หัวเว่ยจัดยิ่งใหญ่ HUAWEI CONNECT 2022 มหกรรมเทคโนโลยีขับเคลื่อนศักยภาพด้านดิจิทัล
“หัวเว่ยเปิดฉากงาน HUAWEI CONNECT 2022 มหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก ณ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัล พร้อม เปิดตัวนวัตกรรมบริการคลาวด์ใหม่กว่า 15 รายการสำหรับตลาดโลก
หัวเว่ยเปิดฉาก HUAWEI CONNECT 2022 งานมหกรรมประจำปีระดับโลกด้านเทคโนโลยีไอซีที ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยเริ่มขึ้นวันนี้ ณ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัล (Unleash Digital) โดยรวบรวมผู้นำอุตสาหกรรมไอซีที รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรทั่วโลกกว่า 10,000 คนร่วมหารือแนวทางปลดล็อคศักยภาพด้านดิจิทัล, ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, และพัฒนาอีโคซิสเต็มดิจิทัลให้แข็งแกร่ง
ภายในงาน หัวเว่ยได้ร่วมแบ่งปันกลยุทธ์เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าด้านดิจิทัลในหลากหลายอุตสาหกรรม และเปิดตัวนวัตกรรมบริการคลาวด์ขั้นสูงใหม่กว่า 15 รายการสำหรับตลาดโลก
กลยุทธ์หลัก 3 ประการเพื่อผลักดันภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล
เคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงานโดยเน้นย้ำบทบาทสำคัญ 3 ประการของอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีในการช่วยขจัดอุปสรรคระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ประกอบด้วย
ประการที่หนึ่ง สนับสนุนและผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพและทรัพยากรด้านการประมวลผลที่เสถียรและมีความหลากหลาย
ประการที่สอง ส่งเสริมองค์กรรุดหน้าไปกว่าการใช้ระบบคลาวด์พื้นฐาน โดยดึงประโยชน์สูงสุดจากคลาวด์มาใช้ และมุ่งเน้นการบริการด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาแบบก้าวกระโดด
และประการที่สาม สร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาพันธมิตร การเสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มบุคลากรด้านดิจิทัล และให้การสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับเอสเอ็มอี
ในการกล่าวปาฐกถา เคน หู ยังได้ประกาศกลยุทธ์อีโคซิสเต็มสำหรับสตาร์ทอัพระดับโลกของ หัวเว่ย คลาวด์ เป็นครั้งแรก โดยวางเป้าหมายไว้คือ การสร้างสตาร์ทอัพ 10,000 บริษัททั่วโลกภายในเวลา 3 ปี
เปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud Region) ในอินโดนีเซีย พร้อมนวัตกรรมบริการใหม่กว่า 15 รายการ
จาง ผิงอัน ประธานกรรมการบริหาร ธุรกิจ หัวเว่ย คลาวด์ ประกาศเปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ ระดับภูมิภาค (Huawei Cloud Regions) ในอินโดนีเซียและไอร์แลนด์ และภายในสิ้นปีพ.ศ. 2565 หัวเว่ย คลาวด์จะเปิดใช้งาน ศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) 75 แห่งใน 29 ภูมิภาคทั่วโลก พร้อมให้บริการในประเทศและภูมิภาคต่างๆ กว่า 170 แห่ง
นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์และพันธมิตรยังได้เปิดตัวแผนพัฒนาอีโคซิสเต็ม ก้าวไปกับคลาวด์ ก้าวสู่ระดับโลก (Go Cloud, Go Global) โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์ นวัตกรรมบริการรอบด้าน (Everything as a Service) โดยแผนการดำเนินงานนี้จะเร่งการพัฒนาอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมดิจิทัลทั่วโลกเพื่อผลักดันนวัตกรรมและความสำเร็จร่วมกัน
สืบเนื่องจากความร่วมมือนี้ แจ็กเกอลีน ซือ ประธานฝ่ายการตลาดและการขายระหว่างประเทศของหัวเว่ย คลาวด์ ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมบริการขั้นสูงกว่า 15 รายการเป็นครั้งแรกในโลก รวมถึงคลัสเตอร์คลาวด์ความเร็วสูง (CCE Turbo), บริการคลาวด์เนทีฟแบบทุกหนทุกแห่ง (Ubiquitous Cloud Native Service – UCS)
ตลอดจนโมเดล AI Pangu เพื่อประยุกต์ใช้กับการพยากรณ์คลื่นลมทะเล (Pangu wave model) รวมถึงบริการขั้นสูงอื่นๆ อาทิ DataArts LakeFormation, Virtual Live, CodeCheck, CloudTest, KooMessage, KooSearch และ KooGallery
ผลักดันอีโคซิสเต็มดิจิทัลในท้องถิ่นเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
ภายในงาน หัวเว่ยตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน โดยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อปลูกฝังอีโคซิสเต็มดิจิทัลในท้องถิ่นให้แข็งแกร่ง โดยการสร้างพันธมิตรด้านเทคโนโลยี, ส่งเสริมทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล, และผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพ
ไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวปาฐกถาหัวข้อ ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลัก (Digital First Economy) โดยให้ข้อมูลเชิงลึกในข้อเสนอแนะด้านนโยบายการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า
