Thursday, November 21, 2024
ArticlesManagement

พิจารณาการลงทุนใน Private Equity ใหม่อีกครั้ง กับผู้จัดการเดิม

ชโรเดอร์ส แคปปิตอล ได้ทำการสำรวจโอกาสที่น่าดึงดูดที่สุดของหุ้นนอกตลาด นักลงทุนควรมุ่งเน้นไปที่โอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง กระจายการจัดสรรการลงทุนหุ้นนอกตลาดให้หลากหลาย และมุ่งเน้นไปที่บริเวณที่มีพลวัตของการระดมทุนที่เหมาะสม

มื่อเราเข้าสู่กระบวนทัศน์ของตลาดแบบใหม่ ผู้ลงทุนในหุ้นนอกตลาด (private equity) อาจพิจารณาถอดบทเรียนจากความสำเร็จของการลงทุนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งทาง_ชโรเดอร์ส แคปปิตอล (Schroders Capital) ได้ทำการสำรวจโอกาสที่น่าดึงดูดที่สุดของหุ้นนอกตลาดไว้ในปัจจุบัน

กรอบแนวคิด 3D Reset ของ ชโรเดอร์ส ที่ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ (Demographic) การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Decarbonisation) และการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalisation) กำลังกำหนดทิศทางการเติบโตในระยะยาวและพลวัตของเงินเฟ้อทั่วโลก ก่อให้เกิดกระบวนทัศน์ของตลาดแบบใหม่ ที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหุ้นนอกตลาดในหลายระดับ

แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันอาจลดลง แต่กรอบแนวคิด 3D Reset กำลังสร้างแรงผลักดันให้กับภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศในแถบตะวันตก ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยมีความคงอยู่ในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าแต่ก่อน

สภาวการณ์นี้สร้างความท้าทายให้กับกลยุทธ์ large buyouts ซึ่งเป็นการลงทุนในบริษัทนอกตลาดขนาดใหญ่ และมักต้องอิงกับอัตราดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำ ในทางตรงกันข้าม small-mid buyouts ซึ่งเป็นการลงทุนในบริษัทนอกตลาดขนาดกลางถึงเล็กจะมีความน่าสนใจมากขึ้น

เนื่องจากมีเสถียรภาพในแง่ของ Dry Powder มากกว่า (จำนวนเงินที่ผู้จัดการกองทุนระดมมาใช้สำหรับการลงทุนใหม่ในอนาคต) ส่งผลให้การแข่งขันในการแย่งเข้าลงทุนมีน้อยกว่า และทำให้ระดับราคาในการเข้าลงทุนมีความน่าสนใจมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลยุทธ์แบบ large buyouts

โอกาสการลงทุนในหุ้นนอกตลาด (private equity) ในอินเดียและจีน
บทความโดย: ทิม บูลล์ (ซ้าย) หัวหน้าฝ่ายบริการจัดการผลิตภัณฑ์กองทุน Private Equity และ เวอริตี้ ฮาวเวลส์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยการลุงทุน Private Equity, ชโรเดอร์ส อินเวสเมนต์

3D Reset จะสร้างกระแสการเติบโตในบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชีย ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความได้เปรียบด้านประชากรศาสตร์และรายได้ของประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างกับในอดีตที่การเติบโตเน้นไปที่การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

เมื่อพิจารณาถึงพลวัตของตลาดแบบใหม่เหล่านี้ นักลงทุนควรมุ่งเน้นไปที่โอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กระจายการจัดสรรการลงทุนหุ้นนอกตลาดให้หลากหลาย และมุ่งเน้นไปที่บริเวณที่มีพลวัตของการระดมทุนที่เหมาะสม

การลงทุนในบริษัทนอกตลาดขนาดกลางถึงเล็ก (small-mid buyouts) คาดว่าจะมีผลตอบแทนเหนือกว่าการลงทุนในบริษัทนอกตลาดขนาดใหญ่ (large buyouts) และยังมีแนวโน้มที่ดีในประเทศอินเดียและจีน ซึ่งมีการลงทุนในสกุลเงินหยวนเป็นหลัก

ความน่าสนใจของหุ้นนอกตลาดขนาดเล็กถึงกลาง

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การระดมทุนโดยกองทุนหุ้นนอกตลาดขนาดใหญ่ได้แซงหน้าการลงทุนไปมาก ส่งผลให้มีการแข่งขันกันมากขึ้นสำหรับการเข้าซื้อและการประเมินมูลค่าของบริษัทก่อนการเข้าลงทุนที่สูงขึ้น ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2022 กองทุนหุ้นนอกตลาดขนาดใหญ่มีการระดมทุนเพิ่มขึ้น 11 เท่า แซงหน้าการเติบโตของการลงทุนที่เติบโตเพิ่มขึ้นเพียง 4 เท่า

