iTIC ร่วมกับกระทรวงคมนาคมขับเคลื่อนการจราจรอัจฉริยะ แก้ปัญหาจราจร ลดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน
“ศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (iTIC) จัดสัมมาระดมความรู้ เทคโนโลยีการจราจรอัจฉริยะ แก้ปัญหาจราจร ลดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน เปิดเวที พื้นที่ โชว์นวัตกรรมการจราจรแห่งอนาคต เรียลไทม์ ปลอดภัย และสมาร์ท
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information enter Foundation) หรือ iTIC ร่วมกับ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา 4th iTIC FORUM 2023: Power of Connectivity and Smart Mobility
เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้าน Connectivity and Smart Mobility ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับการพัฒนาระบบขนส่ง การจราจรอัจฉริยะและลดอุบัติเหตุ ในประเทศไทยแบบ real-time
โดยมี สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ ความพร้อมของการเชื่อมต่อ โครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย ว่าการสัมมนาในครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง คมนาคมที่มุ่งเน้น 4 แนวทางหลักคือ
หนึ่ง เปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนารถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ส่งเสริมและพัฒนาระบบโครงข่ายทางถนนและทางพิเศษให้ครอบคลุมความต้องการเดินทางของประชาชน และการส่งเสริม พัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางน้ำที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง ตลอดจนการศึกษา โครงการ Land Bridge เชื่อมทะเลอันดามันและอ่าวไทย
สอง เน้นความปลอดภัยลดอุบัติเหตุในการเดินทางของประชาชน สาม เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีและลดต้นทุนในการเดินทาง และสี่ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น Green Transport ลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์และ PM 2.5 โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในการเดินทาง
รวมทั้งการบูรณาการ ร่วมกับ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการจราจร กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริการครอบคลุม การเดินทาง อาทิ รถไฟใต้ดิน บนดิน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
นินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (iTIC) กล่าวว่า “มูลนิธิฯ พร้อมระดมพลังความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและ เอกชนขับเคลื่อนข้อมูล Big Data ระหว่างหน่วยงานต่างๆ นำมาประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลแก้ปัญหาจราจรและลดอุบัติเหตุ แบบ real-time
เช่น การปิดจราจร, อุบัติภัย, ไฟไหม้, เมฆฝน, และน้ำท่วม ภัยพิบัติ, หรือแม้กระทั่ง ฝุ่น PM2.5 ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญ มีการแจ้งเตือนการเกิดอุบัติเหตุ ให้ผู้ขับขี่ที่เดินทางไปในบริเวณรัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดเกิดเหตุด้วย”
“ทั้งนี้ iTIC รายงานข้อมูลแบบ real time traffic โดยใช้ข้อมูลจาก Vehicle Probe กว่า 100,000 คัน วิ่งอยู่ทั่วประเทศมา ประมวลผล แสดงบน Digital Map มีกล้อง CCTV รวมทั้งหมด 282 กล้อง อนาคตมีแผนขยายการเชื่อมต่อกล้อง CCTV จาก เทศบาลเมืองภูเก็ต อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัด”
“สำหรับการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ ทางมูลนิธิฯ มีประเด็นที่ต้องการจะขับเคลื่อน 3 ประการคือ การจราจรอัจฉริยะ แก้ปัญหาจราจร และลดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน โดยมีพันธมิตรทั้งจากหน่วยการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงบริษัทเอกชนเจ้าของเทคโนโลยีการจราจรจากต่างประเทศมาร่วมให้ข้อมูล รวมถึงนิทัศน์การแสดงเทคโนโลยีด้านการจราจรและความปลอดภัย”
“อาทิ แนวคิดใหม่ในการสัญจรของคนกรุง โดย กทม. มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาจุดฝืด-จุดรถติด เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุในกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีกล้อง CCTV อยู่ประมาณ 60,000 กล้อง เพื่อใช้ในด้านการจราจรและความปลอดภัย”
“ซึ่ง กทม. มีแผนนำระบบ AI มาวิเคราะห์ หรือหาข้อมูลมาตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาการจราจรให้ดีขึ้น โดยนำเทคโนโลยีการ จัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: Al) มาบริหารจัดการสัญญาณไฟ จราจรในแต่ละแยกยุทธศาสตร์”
นอกจากนี้ภายในงานสัมมนา มีการบรรยายจากผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนร่วมให้ข้อมูลมากมาย อาทิ Vehicle Information and Communication Systems (VICS) และ Intelligent Transportation Society of Taiwan (ITS Taiwan) มาแชร์ประสบการณ์ความสำเร็จในการแก้ปัญหาจราจรและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
เทคโนโลยีการเดินทางอัจฉริยะ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (EA) จะพูดถึง ศักยภาพของเอกชนไทยในการขับเคลื่อนสมาร์ทโลจิสติกส์ รถ-เรือ-ราง ด้วย Green Transportation
ในช่วง เสวนา หัวข้อ โลกของไทยในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งภูมิภาคเรือนไทยเชื่อมโลก สร้างระบบ Feeder ไปยังสถานีขนส่ง มวลชนได้อย่างไร นำโดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม โดยมีกรมการขนส่งทางราง, การรถไฟแห่งประเทศไทย, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนา
ในช่วงบ่าย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล นำเสนอ “แนวคิดใหม่ในการสัญจร ของคนกรุง” จากนั้น บริษัท ช.การช่าง โดย ดร.สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ จะมาพูดเรื่อง “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อ เชื่อมต่อการเดินทางอัจฉริยะและสังคมที่ยั่งยืนในประเทศไทย”
บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย โดย ฮิเดโอะ อิวาซาวะ จะมาพูดถึงการใช้ข้อมูลในการสร้างคุณค่าร่วมกัน และเสวนา นำโดย นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข พูดถึงประสบการณ์และ ยกตัวอย่างการลดอุบัติเหตุและช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บบนถนน ของจังหวัดขอนแก่นโมเดล ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ว่าทำ อย่างไร โดยมี กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท, กรมการขนส่งทางบก ร่วมเสวนา
สุดท้ายเป็นการเสวนาหัวข้อ “พลังของข้อมูลในระบบคมนาคมขนส่ง สู่อนาคต” นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ โดยผู้สนับสนุนหลัก, SME และ Start up ถึง 30 บูท ปิดท้ายด้วย Big Surprise ช่วงท้ายของงาน โดยมีผู้สนใจทั้ง หน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 300 รายเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว