปที่จะสร้างสรรค์ไปข้างหน้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่สำคัญคำสั่งในการใช้จ่ายของรัฐบาลและการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างนั้นยาวนานไป
แตกต่างจากหน่วยงานของเอกชนซึ่งไม่ได้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากเกินไป จึงทำให้พวกเขานั้นสามารถคิดค้น, ปรับขนาด และส่งมอบความสามารถที่สูงกว่าในการแข่งขันทางเทคโนโลยี ซึ่งเหนือกว่าฝ่ายตรงกันข้ามของสหรัฐฯ
ผู้สร้างนวัตกรรมคือ ภาคเอกชนและภาครัฐ
ในช่วง 2 ถึง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้สูญเสียฐานรากแห่งนวัตกรรมให้แก่จีน โดยเฉพาะในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) และเทคโนโลยีอื่นๆ การก้าวขึ้นอย่างชาญฉลาดของบริษัทเทคโนโลยีที่ได้รับทุนสนับสนุน เป็นจุดเริ่มที่รอมานานสำหรับการทดลองและนวัตกรรมของชาวอเมริกัน
ตัวอย่างที่เราได้เห็นคือ SpaceX ในการสนทนาที่ผ่านมากับ พล.อ.อ.จอห์น เรย์มอนด์ อดีตหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการด้านอวกาศ กองกําลังทางอวกาศสหรัฐฯ (U.S. Space Force) เขาได้เน้นย้ำไว้ว่า
“การแบ่งปันแนวคิดใหม่ๆ กับพันธมิตรในด้านอุตสาหกรรมนั้น จะนําไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานที่รวดเร็ว” โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของบริษัท SpaceX ในการผลิตและการยิงดาวเทียม ISR (ดาวเทียมการสื่อสารที่สำคัญสำหรับข้อกำหนดด้านข่าวกรอง, การเฝ้าระวัง และการลาดตระเวนทั้งหมดที่ต้องการ)
ด้วยอัตราที่เร็วขึ้นในแบบทวีคูณ เมื่อนํามาเทียบกับ_DoD ซึ่งภาคเอกชนเป็นตัวอย่างอันทรงพลังที่ทำให้ ภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาลสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเหล่านั้นเพื่อเอาชนะจุดอ่อน ซึ่งในขณะเดียวกันก็ได้สร้างผลลัพธ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่
ผู้ดำเนินการคือ ภาครัฐ
เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการที่เป็นมืออาชีพ_DoD ได้ลงทุนในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและการศึกษาสำหรับบุคลากรที่ดูแลและติดตามเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย การอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม ก็เพื่อนําโซลูชันชั้นสูงไปใช้ทำให้ได้ชัยชนะในระยะสั้น
อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมา คงเห็นการขาดกลยุทธ์ที่ยั่งยืน ซึ่งขัดขวางความก้าวหน้าในระยะยาวใน ขณะที่เทคโนโลยีนั้นก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่การฝึกอบรมในด้านเทคโนโลยีชั้นนสูงของ DoD ไม่ได้จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมบุคลากร
ด้วยเหตุนี้_DoD จึงมีทางเลือกกล่าวได้คือ ลงทุนอย่างจริงจังในการพัฒนาผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล ให้ประสบความสำเร็จในฐานะผู้ปฏิบัติงานหรือดำเนินงานในสภาพที่เป็นอยู่ โดยใช้ประโยชน์ที่ได้จากความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองในความต้องการ
ด้วยตัวเลือกนี้ต้องการการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญแต่ในระยะยาวนั้น_DoD ได้รับประโยชน์จากการทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการของตนเอง ด้วยทีมงานดิจิทัลที่มีความสามารถผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว ซึ่งสามารถติดตามและใช้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำได้อย่างมั่นใจ
ข้อคิดที่ฝากไว้
การนํารูปแบบผู้ชนะ (Champion), ผู้สร้างนวัตกรรม (Innovator) และผู้ดำเนินการ (Implementer) มาใช้อย่างเป็นทางการ ทำให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงการแข่งขันให้เป็นผู้ชนะ โดยเฉพาะกับฝ่ายตรงข้ามในการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้ง
ด้วยความก้าวหน้าที่รวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ ของเครื่อง (ML) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้หันมาทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างแนวทางการพัฒนาความสามารถของบุคลากร และการเสริมสร้างความคิดริเริ่มด้านนวัตกรรมของรัฐบาลอย่างยั่งยืน
ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาจากจิตวิญญาณของการเป็นประเทศที่เข้มแข็ง, สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เหนือกว่า และที่สำคัญเป็นประเทศที่ใช้ความสามารถทุกด้านที่มีอยู่…บนโลกไซเบอร์
อ่านบทความทั้งหมดของ น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์
Featued Image: U.S. DepartmentofDefense Photo By: Marine Corps Cpl. Alexander Devereux