“ประธาน ICDL แห่งยุโรป กล่าวย้ำถึงความสำคัญ การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับประชาชน ภาคการศึกษา แรงงานในภาคธุรกิจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตัวแปรสำคัญของการยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
ในวาระที่ ดาเมียน โอซัลลิแวน ประธานบริหาร มูลนิธิ ICDL แห่งสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ภายใต้สหภาพยุโรป ผู้ผลักดันและให้บริการระบบ เครื่องมือการเรียนรู้ การทดสอบ และออกใบประกาศอิเล็กทรอนิกส์ แบบครบวงจร สำหรับการพัฒนายกระดับทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มาเยือนประเทศไทย
ดาเมียน ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ CIO World Business ถึง ความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เป็นหนึ่งในหัวใจความสำเร็จในการปฏิรูปองค์กรไปสู่ดิจิทัล โดยกล่าวว่า
“การเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ ต้องการที่จะสานต่อและตอกย้ำเรื่อง การสร้างโปรแกรมการเรียนรู้เสริมทักษะด้านดิจิทัล หลักจากโรคระบาดได้สร้างประสบการณ์และบังคับให้คนต้องทำงานออนไลน์ ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างทางทักษะดิจิทัล”
“ดิจิทัลทรานฟอร์เมชัน ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และการเข้ามาของ COVID-19 ส่งผลให้ธุรกิจต้องปรับตัว เดินหน้าธุรกิจให้ได้ต่อเนื่องด้วยการใช้เทคโนโลยีไอซีทีและดิจิทัล ทั้งการแพทย์ การศึกษา และธุรกิจอื่นๆ รวมถึงการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ดังนั้นการสร้างทักษะด้านดิจิทัลจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิบัติตามนโยบายให้ประสบความสำเร็จ”
ย้ำทักษะดิจิทัล คือสิ่งสำคัญของคนทำงาน
“ทักษะดิจิทัลสำหรับบุคลากรในวัยทำงานเป็นสิ่งสำคัญ จากประสบการณ์ของ ICDL_พบว่าช่องว่างของทักษะดิจิทัลในคนกลุ่มนี้ยังมีอยู่ในหลายๆ ประเด็น จากข้อมูลของเราพบว่า คนส่วนมากยังเข้าใจผิดถึงทักษะของตัวเอง ซึ่งในประเทศไทยช่องว่างของทักษะดิจิทัลยังห่างอยู่เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ แต่โชคดีที่เราพบว่า รัฐบาลมองเห็นและเข้าใจประเด็นเรื่องทักษะดิจิทัล”
“สิ่งสำคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้กระบวนการพัฒนาดิจิทัลสกิลเกิดขึ้นในวงกว้าง และประสบความสำเร็จ คือ ภาวะผู้นำ ทั้งภาวะผู้นำของภาครัฐที่เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ และผู้นำขององค์กรต่างๆ ที่จะทำให้บุคลากรในภาคธุรกิจหันมาให้ความสนใจการพัฒนาทักษะเพิ่มเติม”
“นี่คือบทบาทสำคัญของรัฐบาลในการผลักดันเรื่องนี้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่จัดหาระบบ ให้งบประมาณ รัฐบาลต้องเป็นผู้นำในการกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ เห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะของบุคลากร ซึ่งนั่นจะทำให้โครงการประสบความสำเร็จตั้งแต่บนลงล่าง” ดาเมียน กล่าว
การลงทุนกับ คน คือประเด็นสำคัญ
“สิ่งสำคัญสำหรับการเดินหน้าไปสู่ Digital Transformation คือ คนที่มีแนวคิดดิจิทัล ไม่ใช่ระบบหรือเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า คนในยุคดิจิทัลจำเป็นมีทักษะด้านดิจิทัล ที่ได้รับการสั่งสม เรียนรู้ ด้วยกระบวนการเรียนรู้และระบบที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระบบการศึกษา หรือการเรียนรู้หลังจากจบการศึกษา เข้ามาสนับสนุน”
“การลงทุนให้ทักษะด้านดิจิทัลกับคน จะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนา Digital Transformation ขององค์กร เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ นั้นจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพก็เพราะมีคนที่เข้าในทักษะด้านดิจิทัลเป็นผู้ขับเคลื่อน”
“นวัตกรรมต่างๆ ก็ล้วนเกิดจากคน ซึ่งหลายๆ ครั้งการเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้คน สามารถให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มมากขึ้น เร็วขึ้น ประหยัดขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ๆ เลย”
“แน่นอนว่าเทคโนโลยีระดับองค์กรจะก้าวหน้าขึ้นทุกวัน AI, IoT, Cloud และอื่นๆ ที่จะตามมา ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ดังนั้นบทบาทหน้าที่สำคัญของระดับบริหารขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะความสามารถของคน” ดาเมียน กล่าว
ICDL พร้อมสนับสนุนการสร้างทักษะดิจิทัล
“ICDL เป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญเรื่องกระบวนการสร้างทักษะดิจิทัล โดยไม่ได้ทำแค่ประเมินสถานการณ์ปัญหาของทักษะทางดิจิทัล แต่เรามีโปรแกรมการฝึกอบรมที่จะสามารถเข้ามาปิดช่องว่างนั้นได้ แต่ในการทำตรงนั้นมันประกอบด้วยหลายๆ ปัจจัย”
“อาทิ ความร่วมมือของผู้ประกอบการ ความพร้อมของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ความพร้อมของสถาบันการศึกษาที่ต้องเตรียมทักษะของคน รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่เป็นหนึ่งเดียว มองเป้าหมายของประเทศร่วมกัน รวมถึงกระบวนการหรือเครื่องมือที่นำมาใช้อบรม เรียนรู้ทักษะที่มีประสิทธิภาพ”
“ถ้าเรามองถึงแรงงานอนาคต การสร้างทักษะด้วยกระบวนการศึกษานอกมหาวิทยาลัย ในลักษณะที่ได้รับประกาศนียบัตรกำลังอยู่ในกระแสความต้องการ ที่เราเรียกว่า Micro Credential Program ซึ่ง ICDL เป็นหนึ่งในสถาบันการอบรมและทดสอบที่หลายบริษัททั่วโลกให้การยอมรับถึงประกาศนียบัตรดิจิทัล ทักษะดิจิทัลในระดับอุตสาหกรรม”
“คุณอาจมีคำถามว่า ปัจจุบันเราเห็นโปรแกรมการอบรมทักษะนอกสถาบันการศึกษาแบบออนไลน์หลายๆ หลักสูตร มันต่างอย่างไรกับสิ่งที่ IDCL กำลังทำ?”
