Thursday, November 21, 2024
NEWS

กทปส.เตรียมจัดสรรทุน 1.5 พันล้าน หนุน โครงการกระจายเสียง – โทรทัศน์ – โทรคมนาคม

กทปส. เตรียมจัดสรรทุน 1.5 พันล้าน หนุน โครงการกระจายเสียง – โทรทัศน์ – โทรคมนาคม สร้างประโยชน์สาธารณะปี 67 พร้อมอวดโฉมโครงการไฮไลต์ ปี 66 ในหลากมิติ

องทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เดินหน้าผลักดันกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมสร้างประโยชน์ในเชิงสาธารณะ ชี้ในปีที่ผ่านมา กทปส. ได้สนับสนุนโครงการมากกว่า 500 โครงการ พร้อมเตรียมกำหนดกรอบการจัดสรรเงินกองทุนปี 2567

ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ  บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

โดยแบ่งเป็นทุน 3 ประเภทคือ ทุนประเภทที่ 1 ทุนแบบเปิดกว้าง ภายใต้กรอบวงเงิน 300 ล้านบาท ทุนประเภทที่ 2 เป็นทุนตามนโยบายคณะกรรมการบริหารกองทุน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทุนมุ่งเป้า กำหนดกรอบจัดสรรไว้ที่ 600 ล้านบาท และทุนต่อเนื่องกำหนดไว้ที่ 100 ล้านบาท และ ทุนให้กับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 500 ล้านบาท

โดย กทปส. ยังได้จัดนิทรรศการ “กสทช. เสริมสร้างความรู้ ส่งทุนสร้างสิ่งดีดี” เพื่อเป็นต้นแบบและ แรงบันดาลใจในการยกระดับคลื่นความถี่ การกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคมที่สร้างประโยชน์สู่สาธารณะ กับสาธารณะ ผ่านการเผยแพร่ผลงานโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส. มาร่วมจัดแสดง จำนวน 11 โครงการ

ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ  บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า การผลักดันโครงสร้างบริการกิจการด้านกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถได้รับบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างอนาคตประเทศ

โดยการจะทำให้เป้าหมายดังกล่าวเกิดขึ้น ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในยุคดิจิทัล คือต้องเน้นการสร้างนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ตรงกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง สอดรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง สิ่งที่พัฒนาขึ้นต้องสามารถอยู่ได้ในระยะยาว และแบ่งปันไปยังกลุ่มต่าง ๆ ที่มี
ความต้องการที่ใกล้เคียงกันได้ นอกจากนี้ยังต้องเป็นสะพานเชื่อมให้ผู้ใช้ก้าวทันกับเทคโนโลยี – ดิจิทัลที่ก้าวหน้า ก่อให้เกิดมูลค่า และเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ไปด้วยกัน

“ที่ผ่านมา รวมทั้งในปี 2567 กสทช.ในฐานะผู้จัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์ในทุกมิติเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องนำคลื่นความถี่ พร้อมด้วยเทคโนโลยีในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมมาสร้างประโยชน์ให้ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในมิติทางเศรษฐกิจ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน และกลุ่มผู้ประกอบการมีศักยภาพทางการแข่งขันและพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนในมิติประโยชน์สาธารณะยังจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีความหลากหลายและเป็นไปอย่างครอบคลุม

ซึ่งสิ่งที่ กสทช. กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้คือได้มอบหมายให้กองทุนวิจัยและพัฒนากองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เร่งสนับสนุนกลุ่มนักวิจัย นักพัฒนา และผู้ประกอบการที่มีความสามารถสรรสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเติมเต็มให้กับพื้นที่ต่าง ๆ ให้ได้อย่างต่อเนื่อง

โดยในปีที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จทั้งในด้านการส่งเสริมงานวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากร การรู้เท่าทันสื่อของกลุ่มเปราะบางกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ซึ่งมีประชาชนคนไทยที่เข้าถึงเทคโนโลยีที่สนับสนุนเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของผู้วิจัยและนักพัฒนาที่ต้องการผลักดันการสร้างประโยชน์สาธารณะ และใช้คลื่นความถี่ให้เกิดความยั่งยืน”

สำหรับแนวทางการจัดสรรเงินกองทุนในปี 2567 เบื้องต้นคณะกรรมการบริหารกองทุนได้มีมติเรื่องการกำหนดกรอบการจัดสรรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างนำเสนอกรอบการจัดสรรเงินดังกล่าวให้ กสทช. พิจารณา โดยมีการกำหนดกรอบวงเงินในการจัดสรรเงินทุนแต่ละประเภท คือ

ทุนประเภทที่ 1 ทุนแบบเปิดกว้าง (Open Grant) 300 ล้านบาท ทุนประเภทที่ 2 เป็นทุนตามนโยบายคณะกรรมการบริหารกองทุน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทุนมุ่งเป้า (Strategic Grant) 600 ล้านบาท และทุนต่อเนื่อง 100 ล้านบาท และทุนประเภทสุดท้าย คือ ทุนให้กับกองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 500 ล้านบาท

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิจัยและพัฒนาโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะที่สนใจขอรับทุน กทปส. จึงได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส.

