“CIMB Thai และ KBTG ได้รับรางวัล APAC Innovation Awards ประจำปี 2565 จาก Red Hat สร้างความสำเร็จในการใช้โซลูชันไอที เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
Red Hat, Inc. ประกาศรายชื่อผู้ประกอบการไทยที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Red Hat APAC Innovation Awards) ประจำปี 2565 ได้แก่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (CIMB Thai Bank) และ กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ณ งาน Red Hat Summit: Connect
รางวัลนี้พิจารณาจากการนำโซลูชันของ Red Hat ไปใช้เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และเร่งให้ทีมงานด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รองรับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลง
การจัดงาน Red Hat Summit: Connect ภายใต้ธีม Explore what’s next ในปีนี้ได้ยกย่องความสามารถขององค์กรต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สไปใช้เพื่อปรับตัวได้ทันกับสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจได้อย่างเหมาะสม และมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าได้มากขึ้น
ซึ่งในปีนี้ Red Hat APAC Innovation Awards ให้การยกย่ององค์กรจำนวน 26 แห่งในภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล จากการนำโซลูชันของ Red Hat ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อก้าวล้ำเทรนด์ต่างๆ ในอุตสาหกรรม และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที
ผู้ได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ จะต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกจากการนำโซลูชันของ Red Hat ไปใช้สนับสนุนวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ วัฒนธรรมองค์กร อุตสาหกรรมและชุมชนต่างๆ โดยต้องแสดงให้เห็นว่าเครื่องมือและวัฒนธรรมแบบโอเพ่นซอร์สสามารถเร่งให้กระบวนการทางธุรกิจ และการทำงานรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม และสามารถแก้ไขความท้าทายต่างๆ ในอนาคตได้อย่างไร
รางวัลในปีนี้แบ่งเป็น 5 สาขา ได้แก่ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation), โครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud Infrastructure), การพัฒนาคลาวด์-เนทีฟ (Cloud-native Development), ระบบอัตโนมัติ (Automation) และความยืดหยุ่น (Resilience) สำหรับประเทศไทยมีองค์กรได้รับรางวัลสอง แห่ง คือ CIMB Thai Bank และ KBTG
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) สาขา Digital Transformation และ Hybrid Cloud Infrastructure
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) มีวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าในอาเซียน และมุ่งมั่นสร้างองค์กรให้เป็นธนาคารที่มีสมรรถนะสูงอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างความก้าวล้ำให้ลูกค้าและสังคม ผ่านบริการทางการเงินที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน
ผ่านความแข็งแกร่งของเครือข่ายของธนาคารในอาเซียน และด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด ปัจจุบันธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศไทย
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ทำธุรกรรมผ่านดิจิทัลจำนวนมาก ธนาคารจึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการต่างๆ ในรูปแบบธนาคารดิจิทัล เช่น การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payments) และบริการโอนเงินระหว่างธนาคาร เป็นต้น
ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของธนาคารฯ จำเป็นต้องมีวงจรในการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้น รองรับปริมาณเวิร์กโหลดที่มากขึ้น เพื่อให้สามารถสร้างและปรับขนาดแอปพลิเคชันใหม่ๆ และส่งแอปพลิเคชันเหล่านี้ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ธนาคารฯ จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องนำแพลตฟอร์มใหม่ด้านธนาคารดิจิทัลมาใช้
ซีไอเอ็มบี ไทย ใช้เป็นโซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยให้ธนาคารฯ สามารถทำการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชัน รวมทั้งบริการด้านธนาคารดิจิทัลใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลถึงการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างฟังก์ชั่นทางธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งยังได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่โซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สมีให้อีกด้วย
กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป สาขา Digital Transformation และ Cloud-Native Development
ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2488 เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการธนาคารแบบครบวงจรแก่ผู้บริโภค การพาณิชย์ และองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การให้กู้ยืม บัตรเครดิต สินเชื่อรถยนต์ส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน รถ และสินเชื่อเช่าซื้อ เป็นต้น
ปัจจุบัน KBank เป็นผู้ให้ บริการ K PLUS โมบายแบ้งกิ้งที่มียอดผู้ใช้งานมากกว่า 18.6 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2565 KBank เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์และเงินฝากสูงสุดเป็นอันดับ 4 ในประเทศ มีส่วนแบ่งตลาดด้านสินเชื่อมากสุดเป็นอันดับ3 โดย KBTG หน่วยงานด้านไอทีของ KBank ทำหน้าที่ดูแล Infrastructure และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับธุรกิจของธนาคารทั้งในปัจจุบันและอนาคต
KBTG จำเป็นต้องพัฒนาระบบ Infrastructure ของธนาคารให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อรองรับการให้บริการลูกค้า และนำเสนอผลิตภัณฑ์ดิจิทัลใหม่ๆ ที่หลากหลาย รวมถึงการคงสถานะการเป็นผู้นำทางด้านธนาคารดิจิทัลของไทย KBTG จึงมองหาแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว
และมีประสิทธิภาพการทำงานเท่าทันการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกรรมดิจิทัล ให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันจำนวนมาก ทั้งยังทวีความรวดเร็วในการส่งผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลออกสู่ตลาด
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 KBTG ได้ปรับใช้โซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สที่ช่วยอำนวยความสะดวก ให้การสร้างและออกแอปพลิเคชันใหม่ๆ แบบ On-premise สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการปรับปรุงเทคโนโลยี Infrastructure ที่สำคัญให้ทันสมัยมากขึ้น
เช่น ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม และคอนเทนเนอร์ การนำโซลูชันของ Red Hat มาใช้ ช่วยให้ KBTG สามารถลดเวลาในการจัดเตรียมระบบ และออกแอปพลิเคชันจาก 3 วัน เหลือเพียงวันเดียว ทำให้เราสามารถส่งมอบแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น