“เผยผลผลสำรวจความเห็นของ Gen Z ที่อาจกลายเป็นแผนแม่บทวางกลยุทธ์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และวางแผนอนาคตดิจิทัล การสร้างเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ที่มีบทบาทในด้านความยั่งยืน สุขภาพ และอนาคตของการทำงาน
เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลวิจัย Future-Proof ที่เป็นการสำรวจความคิดเห็นของ Generation Z (อายุ 18-26 ปี) หรือ Gen Z ครอบคลุม 15 พื้นที่ในประเทศต่างๆ ที่ผลการวิจัยจะสะท้อนถึง ทิศทางการลงทุนด้านดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในปัจจุบัน สามารถสนับสนุนการพัฒนาอนาคตที่ยืดหยุ่นทางดิจิทัลได้อย่างไร
ซึ่งออกแบบมาเพื่อเป็นแนวทางแก่รัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย และชุมชน โดยเป้าหมายของการสำรวจต้องการรู้ว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยในมิติต่างๆ เช่น การสร้างเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นในอนาคต, เทคโนโลยีมีบทบาทในด้านความยั่งยืน สุขภาพ และอนาคตของการทำงานอย่างไร และการนำไปใช้เป็นแม่บทวางกลยุทธ์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และวางแผนอนาคตดิจิทัล ได้อย่างไร
ฟังเสียงของ Gen Z เพื่อกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจในวันพรุ่งนี้
ผลการสำรวจพบว่า เกือบครึ่ง (47%) ของเจเนอเรชั่น Z ยินดีรับข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจในระยะสั้น เช่น การเติบโตของ GDP ที่ลดลง เพื่อให้ผู้ออกนโยบายได้ลงทุนในกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้น สอดคล้องตามผลการวิจัยของเดลล์ เทคโนโลยีส์
เกือบสองในสาม (64%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยรับมือกับวิกฤตด้านสภาพอากาศ
Gen_Z หลายคนเต็มใจแบกรับข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจระยะสั้น โดยได้จัดลำดับเรื่องพลังงานที่ยั่งยืน (42%) ศักยภาพในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (39%) และภาคขนส่งสาธารณะที่ยั่งยืนมากขึ้น (29%) ว่าเป็น 3 ปัจจัยหลักด้านการลงทุนที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ
1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (25%) ยังได้แสดงออกถึงการสนับสนุนในการให้ความรู้เรื่องความยั่งยืนแก่ภาคประชาชนมากขึ้น
อองกัส เฮอการ์ตี้ ประธานฝ่ายตลาดระหว่างประเทศ เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “Gen_Z จะสร้างผลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจด้านการลงทุนในภาครัฐและเอกชนในปัจจุบัน และจะอำนวยความสะดวกรวมถึงช่วยดูแลการฟื้นฟูสู่ความยั่งยืนได้ในระยะยาว”
“จึงนับเป็นโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจาก Gen_Z ในแง่กลยุทธ์ระยะยาวที่กำหนดให้ความยั่งยืนเป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจ”
ความมั่นใจของ Gen_Z ในคำถามที่ว่า การลงทุนเพื่อฟื้นฟูภาคประชาชน จะทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟูได้ภายใน 10 ปี ข้อนี้ แบ่งความเห็นออกเป็น 1 ใน 3 ของทั่วโลก (32%) มั่นใจน้อยหรือไม่มั่นใจเลย ในขณะที่ 38% ยังไม่แน่ใจ และ 29% มั่นใจมากหรือมั่นใจเต็มร้อย
ทั้งนี้ ความเห็นจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ โดย Gen_Z ในสิงคโปร์ (56%) และ เกาหลี (41%) มีความมั่นใจสูงหรือมั่นใจเต็มร้อยมากที่สุด ในขณะที่ Gen Z ที่ว่าไม่ค่อยมั่นใจหรือไม่มั่นใจเลยมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น (47%) และบราซิล (49%)
