Thursday, November 21, 2024
CybersecurityNEWS

ไซเบอร์ อีลีท ประกาศยกระดับบริการ Managed Security Service เสริมความแข็งแกร่งบริการ CSOC

ไซเบอร์ อีลีท เปิดเผยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจครึ่งปีหลังของปี 2565 ประกาศยกระดับบริการด้าน Managed Security Service จับมือไอบีเอ็ม เสริมความแข็งแกร่งบริการ CSOC

ซเบอร์ อีลีท ประกาศยกระดับบริการด้าน Managed Security Service เปิดเผยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในครึ่งปีหลังของปี 2565 ด้วยการสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เทคโนโลยีพาร์ทเนอร์ชั้นนำด้านแพลตฟอร์มการให้บริการป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตั้งแต่องค์กรระดับ SMB ถึงองค์กรระดับ Enterprise ครอบคลุมธุรกิจภาคการเงิน พลังงาน โทรคมนาคม ภาครัฐ

ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่มเบญจจินดา กล่าวว่า “กลยุทธ์หลักของไซเบอร์ อีลีท สำหรับการดำเนินธุรกิจด้าน Managed Security Services คือ Managed everything with forward-looking cyber risk awareness โดยที่มุ่งเป้าไปที่ การสร้างบริการที่หลากหลายและแตกต่างที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเห็นความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ภายในองค์กรได้ก่อนที่เหตุจะเกิด เพื่อที่จะสามารถวางแผนป้องกันได้ล่วงหน้าได้”

ไซเบอร์ อีลีท
ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด

“ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของกลยุทธ์นี้คือ ข้อมูลที่มีคุณภาพ บุคลากรที่มีความสามารถ และที่ขาดไม่ได้คือ เทคโนโลยีชั้นนำที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงและภัยคุกคาม รวมทั้งช่วยลดเวลาในการเผชิญเหตุทางไซเบอร์”

ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ IBM เสริมแกร่งบริการ CSOC

โดยหนึ่งในบริการ Managed Security Services ของไซเบอร์ อีลีท คือ บริการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์แบบครบวงจร หรือ Cyber Security Operations Center (CSOC)

ที่ล่าสุดได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ ไอบีเอ็ม เข้ายกระดับการให้บริการศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคาม เพื่อช่วยองค์กรเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง ตรวจจับการโจมตีได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะสร้างความเสียหายแก่องค์กร

ความร่วมมือระหว่างไซเบอร์ อีลีท และ ไอบีเอ็ม ในครั้งนี้จะผสานความแข็งแกร่งระหว่างกันให้ดูแลป้องกันภัยคุกคามให้กับลูกค้าได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยจุดเด่น ของไซเบอร์ อีลีท มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ และมีความเข้าใจบริบทด้านการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ขององค์กร

รวมทั้งมีความสามารถในการออกแบบและติดตั้งเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ทันสมัยเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าของแต่ละองค์กร ขณะที่ไอบีเอ็ม เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก

“ความร่วมมือระหว่างไซเบอร์ อีลีท กับไอบีเอ็มในครั้งนี้เป็นการยกระดับเทคโนโลยี Threat Intelligence จากภายนอกเข้าไปเพื่อเสริมความสามารถในการรับรู้เทรนด์ของภัยคุกคามล่าสุด เพื่อให้ระบบตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น” ดร.ศุภกรกล่าว

จุดเด่นของบริการ CSOC ของไซเบอร์ อีลีท

สำหรับจุดเด่นของบริการ CSOC ของไซเบอร์ อีลีท ที่มีความเชื่อถือได้ด้วย การได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC27001: 2013 (Information Security Management System) และ ISO27701: 2019 (Privacy Information Management System) การเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์แบบ 24 x 7 จัดเก็บ Log ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ

การแจ้งเตือนเมื่อเกิดภัยคุกคาม ให้คำแนะนำอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ลงพื้นที่เพื่อรับมือ ตอบสนอง เพื่อช่วยระงับเหตุการณ์ และแก้ไขภัยคุกคามไซเบอร์ การจัดทำรายงานการแจ้งเตือนจากฐานข้อมูล Threat Intelligence และรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามที่ตรวจพบ

พร้อมระบุคำแนะนำอย่างครบถ้วน การจัดทำเงื่อนไขการตรวจจับและวิธีปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อเหตุผิดปกติให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมขององค์กร การตรวจจับภัยคุกคามเชิงรุกด้วยบริการ Threat Intelligence, Threat Hunting, User and Entity Behavior Analytics และอื่นๆ

นอกจากนี้ ไซเบอร์_อีลีท ได้จัดรูปแบบโซลูชันและจัดทำกระบวนการด้านความมั่นคงปลอดภัยแก่ลูกค้าโดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นหลัก ซึ่งองค์กรแต่ละรายจะได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสมต่อสภาพความเสี่ยงต่อภัยคุกคามของแต่ละองค์กร

ขณะที่ ภาวศุทธิ ศรีวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม ซอฟต์แวร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ในแต่ละวันไอบีเอ็มเฝ้าติดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย 150,000 ล้านเหตุการณ์ ในกว่า 130 ประเทศ โดยเป็นหนึ่งในผู้นำโลกที่มีศักยภาพครอบคลุมที่สุดในแง่การวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีด้านซิเคียวริตี้”

“เมื่อผนวกเทคโนโลยี SOAR, SIEM และ UEBA ของไอบีเอ็ม เข้ากับความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของภัยคุกคามไซเบอร์ในไทยเป็นอย่างดีของไซเบอร์ อีลีท จึงเป็นสองพลังที่ทำให้บริการ CSOC ของ ไซเบอร์ อีลีท ช่วยองค์กรจัดการความเสี่ยงและป้องกันภัยคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด”

คาดหวังบริการ CSOC ช่วยหนุนให้ทำรายได้ 400 ล้าน

“บริการ CSOC ของไซเบอร์_อีลีท ตั้งเป้ารายได้ปีแรกของการให้บริการ CSOC ไว้มูลค่า 150 ล้านบาท และรายได้รวมในทุกบริการของในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมาย 350 ล้านบาท ถึง 400 ล้านบาท จากลูกค้าที่ได้ตามเป้าหมายในกลุ่มภาคการเงิน ภาครัฐ และภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรภายใต้กำกับของหน่วยงานกำกับต่างๆ

“ความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับไอบีเอ็ม ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ในไทย การดูแลลูกค้า ตลอดจนเป็นไปตามเป้าหมายการขยายฐานลูกค้าของไซเบอร์ อีลีทไปในประเทศอาเซียน” ดร.ศุภกร กล่าว สรุป

Cyber Elite debuts the Cyber Security Operations Center to contain and respond to cyber attacks