“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือ ผู้นำของภูมิทัศน์ดิจิทัลทั่วโลก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก และพร้อมผลักดันการเข้าเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลตลอดจนส่งเสริมนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนและร่วมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้”
นอกจากนี้ แขกผู้มีเกียรติผู้แทนรัฐบาลจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ร่วมปราศรัยเพื่อแบ่งปันความคืบหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในแต่ละประเทศให้รุดหน้า อาทิ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม
อัยลางกา ฮาตาโต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐอินโดนีเซีย, มูฮัมหมัด อับดุล มานนาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งบังกลาเทศ, เดวิด อัลมิรอล ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศฟิลิปปินส์ และ ดร. หยาง มี เอง กรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียน
การจัดแสดงเทคโนโลยีในงาน Huawei Connect 2022
มหกรรมเทคโนโลยีไอซีที HUAWEI CONNECT 2022 เปิดฉากการเดินสายจัดงานทั่วโลก โดยเริ่มที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา 3 วัน ภายในงานดังกล่าวมีการกล่าวปาฐกถา 2 ครั้ง การประชุม 6 ครั้ง และการอภิปรายย่อยพร้อมการสาธิตเทคโนโลยีอีกมากมาย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจาะลึกความท้าทายที่รัฐบาลและองค์กรต่างๆ ต้องเผชิญตลอดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงการความรุดหน้าด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของหัวเว่ย และการจัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของบริการหัวเว่ย คลาวด์รวมถึงโซลูชันจากเหล่าพันธมิตรในอีโคซิสเต็ม
งานแสดงนวัตกรรม Huawei Connect 2022 แบ่งออกเป็น 4 โซน ประกอบด้วย
1. หัวเว่ย คลาวด์ และอีโคซิสเต็มของเหล่าพาร์ทเนอร์
- โซลูชันและอีโคซิสเต็ม: โซลูชันล่าสุดจากหัวเว่ย คลาวด์ และโครงการด้านอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์ต่างๆ ประกอบไปด้วยโซนสัมผัสประสบการณ์ใช้งานจริง เช่น การถ่ายทอดสดแบบเสมือนจริง (Virtual Live Broadcast) มนุษย์เสมือนจริง (Virtual Human) และ การช้อปปิ้งในโลกเสมือนจริง (Virtual Shopping)
- Spark: พันธมิตรสตาร์ทอัพกว่า 20 บริษัท
- Codes Lab: นักพัฒนากว่า 30 คน และกิจกรรมที่ส่งเสริมการลงมือทำร่วมกัน เช่น แคมป์ฝึกอบรม และโครงการประกวดนักพัฒนา
2. นวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
เป็นการแสดงโซลูชันต่างๆ ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ทุกสภาวะตลาด ด้วยผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมล่าสุดและกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
- ศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตก (Full-Stack): ศูนย์ข้อมูลแบบรวบรวมไว้ที่ส่วนกลาง ศูนย์ข้อมูลแบบคล่องตัว ศูนย์ข้อมูลแบบหลายระดับ และศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- แคมปัสอัจริยะ: โครงข่ายการผลิตในแคมปัส สำนักงานอัจฉริยะ โครงข่ายผู้รับผิดชอบงานในแคมปัส การรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะในแคมปัส ความปลอดภัยโครงข่ายภายในแคมปัส และแคมปัสคาร์บอนต่ำ
- ดิจิทัลไซต์: ไซต์เสาไฟดิจิทัล ไปป์ไลน์ดิจิทัล และการจัดการไซต์
- เครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง (WAN): เครือข่าย WAN สำหรับส่วนพื้นที่สำนักงาน ส่วนผลิต และส่วนการให้บริการสาธารณะ
- ส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัล: PV และระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ ไซต์พลังงาน ไฟฟ้ากระแสตรงเจเนอเรชันใหม่
3. กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในระดับอุตสาหกรรม
ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำเสนอแอปพลิเคชันที่เป็นนวัตกรรมและโซลูชันที่สามารถทำตลาดได้ในสถานการณ์การใช้งานหลักๆ ของอุตสาหกรรมต่างๆ
- ไอซีทีแห่งชาติ: เศรษฐกิจที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลัก การพัฒนาสีเขียว และอีโคซิสเต็มของบุคลากรที่มีทักษะด้านไอซีที
- บริการสาธารณะ: โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลแห่งชาติ การเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลของภาคบริการสาธารณะ การจัดการเหตุฉุกเฉินอัจฉริยะ ศุลกากรอัจฉริยะและภาษีดิจิทัล การศึกษาอัจฉริยะและสาธารณสุขอัจฉริยะ
- การคมนาคมขนส่ง: สนามบินอัจฉริยะ ระบบรางอัจฉริยะ ท่าเรืออัจฉริยะ และถนนอัจฉริยะ
- พลังงาน: การเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลของพลังงานไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซอัจฉริยะ และเหมืองแร่อัจฉริยะ
- การเงิน: โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทางการเงิน เส้นทางของเทคโนโลยีคลาวด์ในภาคการเงิน
- องค์กรที่ให้บริการด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (ISP)
- การให้บริการต่างๆ ในภาคองค์กร