“จริงอยู่ที่โปรแกรมออนไลน์ต่างๆ เป็นทางเลือกมากมาย แต่ประเด็นหนึ่งคือ เราพบว่าอัตราการเรียนจบหรือสำเร็จค่อนข้างต่ำ เพราะการอบรมทักษะในลักษณะนั้นต้องอาศัยแรงจูงใจในการเรียนมากเป็นพิเศษ และระบบก็อาจไม่ได้เอื้อหรือสนับสนุนให้กับผู้เรียนประสบความสำเร็จ”
“แต่สิ่งที่ ICDL_เชื่อมั่นและเป็นที่ยอมรับคือ ระบบการอบรมทักษะ กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการทดสอบความรู้ที่เข้มข้น ที่ส่งผลต่อระดับความน่าเชื่อถือของใบประกาศที่ได้”
“โมเดลของ ICDL_คือ การเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครื่องมือ สำหรับ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หรือองค์กรธุรกิจที่ต้องการยกระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล เพื่อจะสร้างระบบการเรียนรู้ที่ครบวงจร ให้คน พนักงาน หรือนักเรียนนักศึกษา อีกทีหนึ่ง”
“อาจกล่าวได้ว่า ICDL_เป็นผู้ได้สร้างมาตรฐานการเรียน ที่ยกระดับการเรียนมากไปกว่าการให้เอกสารการเรียนอย่างเดียว เรามีเครื่องมือ ที่ครบวงจรในการพัฒนาทักษะดิจิทัล ทั้งเนื้อหา การฝึกปฏิบัติ การทดสอบ จนถึงการออกประกาศนียบัตรดิจิทัล”
ต้องปรับทัศนคติไปสู่ การสร้างทักษะตลอดชีวิต
ขณะที่ ทีน่า วู ผู้จัดการทั่วไป_ICDL สิงคโปร์ กล่าวเสริมว่า “ในประเทศสิงคโปร์ มีแนวนโยบายการพัฒนาทักษะให้คนที่สามารถนำมาปรับเป็นแนวคิดได้ กล่าวคือ ประเทศสิงคโปร์มีข้อจำกัดเรื่องทรัพยากร ดังนั้นต้นทุนเดียวที่มีคือ ทรัพยากรคน บทเรียนจากสิงคโปร์คือ การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์จะช่วยให้ประเทศเจริญ และมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำของประเทศ ซึ่งหลักการนี้ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้กับระดับองค์กรเช่นกัน”
“ขอเน้นย้ำว่า ในถนนแห่งการพัฒนาองค์กร หรือประเทศให้ก้าวไปสู่อนาคตดิจิทัลอย่างประสบความสำเร็จ เรื่องหลักๆ คือ แนวคิด (mindset) ของทุกคน ที่ต้องสนใจการพัฒนาในทุกๆ ทักษะดิจิทัล ไม่ว่าคุณจะเป็นคนทำงานในระดับไหนก็ตาม ทัศนคติต้องปรับไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะเราอยู่ในโลกดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว”
“ผู้บริหารองค์กรต้องเข้าใจถึงความสำคัญของการบริหารคน เพิ่มองค์ความรู้ให้คน ยินดีที่จะผลักดันพนักงาน สร้างความกระตือรือร้น ให้แต้มต่อ แรงจูงใจให้เกิดการยกระดับทักษะของบุคลากรและตนเอง”
“ในขณะที่ถ้ามองถึงการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้ประชาชนในระดับประเทศ ขอให้ความเห็นว่า ประเทศไทยกำลังมาถูกทางที่เน้นไปที่การพัฒนาทักษะดิจิทัลของคน ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มีความพร้อม”
“เพราะบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลที่ดีกว่า ชำนาญกว่า จะทำให้เกิดการลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด และสร้างนวัตกรรมได้ ประเทศไทยก็จะสามารถก้าวสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลิตผลอย่างแท้จริง” ดาเมียน สรุป
Featured Image: Image by gpointstudio on Freepik