Wednesday, December 4, 2024
CybersecurityNEWS

แคสเปอร์สกี้ กระตุ้นความตระหนักการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ องค์กรในเอเชียแปซิฟิก

แคสเปอร์สกี้ จัดงานประชุมสัมมนา Kaspersky APAC Cyber Security Weekend 2022 เปิดประเด็นเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สร้างความตระหนักให้องค์กร

คสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ จัดงานประชุมสัมมนา Kaspersky APAC Cyber Security Weekend 2022 ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สำหรับสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิดหลักของปีนี้คือ “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า…  หรือ What If…”

ที่ได้อธิบายถึงความสำคัญของการมีระบบการรรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ในกรณีสมมติที่โลกนี้ไม่มีเครื่องมือการรักษาความปลอดภัยในรูปแบบการสื่อสารหรือการทำธุรกรรมดิจิทัลต่างๆ อาทิ การสื่อสารผ่านอีเมล์ การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน การทำธุรกรรมดิจิทัล หรือในสถานการณ์อีกมิติหนึ่งของการโจมตีทางไซเบอร์

โดยมีผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้_เข้ารวมและเป็นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คริส คอนเนลล์ รองประธานฝ่ายเครือข่ายระดับโลก และกรรมการผู้จัดการ เอเชียแปซิฟิก วิทาลี คัมลัก ผู้อำนวยการทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (Global Research & Analysis Team: GReAT) เอเชียแปซิฟิก

รวมถึง ซองซู ปาร์ค หัวหน้านักวิจัยด้านความปลอดภัย, ซูกูรุ อิชิมารุ นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส และ นูชิน ชาบับ นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส จาก GReAT เอเชียแปซิฟิก

Kaspersky
คริส คอนเนลล์ รองประธานฝ่ายเครือข่ายระดับโลก และกรรมการผู้จัดการ เอเชียแปซิฟิก
เอเชียแปซิฟิก ที่ตกเป็นเป้าหมายภัยคุกคาม

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ถึงกรกฎาคม 2565 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดูเหมือนจะเป็นภูมิภาคที่มีช่องโหว่อันดับต้นๆ โดย 35% หรือราวหนึ่งในสาม ของการตรวจจับภัยคุกคามที่ตรวจพบโดยโซลูชันของแคสเปอร์สกี้ พุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้ในภูมิภาคนี้ โดยมี อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และอินโดนีเซียเป็นเป้าหมาย 5 อันดับแรก

ดังนั้น การเปิดประเด็นเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงมีความสำคัญต่อการสร้างความตระหนักให้องค์กรในภูมิภาค รวมถึงโอกาสในการเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของผู้ให้บริการรับบการรักษาความปลอดภัย

แคสเปอร์สกี้ ในฐานะบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และผู้สนับสนุนหลักในการตรวจจับและสกัดกั้นการโจมตีที่ซับซ้อนทั่วโลก มีความต้องการที่จะสื่อสารถึงความสำคัญของการพิจารณาความสำคัญของการมีเครื่องมือ

หรือโซลูชันการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาคนี้ โดยพยายามจินตนาการถึงเหตุการณ์สมมติ ถึงโลกที่ปราศจากระบบการรักษาความปลอดภัยหรือโซลูชันของแคสเปอร์สกี้

โลกที่ปราศจากระบบการรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้

ในงานสัมมนา Kaspersky APAC Cyber Security Weekend 2022 คริส คอนเนลล์ รองประธานฝ่ายเครือข่ายระดับโลก และกรรมการผู้จัดการ เอเชียแปซิฟิก ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า

“หากย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของบริษัทในปี 1997 จะไม่มีใครรู้ว่าโลกต้องต่อสู้กับมัลแวร์ตัวเดียวทุกๆ ชั่วโมง หากปราศจากเทคโนโลยีการวิเคราะห์แบบฮิวริสติก (Heuristic Analysis Technology) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจหาไวรัสเฉพาะของแคสเปอร์สกี้ โดยการตรวจสอบโค้ดสำหรับคุณสมบัติที่น่าสงสัยของโปรแกรม เพื่อระบุลักษณะที่น่าสงสัยที่สามารถพบได้ในไวรัสที่ไม่รู้จัก”

“ในปี 2015 หากปราศจากแคสเปอร์สกี้ คงไม่มีใครรู้ถึงการโจรกรรมทางไซเบอร์มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ โดยกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ Carbanak ซึ่งแคสเปอร์สกี้ได้ทำงานร่วมกับตำรวจสากล และตำรวจสากลแห่งสหภาพยุโรป รวมถึงหน่วยงานจากประเทศต่างๆ เปิดเผยแผนการร้ายที่อยู่เบื้องหลังการปล้นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษ”

“หากไม่มีแคสเปอร์สกี้ ก็คงไม่มีการก่อตั้งองค์กรต่อต้านแรนซัมแวร์ (No More Ransom) องค์กรผู้ซึ่งสนับสนุนกระบวนการถอดรหัสแรนซัมแวร์แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งได้ขยายพันธมิตรเป็น 188 ราย มีเครื่องมือถอดรหัส 136 รายการและได้ช่วยผู้คนกว่า 1.5 ล้านคนทั่วโลกถอดรหัสอุปกรณ์ที่ถูกภัยแรนซัมแวร์”

“ในปี 2560 เราเริ่มต้นมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วยการเปิดตัว Global Transparency Initiative ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการที่เรากลายเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งแรกที่เสนอซอร์สโค้ดสำหรับการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม”

“ด้วยความเชี่ยวชาญ 25 ปี ตอนนี้เราเป็นทีมงานมืออาชีพมากกว่า 4,500 คน สร้างระบบนิเวศการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการพัฒนาระบบปฏิบัติการของตนเองซึ่งมีความปลอดภัยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ในอนาคต เพราะเรารู้ว่าโลกต้องการความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเราพร้อมที่จะทำหน้าที่ของเราเพื่อสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน” คอนเนลล์กล่าว