“OutSystems บริษัทไอทีดาวรุ่งจากโปรตุเกส เดินหน้า สร้างความเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการสร้างแอปฯ ในไทย ด้วยเทคโนโลยี Low Code วางกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายพันธมิตร พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI
สัมภาษณ์พิเศษ มาร์ค วีสเซอร์ รองประธานกรรมการ เอเชียแปซิฟิก OutSystems บริษัทผู้พัฒนา แพลตฟอร์มการสร้างแอปพลิเคชันแบบ Low Code กลยุทธ์และแผนงานของ OutSystems ในประเทศไทยมีอะไรบ้าง โร้ดแมปการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดแนวคิดการใช้เทคโนโลยี Low Code ในการแก้ไขปัญหาการปัญหาการขาดแคลนบุคลากร
เดินหน้า สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการสร้างแอปฯ ในไทย
OutSystems บริษัทไอทีดาวรุ่งจากโปรตุเกส ที่กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการแพลตฟอร์มสร้างแอปพลิเคชันแบบเขียนชุดคำสั่งน้อย หรือเทคโนโลยีโลว์โค้ด (Low Code) ได้เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย เพราะเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับองค์กรต่างๆ ในการสร้างแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโต
มาร์ค อธิบายว่า “เราเห็นการเปลี่ยนผ่าน สู่เส้นทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วในองค์กรต่างๆ ในทุกๆ ธุรกิจ อาทิ การธนาคาร สื่อ ประกันภัย พลังงาน ภาครัฐ และบริการทางการเงิน ซึ่งทุกธุรกิจต่างก็มองหาวิธีการที่จะปรับปรุงระบบเดิมให้ทันสมัยยิ่งขึ้น คงความคล่องตัว และรักษาความสามารถในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล”
“OutSystems ได้ช่วยเหลือลูกค้าในแต่ละประเทศปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและปรับสเกลของแอปพลิเคชัน โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดบมุ่งมั่นส่งเสริมธุรกิจในประเทศไทยเพื่อเร่งและลดความซับซ้อนของ การเปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจดิจิทัล”
“ที่ผ่านมาการเติบโตในประเทศไทยนั้น มีการยกระดับเป้าหมายให้สูงขึ้น ในการเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กรในประเทศด้วยการ พัฒนาแอปพลิเคชัน Low Code ที่ทรงประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เพื่อช่วยเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นดิจิทัล พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อบรรเทาปัญหาที่ติดขัด และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนในระยะยาว”
วางกลยุทธ์และแผนงานของ OutSystems ในประเทศไทย
“เราอาศัยกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายพันธมิตรให้ขยายมากขึ้น ประกอบกับความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และบุคลากรเพื่อสนับสนุนลูกค้าในประเทศไทยให้ได้ดียิ่งขึ้น ในตลาดทั่วโลกของ OutSystems นั้น ทำงานร่วมกับพันธมิตรและลูกค้ามากกว่า 400 ราย เพื่อให้มั่นใจว่าทีมนักพัฒนาสามารถรัน และสร้างแอปพลิเคชันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแพลตฟอร์มของเรา รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ ด้านเทคโนโลยีและความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล”
“ในแง่ของผลิตภัณฑ์และโซลูชัน OutSystems เพิ่งประกาศเปิดตัว Project Morpheus ซึ่งเป็นโร้ดแมพใหม่สำหรับ โซลูชัน Low Code ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีด้วย AI เหล่านี้ นักพัฒนาจะสามารถใช้ ข้อความสนทนาหรือข้อความที่ปรากฏขึ้นเพื่อสร้างแอปพลิเคชันได้ภายในไม่กี่นาที”
“สามารถเรียกดูการเปลี่ยนแปลงบนแอปฯ แบบเรียลไทม์ และสร้างแอป AI ของตนเองพร้อมเชื่อมต่อกับบริการต่างๆ เช่น ไมโครซอฟท์, กูเกิล และ AWS นอกจากนี้ยังได้ประกาศตัวเชื่อมต่อ OutSystems_ใหม่สำหรับ ChatGPT เราเชื่อว่าฟีเจอร์เหล่านี้จะปฏิวัติการ พัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทยและที่อื่นๆ และช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนาไปอีกระดับ”
“นอกจากนี้เรายังเปิดตัว OutSystems_Developer Cloud (ODC) ซึ่งเป็นโซลูชัน Low Code ประสิทธิภาพสูงสำหรับ การสร้างแอปพลิเคชันแบบเนทีฟคลาวด์ ODC มอบประสบการณ์แบบครบวงจรให้กับนักพัฒนา ซึ่งเป็นการรวมศูนย์ ประสบการณ์การจัดการแอปและผู้ใช้ไว้ในที่เดียว ตั้งแต่การออกแบบและการแก้ไขข้อบกพร่องของระบบไปจนถึง การปรับใช้และการตรวจสอบ” มาร์ค กล่าว
แพลตฟอร์มที่เร่งการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลสำหรับธุรกิจไทย
มาร์ค อธิบายว่า “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย จากผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของประเทศไทย 2565 ของดีลอยท์ พบว่า 95% ของบริษัทไทย เห็นพ้องว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพวกเขา ในการรักษาความสามารถในการแข่งขัน”
คำถามที่ตามมาคือ แพลตฟอร์ม Low Code จะอยู่ตรงจุดไหนบนถนนของการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ข้อนี้ มาร์ค กล่าวว่า “แพลตฟอร์มของ_OutSystems นำเสนอแนวทางการเขียนโค้ดด้วยภาพ พร้อมด้วยเทมเพลตที่สร้างไว้ในตัวโมเดลแบบลากและวาง และเครื่องมืออื่นๆ ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อช่วยให้กระบวนการเขียนโค้ดดำเนินไป ได้อย่างรวดเร็ว”
“ธุรกิจจึงสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนปรับเปลี่ยน และส่งมอบแอปพลิเคชันใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด”
“ช่วยลด การเขียนโค้ดด้วยโปรแกรมที่น่าเบื่อสำหรับทีมนักพัฒนา ช่วยให้พวกเขาปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขงานได้เร็วกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วิธีการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิม ซึ่งหมายความว่าสามารถปรับแต่งแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ ได้ทันทีเพื่อตอบรับกับตลาดที่มีการแข่งขันสูง การถูกดิสรัป หรือโอกาสในการคว้าสิ่งใหม่ๆ”
“นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม Low Code ของ_OutSystems ยังมอบความสามารถด้านความปลอดภัยระดับองค์กรที่ครอบคลุม ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างแอปพลิเคชันต่างๆ ของลูกค้าที่มีความสำคัญยิ่ง ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างแอปฯ ได้อย่างรวดเร็ว และปรับลดได้ตามต้องการ
ให้การตรวจสอบความปลอดภัยและประเมิน เพื่อตรวจหาช่องโหว่ได้ อย่างชาญฉลาดในระหว่างกระบวนการพัฒนา ด้วยจำนวนที่เพิ่มขึ้นของระบบอัตโนมัติแบบไฮเปอร์ออโตเมชัน ทั่วทั้งองค์กรและความคิดริเริ่มทางธุรกิจที่สามารถ นำมาผสานกันได้”
“เรายังมองเห็นความต้องการทักษะด้านดิจิทัลที่แซงหน้าอุปทานอีกด้วย การใช้ Low Code ประสิทธิภาพสูง ช่วยให้นักพัฒนาที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิม สามารถออกแบบแอปพลิเคชัน ระดับองค์กรได้ เพิ่มโอกาสให้กับทีมงานจากหลากหลายหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และลดช่องว่างความ สามารถด้านเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ท้ายที่สุดแล้ว เรามอบความคล่องตัว ขุมพลัง และความสะดวกให้กับองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่สำคัญต่อ ธุรกิจที่มีความซับซ้อนได้อย่างปลอดภัย ขับเคลื่อนนวัตกรรม และช่วยเร่งการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น OutSystems ยังสามารถเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างแอปพลิเคชันรุ่นเก่าและแอปพลิเคชันสมัยใหม่ หรือในบางกรณีช่วยให้องค์กร ต่างๆ ปรับปรุงระบบเดิมให้ทันสมัยได้ทั้งหมด”
เทคโนโลยี Low Code กับการแก้ปัญหาการขาดแคลน คน ด้านเทคโนโลยี
ในภูมิทัศน์ที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลในปัจจุบัน เป็นเรื่องสำคัญที่จะอุดช่องโหว่ของการขาดแคลน tech talent เพื่อเพื่อ ตอบรับความต้องการด้านความคล่องตัวและความยืดหยุ่นทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาร์ค ให้ความเห็นว่า “ปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการกับปัญหาด้วยการใช้โซลูชัน Low Code โดยการเพิ่มทักษะและปรับเปลี่ยนทักษะให้กับผู้มีความสามารถที่เรามีอยู่ภายในองค์กร ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนาเพื่อให้ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ”
“การใช้ Low code ช่วยให้นักพัฒนารุ่นเยาว์และผู้สนใจด้านเทคโนโลยีที่ไม่มีประสบการณ์การเขียนโค้ดมายาวนาน สามารถสร้างแอปพลิเคชันที่คล้ายกับแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยมืออาชีพ โดยสามารถเรียนรู้โซลูชันได้อย่างรวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน”
“นอกจากนี้ Low Code ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของนักพัฒนา ด้วยการเร่งการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้มากถึงสิบเท่าเมื่อเทียบกับวิธีการแบบเดิม ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการด้าน การพัฒนาในระดับสูงได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติม ขณะเดียวกันก็ลดภาระและความเหนื่อยล้าของ นักพัฒนาอีกด้วย”
นักพัฒนาไม่เพียงแต่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อดีต่างๆ ของ Low Code เท่านั้น แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การใช้ Low Code สอดคล้องกับสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าสำคัญในการรักษาแรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมในองค์กร
“ความต้องการการปรับใช้แอปพลิเคชันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ กำลังผลักดันให้ องค์กรต่างๆ หันมาใช้เทคโนโลยีการพัฒนาแบบ Low Code”
“Gartner คาดการณ์ว่ากระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชัน มากกว่า 65% จะทำบนแพลตฟอร์ม Low Code ภายในปี 2567”
“ในขณะเดียวกัน IDC ทำนายว่า การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการลงทุนและการเติบโตในภูมิภาค ภายใน ปี 2569 40% ของรายได้รวมสำหรับองค์กร 2,000 อันดับแรกในเอเชียแปซิฟิกจะถูกสร้างขึ้นจากผลิตภัณฑ์บริการ และประสบการณ์แบบดิจิทัล เพิ่มขึ้นจาก 26% ในปี 2565”
“โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ที่ AI เป็นปัจจัยผลักดันสำหรับ การนำนวัตกรรมมาใช้ ธุรกิจที่ต้องการใช้ประโยชน์จาก AI โดยไม่ต้องไปยุ่งกับงานเขียนโค้ดที่ซับซ้อนก็สามารถใช้ ประโยชน์จากโซลูชัน Low Code ประสิทธิภาพสูงเพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า” มาร์ค กล่าวสรุป
Featured Image: Image by lucabravo on Freepik