Gen_Z กล่าวว่า อนาคตดิจิทัลต้องมีโครงสร้างหลักด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง กว่าครึ่ง (56%) รู้สึกว่าต้องมีกฎหมายที่เข้มงวดและมีการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น เพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและเพื่อให้มั่นใจว่าภาคเอกชนจะปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวด การจะทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นในภาครัฐบาลมากขึ้นนั้น 38% ของผู้ตอบอยากให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันและรับผิดชอบเรื่องนี้ไปด้วยกัน
ปิดช่องว่างทักษะทางดิจิทัลและการแบ่งแยกทางดิจิทัล
Gen_Z เข้าใจดีถึงคุณค่าของการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับอาชีพในอนาคต 3 ใน 4 (76%) มองว่าการเรียนรู้ทักษะใหม่ด้านดิจิทัล เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการเพิ่มทางเลือกด้านสายอาชีพในอนาคต หรือการวางแผนเพื่อให้มีทักษะใหม่ดังกล่าว
สำหรับเรื่อง การศึกษาจะช่วยเตรียมความพร้อมด้านทักษะดิจิทัลได้ดีขึ้นหรือไม่นั้น กว่า 2 ใน 5 (44%) บอกว่าในโรงเรียนสอนแค่ทักษะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ และประมาณ 1 ใน 10 (12%) ไม่ได้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีหรือทักษะทางดิจิทัล และกว่า 1 ใน 3 (37%) อ้างว่าโรงเรียน (อายุต่ำกว่า 16) ไม่ได้เตรียมความพร้อมให้นักเรียนเรื่องทักษะด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับอาชีพที่วางแผนไว้
ในการเชื่อมรอยต่อช่องว่างด้านทักษะทางดิจิทัล 1 ใน 3 (34%) ของ Gen_Z เสนอให้มีการพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสำหรับการศึกษาในทุกระดับให้น่าสนใจยิ่งขึ้นและครอบคลุมวงกว้างมากขึ้น 1 ใน 4 (26%) เชื่อว่าหลักสูตรด้านเทคโนโลยีที่เป็นภาคบังคับจนถึงอายุ 16 ปีจะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนก้าวสู่สายอาชีพที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี
เฮอการ์ตี้ กล่าวเสริมว่า “เห็นได้ชัดเจนว่า Gen_Z มองว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับเรา ที่เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำ หน่วยงานรัฐบาล และภาคประชาชน ที่จะต้องทำงานร่วมกันและเตรียมพร้อมให้คนเหล่านี้ก้าวสู่ความสำเร็จ”
“ด้วยการปรับปรุงคุณภาพและการเข้าถึงการเรียนรู้ด้านดิจิทัล 44% ของ Gen_Z รู้สึกว่า ทั้งผู้ให้ความรู้และหน่วยงานธุรกิจควรทำงานร่วมกันเพื่อลดช่องว่างด้านทักษะทางดิจิทัล และในระดับความเร็วที่เทคโนโลยียังคงพัฒนาต่อเนื่อง ต้องอาศัยความร่วมมือที่ต่อเนื่องเช่นกัน”
“การตอบสนองมุมมองในเรื่องที่ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อไม่ให้มีการแบ่งแยกทางดิจิทัลในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในกลุ่มประชากรที่แตกต่าง รวมถึงกลุ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ทาง Gen_Z มองว่าการเข้าถึงอุปกรณ์และความสามารถด้านการเชื่อมต่อของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส (33%) และการเชื่อมต่อในพื้นที่ชนบท (24%) เป็นสิ่งที่ต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญอย่างยิ่ง”
ประเด็นที่สำคัญอื่นๆ
- ในการรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงบริการด้านสุขภาพ (21%) การลงทุนด้านการให้ความรู้เพื่อช่วยปิดช่องว่างด้านทักษะ (11%) และการลงทุนระบบโครงสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม/ที่ยั่งยืน (11%) คือสามปัจจัยสำคัญทั่วโลกในมุมมองของ Gen Z
- เกินครึ่ง (57%) ของ Gen_Z มีความมั่นใจน้อยหรือปานกลางว่าผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจะเก็บข้อมูลส่วนตัวของตนได้สอดคล้องตามกฎระเบียบ
- กว่าครึ่ง (55%) ของ Gen_Z มองว่าการทำงานได้อย่างยืดหยุ่นและทำงานทางไกล (remote working) เป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาเลือกผู้ว่าจ้าง
Featured Image: Image by rawpixel.com on Freepik