โดยคัดเลือก 11 โครงการไฮไลต์มาร่วมจัดแสดง ประกอบด้วย โครงการสารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” พัฒนาโดยบริษัท สื่อดลใจ จำกัด โครงการขยายผลศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมด้อยโอกาสในกลุ่มบ้านสาขาบนพื้นที่สูง พัฒนาโดยมูลนิธิวิสาหกิจพลังงานชุมชน

โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มไอโอทีสำหรับการเฝ้าระวังไฟป่าและมลพิษทางอากาศด้วยเทคโนโลยีโลล่า พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โครงการการศึกษาและพัฒนาหอฟอกอากาศอัจฉริยะโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุมดูแลผ่านเทคโนโลยีไอโอที เพื่อการลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่สาธารณะ พัฒนาโดยบริษัท ไทยโซลาร์เวย์ จำกัด

โครงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าและระบุตำแหน่งการเผาในที่โล่ง โดยใช้โครงข่ายสื่อสาร อุปกรณ์เซ็นเซอร์ และอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน พัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โครงการการยกระดับการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์คดีความผิดทางเพศ ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หน่วยงาน พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการระบบบริหารข้อมูลนำชมพิพิธภัณฑ์แบบพกพาเพื่อรองรับการใช้งานในพื้นที่จัดแสดงซึ่งมีข้อจำกัดด้านสัญญาณอินเตอร์เน็ต  พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติโครงการรายการ กระต่ายตื่นรู้ พัฒนาโดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) โครงการฝึกอบรม The Metaverse โลกเสมือนจริง ที่กลายเป็นโลกสมจริง พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

รองศาสตราจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

โครงการยกระดับและปรับปรุงห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล พัฒนาโดยวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และท้ายสุด โครงการขยายผลระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสาร สำหรับประโยชน์สาธารณะ พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งโครงการนี้เองสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยได้รับรางวัลระดับโลก

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการให้ความรู้ในหัวข้อ กทปส. สู่จักรวาลนฤมิตร (Metaverse) หัวข้อการออกแบบสำหรับทุกคนด้วยแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เพื่อสร้างสังคมที่เข้าถึงได้ทุกคน และหัวข้อการจัดการปัญหาเมือง ด้วยแอปพลิเคชันทราฟฟี่ฟองดูว์ : Traffy Fondue เป็นต้น

โดย รองศาสตราจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มาขึ้นเวทีกล่าวว่า กรุงเทพฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่นำแอปพลิเคชันทราฟฟี่ฟองดูว์ : Traffy Fondue มารับแจ้งปัญหาและช่วยบริหารจัดการเมือง โดยเทคโนโลยีนี้ได้รับทุนจาก กทปส. และถูกพัฒนาขึ้นโดย NECTEC หรือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ที่นับเป็นความสำเร็จอย่างสูงในการทำให้ประชาชน และหน่วยงาน ผู้แก้ปัญหาสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างเป็นระบบและทำให้การพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ของเมืองเป็นไป
อย่างทั่วถึง

โดยตั้งแต่ได้เริ่มใช้ทราฟฟี่ฟองดูว์มีผลลัพธ์ 9 ดี  คือ ปลอดภัยดี อาทิ แก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับได้ 28,000 ดวง ติดตั้งกล้องป้องกันภัยอาชญากรรมกว่า 60,000 กล้อง โปร่งใสดี ที่มีการแก้ไขปัญหาฟองดูว์ได้กว่า 200,000 เรื่อง จากเรื่องที่แจ้งเข้ามา 1 ปีกว่า กว่า 400,000 เรื่อง

รวมถึงมิติอื่น ๆ ทั้ง เศรษฐกิจดี เดินทางดี สิ่งแวดล้อมดี เช่น การบรรเทาปัญหาขยะและความสะอาด การเทอาหารลงท่อระบายน้ำ ที่สามารถแก้ไขได้อย่างทันที อีกทั้งยังมีมิติอื่น ๆ ทั้ง สุขภาพดี สังคมดี เรียนดี และ บริหารจัดการดี นอกจากนี้ ยังมีอรรถประโยชน์ที่นอกเหนือจากการร้องเรียน คือช่วยประเมินการทำงานของเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลจากการประเมินเป็นภาพสะท้อนที่มาจากการทำงานจริง

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-554-8124 หรือติดตามความเคลื่อนไหวของ กทปส. ได้ที่ https://btfp.nbtc.go.th และ www.facebook.com/BTFPNEWS