Thursday, November 21, 2024
Cybersecurity

สกมช. ร่วมมือ Whoscall เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับภัยไซเบอร์

Whoscall

สกมช. ร่วมกับ บริษัท โกโกลุค จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ลงนามบันทึกความร่วมมือ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์เร่งต้านมิจฉาชีพออนไลน์

ลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า “สกมช. พร้อมผลักดันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนการสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนทุกระดับ หนึ่งในนั้นคือ จะสนับสนุน ส่งเสริม การใช้งาน แอปพลิเคชัน Whoscall ที่พัฒนาขึ้นโดยโกโกลุค ซึ่งได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศ”

“โดยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดสิทธิ์การใช้งาน (Permission) ให้เหมาะสม ลดข้อห่วงใย การรั่วไหล ของข้อมูลส่วนบุคคล และ โกโกลุค ประเทศไทย พร้อม ปฏิบัติติตามกฎหมาย PDPA ของไทยเป็นอย่างดี”

“การลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ ถือเป็นความร่วมมือ อันดี ที่จะช่วยทำให้ภารกิจของเราสำเร็จได้เร็วขึ้น โดย สกมช. และ โกโกลุค จะร่วมมือกันเสริมสร้างขีด ความสามารถ ในการยกระดับทักษะและความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยี รวมถึงโครงการฝึกอบรม แลกเปลี่ยน ความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชน อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ในการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ และส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับสังคมไทย”

เจฟฟ์ กัว ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Gogolook จำกัด กล่าวว่า “Gogolook รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือกับสำนักงานความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติ (NCSA) บันทึกความเข้าใจ (MOU) แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการปกป้องประเทศไทยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น”

“ในปี 2566 อาชญากรรมไซเบอร์ทำให้คนไทยสูญเสียเงินหลายพันล้านบาทและสร้างความหวาดกลัว ให้แก่สังคมในวงกว้าง Gogolook ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) เราใช้ข้อมูลและ AI พัฒนาโซลูชันเพื่อป้องกันการหลอกลวง”

“ความร่วมมือกับ สกมช. ที่จะเกิดขึ้น Gogolook จะเพิ่มประสิทธิภาพ ในการตรวจจับ URL ของ Whoscall โดยมีบริการที่ครอบคลุมจากการโทรและ SMS ไปสู่การคัดกรอง URL เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การทำงานร่วมกันระหว่างความสามารถของ Gogolook และความเชี่ยวชาญของ NCSA จะช่วยให้เราจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเชิงรุกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

“ด้วยวิสัยทัศน์ ร่วมกันในการสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัยและน่าไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ประชาชนไทย สามารถ ใช้ดิจิทัลด้วยความมั่นใจ เราจะผสานความร่วมมือระหว่างเทคโนโลยีและความปลอดภัย เพื่อปกป้องภัย ทางดิจัทัลให้กับผู้ใช้ในประเทศไทย”

ปี 66 พบกว่า 1,800 เหตุร้าย

ข้อมูลจาก ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ThaiCERT) หน่วยงานในกำกับของ สกมช. ได้เฝ้าระวังและแจ้งเตือนเหตุการณ์ทางไซเบอร์ ให้กับหน่วยงาน ต่างๆ

โดยจากปี 2566 ที่ผ่านมา ตรวจพบกว่า 1,800 เหตุการณ์ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) แฮกเว็บไซต์มากถึง 1,056 เหตุการณ์ 2) พบเว็บไซด์ปลอม 310 เหตุการณ์ และ 3) การหลองลวงทางการเงิน 111 เหตุการณ์ ล้วนเกิดความเสียหายต่อหน่วยงานและประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของ สกมช. ที่ต้องเร่งหาแนวทางแก้ไข ตามแนวทางการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เชิงรุก Proactive Protection