“ในวันที่สถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลายตัว ทั่วโลกกำลังเดินหน้าเพื่อเรียกกลับระบบเศรษฐกิจ เรามาเจาะลึกภารกิจของ สสว. หรือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หน่วยงานหลักที่มีบทบาทภารกิจ ส่งเสริมเอสเอ็มอีของประเทศ ในการผลักดันความสำเร็จของผู้ประกอบการ SME ให้พร้อมก้าวกระโดดอย่างแข็งแกร่งในปี 2566
สถานการณ์ช่วงนี้ถือว่า พวกเรานั้นผ่านจุดสูงสุดของหนึ่งใน วิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ที่ทุกประเทศเทศทั่วโลกต่างได้เจอเหมือนๆ กัน และในขณะเดียวกันสิ่งที่ทุกคนกำลังตั้งเป้าหมายคือ การสร้างความแข็งแกร่งในการเรียกความมั่งคั่งของธุรกิจกลับมา ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่นั้นมีความสามารถเหล่านี้สมบูรณ์แบบอยู่ในตัวทำให้เป็นเรื่องค่อนข้างง่าย
แต่กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เมืองไทยเราเรียกว่า SME ที่ถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทย นอกจากจะมองหาแนวทางในการฟื้นฟูธุรกิจจากวิกฤตให้กลับมาแล้ว แต่สิ่งที่ต้องมองต่อไปคือการเติบโตต่อเนื่องทั้งในประเทศและการก้าวสู่เวทีในระดับนานาชาติ
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม หรือที่รู้จักกันดี สสว. คือหน่วยงานของภาครัฐที่รับหน้าที่ในการส่งเสริม SME ให้สามารถพัฒนาและสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลายๆ เรื่องหลายๆ แง่มุมครับสำหรับนโยบายและแผนฯโครงการต่างๆ ที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการนั้นประสบความสำเร็จในโลกดิจิทัลในโลกของการแข่งขัน
วันนี้ CIO World Business ได้รับโอกาสที่ดีในการคุยกับ ดร.อภิรดี ขาวเธียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ_สสว. ถึงเรื่องราวใหม่ๆ ที่หน่วยงานนี้ได้เตรียมไว้ในการช่วยให้ SME ไทยพาธุรกิจให้ผ่านพ้นจากวิกฤตได้อย่างคล่องตัว และช่วยส่งเสริมให้วิสาหกิจไทยก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติในโลกยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน
SME ไทย เร่งฟื้นฟูตัวเอง พบปัญหาความกังวลใจเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ณ วันนี้ SME ราว 3.18 ล้านราย ถือเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนสูงสุดถึง 99.5% ในประเทศไทย โดยสถานการณ์ก้าวเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูแล้ว ผู้ประกอบการโดยทั่วไปก็มีความมั่นใจกับเรื่องของการประกอบธุรกิจมากขึ้น แต่คำถามคืออะไรที่เป็นความกังวลใจของ SME ไทยที่ทาง_สสว._สัมผัสได้
ดร.อภิรดี อธิบายว่า “จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเป็นประจำทุกเดือนพบว่า ตอนนี้ความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจก็ค่อนข้างดีขึ้น แต่อาจกำลังกังวลในเรื่องของต้นทุนการทำธุรกิจมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าต้นทุนค่าพลังงานก็ดีหรือว่าดอกเบี้ย”
“ต้องบอกเลยว่าตอนนี้ ภาคธุรกิจที่กลับมาเดินเครื่องเต็มสูบก็น่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดหัวเมือง แต่ส่วนเรื่องที่ยังมีข้อกังวลอีกประการ ก็คือ เรื่องของกำลังซื้อที่ยังกลับมาไม่เต็มที่ซึ่งมีผลต่อ SME แน่นอน เพราะในแง่ของสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นหากผู้ซื้อยังคงมีความกังวลในเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยก็จะส่งผลต่อยอดขายและการทำธุรกิจของ SME ที่ดำเนินธุรกิจได้ไม่เต็มที่นัก”
การเข้ามาของ อีคอมเมิร์ซ และการขาดแคลนแรงงาน ทักษะการทำงาน
“ในบรรยากาศของการกลับมาเปิดธุรกิจหลังโรคระบาดนั้น สิ่งที่_สสว._พบคือ การเกิดธุรกิจใหม่ที่ส่วนมากเป็นอีคอมเมิร์ซและเติบโตเร็วมาก รวมถึงการกลับมาของกลุ่มธุรกิจรายเก่า แต่ปัญหาของธุรกิจกลุ่มนี้คือ การขาดแคลนแรงงาน รวมถึงเรื่องของทักษะการทำงาน ที่อาจจะต้องพัฒนาเพื่อให้ทันกับความต้องการใหม่ๆ ของลูกค้าที่เปลี่ยนไปจากสถานการณ์ของ COVID-19”
