Wednesday, January 29, 2025
Digital TransformationNEWS

กฟภ. เตรียมการยกระดับ Smart Grid ADMS สู่เป้าหมายดิจิทัลยูทิลิตี้

Featured Image created by macrovector - www.freepik.com

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเผยกลยุทธ์เดินหน้าองค์กรสู่ดิจิทัลยูทิลิตี้ เตรียมการยกระดับ Smart Grid ADMS ระบบหลักงานปฏิบัติการและบำรุงรักษา ช่วยเติมเต็มการบริหารโครงข่ายไฟฟ้าที่มีความซับซ้อน

ารไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA เดินหน้าอย่างต่อเนื่องสู่เป้าหมายดิจิทัลยูทิลิตี้ ใช้เทคโนโลยี ADMS จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยในการสนับสนุนให้บริการทางด้านพลังงานไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ใน 74 จังหวัด ทั่วประเทศ ไม่รวม กรุงเทพมหานคร นนทบุรี

และสมุทรปราการ เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจต่างๆ ได้มีไฟฟ้าใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ได้ตามเป้าหมาย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำหน้า ที่ช่วยในการบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยในเรื่องการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์อีกด้วย

เดินหน้าสู่เป้าหมาย ดิจิทัลยูทิลิตี้
ปราโมทย์  สุดทรัพย์ รองผู้ว่าการปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ปราโมทย์  สุดทรัพย์ รองผู้ว่าการปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เผยว่า เรามีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพ ในการให้บริการทางด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าที่หลากหลาย

และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดิจิทัลยูทิลิตี้ในแต่ละด้าน เทคโนโลยี Smart Grid ADMS หรือ Advanced Distribution Management System นับว่ามีบทบาทเป็นอย่างมากสำหรับการบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ซึ่ง Smart Grid ADMS จะเป็นระบบหลักสำหรับสายงานปฏิบัติการและบำรุงรักษา ที่จะมาช่วยเติมเต็มในการบริหารโครงข่ายไฟฟ้าที่มีความซับซ้อนมากขึ้น อันเนื่องมาจากเรามีแหล่งพลังงานไฟฟ้าทางเลือกที่เชื่อมต่อเข้ามาในระบบค่อนข้างมาก ตามนโยบายภาครัฐ และรวมถึงการเข้ามาของยานยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงระบบกักเก็บพลังงาน และโซลาร์ลูฟท็อป

ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีแผนงานที่จะใช้งานระบบ Smart_Grid ADMS ในช่วงต้นปี 2567 ดังนั้น ช่วงนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานร่วมกับผู้ติดตั้ง ผู้ออกแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งแพลตฟอร์มที่สามารถนำมาใช้บริหารโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคตได้ ซึ่งจะต้องวางแผนให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่ทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ

ซึ่งสาระสำคัญคือ การพยายามลดการปลดปล่อยของก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่จะนำไปสู่การเป็นตลาดไฟฟ้าเสรีในอนาคต ดังนั้น การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับ สภาวการณ์ปัจจุบัน และ สามารถที่จะขยับขยาย ปรับปรุง เพิ่มเติม เพื่อให้รองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

EcoStruxure ADMS ตัวช่วยการบริหารจัดการระบบสมาร์ทกริด
มงคล ตั้งศิริวิช, ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

มงคล ตั้งศิริวิช รองประธานฝ่ายธุรกิจพลังงาน ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ประเทศไทย ลาวและเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “กิจการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าในหลายประเทศกำลังเผชิญความท้าทายในหลายๆ ด้าน

ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้น การเพิ่มความน่าเชื่อถือ และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง การนำแหล่งพลังงานทดแทนที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ และการนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้ ตลอดจนปัญหาสภาพอากาศ

EcoStruxure ADMS ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือมาตรฐานของอุตสาหกรรมพลังงาน โดยนักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมชั้นนำได้ให้การยกย่องโซลูชันของเราอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ในการรับมือเมื่อเกิดเหตุกระแสไฟฟ้าขัดข้อง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกริด

รวมถึงการบริหารจัดการแหล่งพลังงานแบบกระจาย (Distributed Energy Resource: DER) และอื่นๆโดยโซลูชัน EcoStruxure ADMS เป็นการเชื่อมโยงระหว่างระบบบริหารจัดการการดำเนินงาน (OT) และระบบบริหารจัดการข้อมูล (IT) และถือเป็นกลยุทธ์พื้นฐานสำหรับการเป็นสาธารณูปโภคในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์”

โซลูชัน EcoStruxure ADMS จะช่วยให้ระบบไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการกริดได้ดียิ่งขึ้น ครอบคลุมถึงเรื่องการตรวจสอบ การวิเคราะห์ ควบคุม การเพิ่มประสิทธิภาพ การวางแผน การรวมระบบบริหารการกระจาย (DMS) ระบบบจัดการกระแสไฟฟ้าขัดข้อง และระบบควบคุมและประมวลผลข้อมูลแบบรวมศูนย์ หรือ SCADA ไว้ในโซลูชันเดียว

โดยจะช่วยให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคได้รับประโยชน์สูงสุดจากสมาร์ทกริด หรือโครงข่ายอัจฉริยะที่ก้าวหน้า นับว่าเข้ามามีบทบาทในการช่วยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถไปสู่เป้าหมายในการเป็นดิจิทัลยูทิลิตี้ได้อย่างราบรื่น และยังช่วยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถบรรลุเป้าหมายแห่งชาติในการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์อีกด้วย”

Featured Image created by macrovector – www.freepik.com