Thursday, November 21, 2024
AICybersecurityGenerative AI

MFEC ประกาศแผนกลยุทธ์ กลุ่มโซลูชันไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เป้ารายได้ 1.6 พันล้าน

MFEC ประกาศแผนกลยุทธ์ กลุ่มโซลูชันไซเบอร์ซีเคียวริตี้ มองเห็นโอกาสธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ยังคงเติบโต ตั้งเป้าปี 67 รายได้กลุ่มธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 1.6 พันล้าน 

ริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด หรือ MFEC ผู้ให้บริการระบบไอทีครบวงจร ประกาศแผนการดำเนินธุรกิจในกลุ่มโซลูชันไซเบอร์ซีเคียวริตี้ มองเห็นธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ยังคงเติบโตได้ดี เป็นไปตามเป้า ใช้กลยุทธ์ Tech with Propose สร้างความมั่นใจและรักษาฐานลูกค้า 

วางแผนที่จะขยายตลาดและเติบโตในธุรกิจนี้อย่างก้าวกระโดดผ่านการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดกลาง (Mid-size) มากขึ้น ใช้แนวคิดแบบองค์รวมสร้าง 6 บริการครบวงจร รวมถึงการให้บริการแบบ Managed Service ครบวงจร

พร้อมข้อคิด องค์กรควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและระบบ Generative AI ควบคู่ไปกับการวางแผนกลยุทธ์ในการยกระดับแรงงานดิจิทัล (Digital workforce) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น 

โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2567 ภาพรวมกลุ่มธุรกิจ MFEC จะมีรายได้เติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) 11.4% จากปีที่ผ่านมา หรือมีรายได้ 6,734 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนแนวโน้มการเติบโตของกลุ่ม ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ประมาณ 25% หรือราว 1.68 พันล้านบาท

ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปัจจุบันทิศทางแนวโน้มการลงทุนจะมาจาก Integration Solution ในลักษณะการเป็น Single Partner, Enterprise Agreement, และธุรกิจ Security Managed Services” 

“โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดของโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีความสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การหดตัวของการลงทุนในประเทศไทยทำให้ลูกค้าของ MFEC เองก็ต้องปรับตัวตาม” 

“แต่ธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ของ MFEC ยังคงเติบโตได้ดี และเป็นไปตามเป้าที่ได้วางไว้ เราใช้กลยุทธ์ Tech with Propose สร้างความมั่นใจและรักษาฐานลูกค้า และนำ เทรนด์ AI มาต่อยอดเป็นบริการโซลูชันใหม่เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน”

วางแนวคิดแบบองค์รวมสร้างบริการครบวงจร

ดำรงศักดิ์ รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปีนี้ได้วางแนวคิดแบบ องค์รวมหรือบริการครบวงจร สำหรับการบริการในธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของ MFEC ที่ประกอบไปด้วย 6 บริการด้วยกันคือ” 

“หนึ่ง Assessment บริการประเมิน ระบุ และจัดลำดับความสำคัญของช่องโหว่และปรับการใช้จ่ายด้านความปลอดภัยให้เหมาะสม สอง Consult บริการให้คำปรึกษาและพัฒนากลยุทธ์ด้านความปลอดภัยที่คุ้มต้นทุน และสอดคล้องกับงบประมาณขององค์กร”

“สาม Implement บริการติดตั้งวางระบบ ด้วยโซลูชันความปลอดภัยที่เหมาะสมกับองค์กรและการลงทุนในค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนให้สูงสุด สี่ Operate บริการการจัดการความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องด้วยต้นทุนคงที่ ปรับปรุงสถานะความปลอดภัยขององค์กร”

“ห้า CSOC บริการติดตั้งวางระบบศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์แบบครบวงจร และบริการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์แบบครบวงจร และ หก Incident Response บริการแก้ไขและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามอย่างรวดเร็วเพื่อลดเวลาหยุดทำงานและการสูญเสียทางการเงินที่เกี่ยวข้อง”

ก่อกนก ภัทรเมธาวรกุล ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กล่าวเสริมว่า “แนวคิดในการให้บริการลูกค้าโซลูชันด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้นั้น จะอาศัยหลักการ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหรือระบบที่มีอยู่ให้เต็มประสิทธิภาพ ผนวกกับประสบการณ์และองค์ความรู้ของ_MFEC, พาร์เนอร์ และกรณีศึกษาความสำเร็จต่างๆ เข้าไปช่วยลูกค้าลดการลงทุนทางด้านไอทีที่เกินความจำเป็นลง” 

พัฒนาคุณภาพทีมงาน รองรับการเพิ่มฐานลูกค้า

ดำรงศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบัน_MFEC มี Cybersecurity Engineer กว่า 120 คนที่พร้อมให้บริการ โดยบริษัทฯ วางแผนที่จะขยายตลาดและเติบโตในธุรกิจนี้อย่างก้าวกระโดดผ่านการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดกลาง (Mid-size) มากขึ้น รวมถึงการให้บริการแบบ Managed Service ครบวงจร เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากภาครัฐและเอกชน” 

“เรามุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากร ไม่เพียงแค่การเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการรับรองจาก Certificate มาตรฐานสากลต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความเชี่ยวชาญและ ความพร้อมในการให้บริการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ครบวงจรและมีคุณภาพสูงสุด” 

“การพัฒนาบุคลากรเหล่านี้คือการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่งในการรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ของธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้และเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน”

ฝากแนวคิดถึงผู้บริหารด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

ดำรงศักดิ์ ออกความเห็นว่า “ทุกวันนี้รวมถึงในอนาคต เทคโนโลยีและระบบ Gen AI ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค้นหาความผิดปกติในระบบ และปรับรูปแบบการใช้งานให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการโจมตี” 

“ในขณะเดียวกัน องค์กรจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรแรงงานดิจิทัลให้พร้อมใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน” 

“การนำ Gen AI มาใช้เพื่อต่อกรกับภัย ไซเบอร์เป็นการช่วยผ่อนแรงมากกว่าการมาแทนที่ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจในหลากหลายมิติ ทั้งความถูกต้อง จริยธรรม ข้อบังคับ และผลเสียหายทางธุรกิจ ยังจำเป็นต้องใช้มนุษย์ในการตัดสินใจอยู่” 

“การใช้เทคโนโลยีไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และ Gen AI เพื่อการป้องกันภัยเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการลงทุนในทักษะและความรู้ของบุคลากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง คือวิธีที่จะก้าวนำหน้าอาชญากรไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น”

“สำหรับข้อคิดสำหรับ ระดับบริหารในแต่ละองค์กรรวมถึง CISO นั้นต้องสามารถประเมินมูลค้าทางธุรกิจของตัวเองได้ ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญในการคิดต่อถึงเหตุและผลในการลงทุนเทคโนโลยีระบบการรักษาความปลอดภัย”

“รวมถึงบริหารระดับสูงทุกคนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างระบบการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในองค์กร เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นหากไม่มีระบบป้องกัน มันสามารถสร้างความเสียหายมากกว่าเงินลงทุน” ดำรงศักดิ์ กล่าวสรุป