ในขณะเดียวกัน กองทุนขนาดเล็กและขนาดกลางมีเสถียรภาพของอุปสงค์และอุปทานเงินทุนที่มากกว่า โดยมีการเติบโตเพียง 3 เท่าในการระดมทุน และ การลงทุนมีการเติบโต 4 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน ปัจจัยนี้ส่งผลให้การประเมินราคาในการเข้าซื้อของ small-mid Buyouts มีความน่าสนใจมากกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อของ large Buyouts ซึ่งปัจจุบันการเข้าซื้อของ small-mid Buyouts มีการประเมินราคาอยู่ที่ประมาณ 5-6 เท่าของค่า EV/EBITDA

นอกจากนี้ small-mid Buyouts ยังได้รับประโยชน์จากการขายต่อบริษัทที่เข้าลงทุน (exit strategy) เพิ่มเติม ซึ่งเป็นผลมาจากการระดมทุนที่มากในหมู่กองทุน large Buyouts อาทิ การขายบริษัทที่เข้าลงทุนให้กับกองทุน large Buyouts

การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Preqin ของเรา จากกองทุนหุ้นนอกตลาดกว่า 49,000 กองทุน แสดงให้เห็นว่า กองทุนขนาดเล็กถึงกลางมักให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าในแง่ของมูลค่ารวมสุทธิ (TVPI) และอัตราผลตอบแทนสุทธิ (IRR) การให้ผลตอบแทนที่สูงกว่านี้ยังปรากฏให้เห็นทั่วทุกภูมิภาคและแม้แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย

กองทุนหุ้นนอกตลาดขนาดเล็ก-กลางให้ผลตอบแทนสุทธิสูงกว่ากองทุนหุ้นนอกตลาดขนาดใหญ่

ชโรเดอร์ส

การเติบโตภายในประเทศของจีนและอินเดียนำมาซึ่งโอกาสในการลงทุนที่น่าสนใจ

จีนยังคงเป็นประเทศที่น่าดึงดูดสำหรับการลงทุนในหุ้นนอกตลาด โดยได้รับแรงหนุนจากโอกาสภายในประเทศที่เกิดจากการสร้างธุรกิจเพื่อทดแทนการนำเข้า และการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ในส่วนนี้กองทุนที่ลงทุนเป็นสกุลเงินหยวนมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ

เนื่องจากมุ่งเน้นการลงทุนไปที่บริษัทขนาดเล็กถึงกลาง และเป็นแหล่งรวมบริษัทนอกตลาดที่ใหญ่ที่สุดของจีน อีกทั้งยังได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้นในการลงทุนกองทุนจีนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ชโรเดอร์ส

ภาคธุรกิจเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีขั้นสูงและภาคการผลิต ตลอดจนเทคโนโลยีสีเขียว ได้รับอานิสงค์จากการทดแทนการนำเข้าของจีน ภาคสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนก็ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีความน่าสนใจและน่าดึงดูด ในปี 2020 ชโรเดอร์ส แคปปิตอล ได้ลงทุนในแบรนด์ของเล่นชั้นนำจากดีไซเนอร์ของจีน โดยได้รับประโยชน์จากกลุ่มประชากรเจน Z ที่มีจำนวนมาก และความนิยมในแบรนด์ท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้เรายังเห็นโอกาสในอินเดีย เนื่องจากคาดว่าอินเดียมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลกภายในปี 2028 (ที่มา: IMF GDP estimates, Schroders Capital, 2024) เนื่องมาจากความได้เปรียบทางประชากรศาสตร์ การปรับใช้ระบบดิจิทัลที่มากขึ้น การเป็นฐานการผลิตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และศักยภาพในการเป็นพันธมิตร “China+1”

ที่สำคัญ หุ้นนอกตลาดให้โอกาสนักลงทุนในการเข้าถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นำโดยบริษัทที่ดำเนินงานในภาคส่วนที่เติบโตสูง ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค การดูแลสุขภาพ และเทคโนโลยี ซึ่งล้วนแต่เป็นบริษัทนอกตลาดเกือบทั้งหมด ในปี 2016 ชโรเดอร์ส แคปปิตอล ได้ลงทุนในบริษัทแว่นตาชั้นนำในอินเดีย โดยได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของประชากรอินเดีย และการนำระบบดิจิทัลมาปรับใช้ในธุรกิจ

Featured Image: Image by jcomp on Freepik