Thursday, November 21, 2024
AgriTechNEWS

เปิดโครงการ DIPROM AgriBiz Scale Up ปั้นผู้ประกอบการ AgriBiz และ AgriTech

AgriTech

เปิดโครงการ DIPROM AgriBiz Scale Up ปั้นผู้ประกอบการภาคการเกษตร/เกษตรกร สู่การเป็นนักธุรกิจเกษตรยุคใหม่ ด้วยเทคโนโลยีการเกษตร (AgriTech) และ เทคโนโลยีอาหาร (FoodTech)

รมส่งเสริมอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (โครงการ 88 SANDBOX: Startup Ecosystem) และ SCB SME, WOODY WORLD และนักธุรกิจรุ่นใหม่ ผนึกกำลัง เปิดโครงการ DIPROM AgriBiz Scale Up หรือ โครงการปั้นผู้ประกอบการภาคการเกษตร/เกษตรกร สู่การเป็นนักธุรกิจเกษตรยุคใหม่ ด้วยเทคโนโลยีการเกษตร (AgriTech) และ เทคโนโลยีอาหาร (FoodTech)

โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันเพื่อสร้างศักยภาพโอกาสทางการแข่งขัน สำหรับผู้ประกอบการและภาคเกษตร เปลี่ยนผ่านไปสู่การเกษตรเพิ่มมูลค่า โดยมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุด คือ บ่มเพาะและสร้าง Disruptive Business Model เสริมสร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพนักธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่รองรับการแข่งขันในตลาดโลก พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศโดยการสร้างมูลค่าจากภาคการเกษตรไทยให้มีมูลค่าสูง

แปลงการเกษตรไทยสู่ เกษตรนวัตกรรม 

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บริหารโครงการ 88 Sandbox กล่าวว่า “88 Sandbox เป็นแพลตฟอร์มที่เป็น Digital Skill Space สร้างนวัตกรรมให้กับประเทศไทย ที่จะเข้ามาสนับสนุน โครงการโดยการเสริมความแข็งแกร่งและความรู้ให้สมาชิก ผ่านทรัพยากรจากหลายภาควิชาของธรรมศาสตร์ และเครือข่ายทั้งภาคธุรกิจและนักลงทุน ที่สำคัญคือ ทัพกูรูที่จะมาเป็นที่ปรึกษา (Mentors) ให้กับสมาชิกและสตาร์ทอัพที่อยู่บนแพลตฟอร์มนี้”

ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนและเสริมศักยภาพภาคอุตสาหกรรมเกษตรไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันนำไปสู่การพัฒนา เกษตรยุคใหม่ สอดรับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัล

สนับสนุนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรให้สามารถ แปลงวิกฤติ เป็น โอกาส ก้าวเข้าสู่การเป็น smart farmer หรือเกษตรกรอัจฉริยะ โดยการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ รวมทั้งกระบวนการคิด การตลาด

สำหรับโมเดลใหม่นี้ เพื่อช่วยพัฒนาให้เกษตรกรจะไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตเท่านั้น แต่จะก้าวสู่นักธุรกิจเต็มตัว เนื่องจากในปัจจุบันเกษตรกรสามารถทำการค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้สะดวกสบาย พร้อมยังสามารถเชื่อมโยงให้เกิดการสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ

ธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร กล่าวว่า สอท. มองว่า เกษตรคือรากฐานของประเทศไทย ดังนั้นจึงควร เปลี่ยน (change) เกษตรไปอีกรูปแบบหนึ่ง

ซึ่งก็คือ เกษตรอุตสาหกรรม ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงมาสู่การใช้ Demand push Supply จากเกษตรรูปแบบเดิมที่เป็น Supply push Demand ต้องทำให้เกิดความต่อเนื่องกันของการเพาะปลูก และอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการ pool ของความต้องการในตลาดและผลผลิต และทำให้ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น

นอกจากนี้ ได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างอุตสาหกรรมเกษตรของไทยกับนานาว่า ภาคเกษตรไทยในแง่ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปลายน้ำเก่งมาก ขณะที่ต้นน้ำจะผลผลิตต่ำเนื่องจากปัญหาส่วนหนึ่ง คือ ยังขาดการวิจัยเชิงลึก ขาดการใส่เทคโนโลยีลงไปในการทำเกษตร จึงทำให้ประสิทธิภาพต่ำ

ดังนั้น หากจะก้าวรับเทรนด์อนาคตให้ได้ ต้องทำการพัฒนาให้ ต้นน้ำ แข่งขันได้ก่อน โดยเฉพาะในการเกษตรที่มีคู่แข่งอยู่ในตลาดโลก ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรถึงเวลาที่ต้องหันมามองแล้วว่า จะทำการปรับปรุงอย่างไรเพื่อตอบโจทย์ให้ทั้งเกษตรต้นน้ำและปลายน้ำ มีศักยภาพในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