“ทั้งหมดนั้นคือปัญหาของ SME ไทย ที่_สสว._เองต้องเก็บเอาปัจจัยเหล่านี้แล้วเอามาประมวลให้กลายเป็นแผนและนโยบาย รวมถึงโครงการต่างๆ ที่สามารถช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงและนำไปใช้ในการพัฒนาตัวธุรกิจให้รอดออกจากสภาพเหล่านี้ แถมยังสามารถหาช่องทางเพื่อก้าวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งหาช่องทางทางการตลาดที่จะนำธุรกิจสู่ระดับนานาชาติและการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล” ดร.อภิรดี กล่าว
ชี้โอกาส SME แบ่งเค้กจัดซื้อภาครัฐ
“สสว._ได้เตรียมโครงการและนโยบายต่างๆ สำหรับช่วยและสนับสนุน SME ไว้หลายโครงการ ที่สอดรับกับความต้องการของผู้ประกอบการ และสถานการณ์ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ ขอยกตัวอย่างเรื่องที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ โอกาสในการเสนองานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ”
“การจัดซื้อจากภาครัฐ ถือว่า เป็นตลาดขนาดใหญ่มาก โดยในปีหนึ่ง ภาครัฐมีการซื้อสินค้าและบริการผ่านกระบวนการจัดซื้อ ราวหนึ่งล้านล้านบาท ถ้า SME สามารถจะเข้าไปมีส่วนร่วมมีแชร์ในตลาดภาครัฐได้ ถือเป็นประตูขนาดใหญ่เป็นโอกาสตลาดขนาดใหญ่”
“สสว._ก็เลยดำเนินงานร่วมกับทางกรมบัญชีกลาง เพื่อเปิดโครงการเรื่องของมาตรการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐซื้อสินค้าหรือบริการจาก SME ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประมาณสักปลายปี 2563 หรือประมาณ สองปีได้แล้ว”
“แม้จะเพิ่งเริ่มมาตรการก็ตาม แต่ผู้ประกอบการ SME ไทยสามารถสร้างยอดขายจากการจัดซื้อจากภาครัฐได้กว่า 5 แสนล้านบาท หรือเกินกว่า 40% ของมูลค่าการจัดซื้อของประเทศ”
“ตรงนี้_สสว._พยายามจะสื่อสารไปยังผู้ประกอบการว่า ภาครัฐมีความต้องการที่หลากหลายจริงๆ ทั้งสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ เครื่องอุปโภค หรือเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ รวมไปถึงบริการทำความสะอาด หรือบริการอื่นๆ ที่มีคุณภาพ”
“ข้อสำคัญที่จะทำให้ SME มีโอกาสรับงานภาครัฐคือ ผู้ประกอบการต้องพยายามสร้างความน่าเชื่อถือขององค์กรให้ได้ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ หมั่นพัฒนาบริการของตัวเอง สร้างรอยเท้าทางธุรกิจ มีตัวตนบนโลกธุรกิจ ซึ่งไม่เฉพาะโอกาสการรับงานภาครัฐเท่านั้น สิ่งนี้ยังหมายถึงโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินอีกด้วย”
SME ปัง ตังได้คืน ช่วยสร้างแรงจูงใจให้เอสเอ็มอีพัฒนาธุรกิจ
“โครงการ SME ปัง ตังได้คืน เป็นโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ (Business Development Service) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่”
“ที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะสามารถเลือกรับการบริการ หรือรับการพัฒนากับผู้ให้บริการทางธุรกิจ (Business Development Service Provider: BDSP) ในด้านที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจของตน” ดร.อภิรดี กล่าว
“สสว._จะอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการร้อยละ 50-80 สูงสุดรายละไม่เกิน 200,000 บาท และเพื่อให้มีฐานข้อมูลการให้บริการของหน่วยงานบริการทางธุรกิจ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สร้างโอกาสการส่งต่อการให้บริการ SME ระหว่างกัน”
“โดยวางเป้าการสนับสนุนค่าใช้จ่ายไว้ 5 หมวด คือ หนึ่ง การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพธุรกิจ, สอง การพัฒนาและบริหารจัดการธุรกิจ, สาม การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ, สี่ การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด และ ห้า การพัฒนาตลาดต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อการพัฒนาและการยกระดับทางธุรกิจ”
“ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการเตรียมความพร้อมให้เอสเอ็มอีเข้าสู่มาตรฐาน อาทิ มาตรฐาน อย., ISO, GMP และมาตรฐานอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือหรือเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ, การสร้างการรับรู้แบรนด์ในประเทศ และต่างประเทศ หรือการปฏิรูปทางดิจิทัลของ SME”
