Thursday, November 21, 2024
ArticlesCase StudyData ManagementDigital Transformation

กรณีศึกษา: กฟผ. สร้างความมั่นคงด้านพลังงานด้วยการสำรองและกู้คืนข้อมูล

การไฟฟ้าฝ่ายผลิต สร้างความมั่นคงทางพลังงาน ด้วยโซลูชันการสำรองและกู้คืนข้อมูล ให้ประสิทธิภาพการกู้ข้อมูลเร็วขึ้น 12 เท่า ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมเสถียรภาพของการผลิตไฟฟ้า

ารไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดูแลด้านกิจการพลังงาน รับผิดชอบความมั่นคงด้านกิจการพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับประเทศ การปรับตัวโดยเฉพาะเรื่องรูปแบบวิธีการทำงานเพื่อให้ยังคงความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุดการดำเนินงาน

จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีระบบต่างๆ มากขึ้น และต้องมั่นใจว่าระบบและข้อมูลสำคัญจะไม่มีปัญหาทำให้การทำงานต้องสะดุด เพราะหากระบบล่ม ความเสียหายจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภายในองค์กร แต่จะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่กับรัฐวิสาหกิจอื่นที่ต้องทำงานประสานกัน เช่น การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งทำหน้าที่จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนโดยตรง

Veeam

กฟผ. ในยุคดิจิทัล กับความท้าทายเรื่องการสำรองข้อมูล
ปิยพงศ์ วรกี ผู้ช่วยผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ปิยพงศ์ วรกี ผู้ช่วยผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า “โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีการดิสรัปชันเกิดขึ้นทุกวัน ความท้าทายสำหรับเราก็คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริมในระบบการทำงานเพื่อให้ต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าอยู่ในจุดที่ต่ำ และทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์”

“หน่วนงาน กฟผ. มีการปรับตัวก้าวสู่ระบบดิจิทัลในหลายส่วนงาน อาทิ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร (ERP), ระบบการจัดการข้อมูลในองค์กร (ECM) ที่สามารถลดกระดาษลงได้ราว 60-70% รวมถึงระบบการตรวจสอบติดตามไฟฟ้าแบบกริด (EGM) ที่นำมาช่วยในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร”

“เทคโนโลยีเหล่านี้ เข้ามาช่วยให้ กฟผ. สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ต่ำที่สุดที่ยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยแก้ปัญหาวิกฤตพลังงาน ส่งพลังงานผ่านหน่วยงานไปยังประชาชนได้”

“หนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจของกฟผ. คือการดำเนินกิจการผลิตอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ซึ่งในวงจรของการบริหารจัดข้อมูลนั้น นโยบายด้านการสำรองข้อมูล นับเป็นสิ่งสำคัญ และอาจเป็นเพนพอยท์ของหลายๆ องค์กรที่เจอกับปัญหาการสำรองข้อมูล” ปิยพงศ์ กล่าว

โซลูชันการสำรองข้อมูลที่สนับสนุนความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้า

กฟผ. ร่วมกับที่ปรึกษาทำการศึกษาหาผู้ให้บริการสำรองและกู้คืนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง และตอบโจทย์การดำเนินงานในหลายด้าน ในที่สุดจึงตัดสินใจเลือกใช้ Veeam Backup & Replication ซึ่งให้การปกป้องข้อมูลที่ทันสมัยสำหรับใช้ปกป้องระบบสำคัญๆ ขององค์กรเพื่อให้มั่นใจว่าความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าจะยังสามารถเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง

“ด้วยความที่ กฟผ. เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐานระดับประเทศ เรามีหน้าที่โดยตรงในการดูแลความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลที่อาจจะเกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ผิดพลาดไม่ได้ เราจึงมองหาผู้ให้บริการกู้คืนและสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่ง Veeam ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์เรื่องประสิทธิภาพการใช้งานอย่างเดียว แต่ค่าใช้จ่ายก็สมเหตุสมผลด้วย” ปิยพงศ์ กล่าว

และเสริมว่า “ด้วยการเลือกใช้ Veeam Backup & Replication จึงทำให้เรามั่นใจได้ว่าในกรณีที่เกิดปัญหาใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการปฏิบัติงานของ กฟผ. เราสามารถมั่นใจได้ว่าระบบของเราจะสามารถกู้คืนกลับมาได้ในเวลาสั้น มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องในสภาวะฉุกเฉินและข้อมูลที่สำคัญไม่สูญหาย”

เพิ่มประสิทธิภาพการกู้ข้อมูล 12 เท่

ด้วยความที่ Veeam สามารถผสมผสาน ช่วยเหลือ และปกป้องระบบสำคัญต่างๆ ที่ กฟผ.ใช้งานอยู่ และสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีอยู่ในองค์กร ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทันทีจากการใช้โซลูชันของ Veeam คือการดำเนินงานด้านการสำรองและกู้คืนข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และค่าใช้จ่ายลดลง

“หลังจากที่ กฟผ.ได้ลงทุนในโซลูชันสำรองและกู้คืนข้อมูล ให้ผลลัพธ์ในการกู้คืนข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ ใช้เวลาในการกู้คืนข้อมูลลดลงจากมากกกว่า 1 ชั่วโมง เหลือประมาณ 5 นาที หรือสามารถสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกู้ข้อมูล 12 เท่า”

“ตรงนี้ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ตอบโจทย์การทำงานเชิงรุก การมอนิเตอร์ การงางแผนสตอเรจแก้ปัญหาแพลตฟอร์มหลากหลายสำหรับโซลูชันสำรองและกู้คืนข้อมูล ที่สามารถรองรับโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้ง พับบลิก ไพรเวท หรือไฮบริดบริด นอกจากนั้นยังส่งผลถึงความง่ายในการบริหารจัดการสำหรับทีมงานไอที ยูสเซอร์เฟรนลี่”

นอกจากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบสนองการทำงานได้รวดเร็วมาใช้งานแล้ว กฟผ. ยังมุ่งมั่นปรับเปลี่ยน (Transform) กระบวนการทำงาน บุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานขององค์การให้เป็นดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปี 2564 กฟผ. ได้รับรางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล

“โซลูชันการสำรองข้อมูล เป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญสำหรับกฟผ.ในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยดาต้า ส่งผลดีต่อองค์กรในหลายๆ แง่มุม ทั้ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การบริหารจัดการง่าย เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรไอทีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

“ทำให้กฟผ.มั่นใจในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะด้านข้อมูล เหนือสิ่งอื่นใดคือ การช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสะดุดในระหว่างปฏิบัติงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน” ปิยพงศ์ กล่าวสรุป