“โครงการนี้เป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ และการพัฒนาของผู้ประกอบการ ด้วยวิธีการสนับสนุนตรงด้วยเม็ดเงิน ไม่ต้องทำโครงการรองรับ และยังเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการสามารถแนะนำผู้ให้บริการที่ตัวเองต้องการได้ด้วย”
สร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประกอบการไทย
ดร.อภิรดี กล่าวว่า “หนึ่งในบทบาทหลักของ สสว._คือ การพัฒนาผู้ประกอบการ ที่ผ่านมาเราจึงเห็น สสว._เป็นผู้พัฒนากลไกการเรียนรู้ขึ้นมา เป็น Ecosystem ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาเอ่อผู้ประกอบการของของไทย โดยเป็นกลไกลการเรียนรู้ที่สอดรับกับพฤติกรรมและความพร้อมของผู้ประกอบการคือ การสร้างบริการออนไลน์”
อัพสกิลเอสเอ็มอีด้วย โครงการ SME Academy
“แพลตฟอร์มแรกคือ แรกคือ SME Academy เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เรียกว่า Academy 365 สามารถเรียนรู้ได้ 365 วัน 24 ชั่วโมง เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมหลักสูตรที่ตรงและเป็นประโยชน์กับ SME เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นทักษะสำหรับการประกอบธุรกิจพื้นฐาน ที่สามารถเข้าไปเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเองเพื่อทำให้เราทำธุรกิจได้อย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น”
รวมศูนย์ข้อมูลที่ SME One
อีกโครงการ คือ SME One เป็นแพลตฟอร์มกลาง หรือแหล่งรวมข้อมูล โครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่มีข้อมูลข้อมูลให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ด้านการเงิน การตลาด เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เป็นช่องทางสำหรับคนทำธุรกิจที่ไม่ควรพลาดที่จะติดตาม
เป็นตัวช่วยพัฒนาธุรกิจให้เข้มแข็ง และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ สามารถติดตามได้หลายแพลตฟอร์ม ทั้งเว็บไซต์ (www.smeone.info) เฟซบุ๊กแฟนเพจ SME One บัญชีไลน์ และติ๊กต๊อก
ซึ่งนอกเหนือจากปฏิทินกิจกรรมแล้ว จะมีองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ บทความสร้างแรงบันดาลใจ, เคล็ดลับธุรกิจ เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่ผู้ประกอบการได้ทราบแล้วก็ใช้ประโยชน์สูงสุด
สร้างโค้ช ให้กับ SME
อีกหน้าที่หนึ่งที่ สสว._ต้องทำก็คือการับหน้าที่เป็น โค้ช หรือผู้ฝึกสอนในการทำธุรกิจ ซึ่งทาง ดร. อภิรดี ได้ขยายความประเด็นนี้ไว้ว่า
“สสว._ได้ตั้งโครงการ The Sme Coach เป็นโครงการที่พัฒนาที่ปรึกษาด้านธุรกิจและด้านเทคโนโลยี ที่มีความสามารถ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ SME ซึ่งโค้ชเหล่านั้นล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ”
“ที่ผ่านมา สสว._ได้มีการฝึกโค้ชขึ้นมาจำนวนมาก ที่สามารถให้คำปรึกษาได้หลายมิติ หลายความถนัด และความเชี่ยวชาญ ซึ่งผู้ประกอบการสามาารถเลือกรับคำปรึกษาผ่านทางเว็บไซต์ www.thesmecoach.com”
ชวนโหลดแอปฯ SME Connext
กลไกการเรียนรู้ 3 แพลตฟอร์มทั้ง SD Academy, SME One และ SME Coach ถูกรวมไว้ที่จุดเดียว เรียกว่าเป็น SME access โดยสสว. ได้พัฒนา ช่องทางการเข้าถึงบริการต่างๆ ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม คือ แอปพลิเคชัน SME Connext ที่เป็นแหล่งรวบรวมทุกเรื่องที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ SME อย่างครบถ้วนด้วยสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน SME Connext เป็นประตูเข้าไปสู่แพลตฟอร์มบริการต่างๆ สามารถดาวน์โหลด ได้ทั้งระบบ iOS และ Android
ปี 2566 จะกลายเป็นหมู หรือ หมี สำหรับเอสเอ็มอี ปัจจัยภายใน ตัวแปรทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อผู้บริโภค โลกแห่งดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชัน ก็พลิกไปอีกกี่รอบ ก็ยังไม่ทราบ
แต่ที่ที่ทราบคือ ในบทความนี้ ได้กล่าวถึงโครงการเรือธงของสสว._ไปบางส่วน ที่ตอบโจทย์ และช่วยประคองผู้ประกอบการได้ตรงจุด
ส่วนในบทความ_สสว._กับ กับโครงการ Flagships สร้างการเติบโตให้ MSME (ตอนที่ 2) จะไล่เรียงโครงการที่ สสว.ทำคลอดออกมาเพื่อผู้ประกอบการ รวมถึงข้อชี้แนะจาก ดร.อภิรดี ขาวเธียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ_สสว._ถึงตัวแปรความสำเร็จของเอสเอ็มอี