ความสัมพันธ์ของคนและเทคโนโลยีในองค์กร กับอุปสรรค Digital Transformation
“เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยงานวิจัย ทัศนคติ ความต้องการของคนในองค์กร ที่มีผลต่อการปฏิรูปสู่ดิจิทัล พร้อมเสนอข้อพิจารณา 3 แนวทางเรื่องคนในองค์กร เพื่อฟันฝ่าอุปสรรค Digital Transformation
เดลล์ เทคโนโลยีส์ เปิดเผยงานวิจัย Breakthrough: Breaking through barriers to digital transformation at the intersection of people and technology ที่ทำการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจระดับสูง และผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลจากกว่า 40 ประเทศ ในประเด็นเรื่อง ความสัมพันธ์ของคนและเทคโนโลยี กับอุปสรรคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
รายงานสะท้อนถึงทัศนคติ ความต้องการของคนในองค์กร ที่มีผลต่อการปฏิรูปสู่ดิจิทัล รวมถึงรายงานได้ให้แนวทางสำหรับองค์กรที่ต้องดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า คนทำงานจะได้รับการสนับสนุน และมีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานการปฏิรูปดิจิทัล
ภาพรวมของ คนและเทคโนโลยี กับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
ในสถานการของปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัลตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รายงาน งานวิจัย Breakthrough พบว่า ผู้นำองค์กรธุรกิจในประเทศไทย 86% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 90%; ทั่วโลก: 85%) มองว่า บุคลากร คือ สินทรัพย์สำคัญที่สุด
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร ในประเทศไทย 66.5% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 67%; ทั่วโลก: 67%) เชื่อว่า องค์กรของตนมีการประเมินความต้องการด้านบุคลากรต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อมีการวางแผนโครงการต่าง ๆ ด้านการเปลี่ยนแปลง
ขณะที่ความเห็นของ ระดับพนักงาน ในประเทศไทย 74% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 77%; ทั่วโลก: 72%) กล่าวว่า องค์กรต้องมอบระบบโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อให้ทำงานได้อย่างยืดหยุ่น ในแนวทางที่เหมาะสำหรับทุกคน
ราวครึ่งหนึ่งของ ผู้บริหารด้านไอที ในประเทศไทย หรือ 58% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 45%; ทั่วโลก: 50%) กล่าวว่า องค์กรของตนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างในการปฏิรูปคนทำงานสู่ระบบดิจิทัล
แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พนักงานหลายคนกำลังเจอปัญหาท้าทายในการก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ มากกว่า 2 ใน 3 เชื่อว่า องค์กรของตนประเมินต่ำเกินไปในเรื่องการทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมในการวางแผนโปรแกรมการปฏิรูป
ผลสำรวจเน้นให้เห็นว่า ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้บรรดาองค์กรธุรกิจและคนทำงานต้องการเวลาในการปรับตัว เตรียมใจ ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามโครงการใหม่หรือโครงการที่หยิบมาทำซ้ำ แม้ว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นถึงความมุ่งมั่นพยายามและความก้าวหน้าอย่างมากก็ตาม
ขณะที่ผลวิจัย พบว่า ยังคงมีแนวโน้มว่าการปฏิรูปจะเกิดการสะดุด โดยผู้ตอบในประเทศไทย 69% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 72%; ทั่วโลก: 64%) เชื่อว่า การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากคนในองค์กรอาจทำให้การปฏิรูปไม่ประสบผลสำเร็จ
กว่าครึ่งของผู้ตอบในประเทศไทยจำนวน 54% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 62%; ทั่วโลก: 53%) กลัวว่า ตัวเองจะถูกปิดกั้นจากความก้าวหน้าของโลกดิจิทัล เนื่องจากขาดผู้ที่มีอำนาจ/มีวิสัยทัศน์ที่เหมาะสมจะนำโอกาสมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเรื่องนี้ก็ทำให้โมเดล As-a-Service กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายธุรกิจ
จัดกลุ่มคน ประเมินความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
งานวิจัย Breakthrough อธิบายว่า เพื่อให้มั่นใจว่าคนทำงานจะได้รับการสนับสนุนและมีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานในขั้นตอนถัดไป จำเป็นต้อง ประเมินความพร้อมการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของพนักงาน เสียก่อน
เดลล์และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านพฤติกรรมอธิบายว่า การยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลจะประกอบไปด้วยกลุ่มคน 4 กลุ่ม คือ Sprint หรือกลุ่มที่ก้าวไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูงสุด คือผู้ที่จะไล่ตามนวัตกรรมและเป็นผู้บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว
กลุ่ม Steady หรือกลุ่มที่มีความสม่ำเสมอหนักแน่น จะปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีตามที่ผู้อื่นเลือกให้ ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดสำหรับองค์กรในไทย คือราว 49%
กลุ่ม Slow คือกลุ่มที่เอนเอียงไปทางลังเลและสังเกตทีท่า/ไตร่ตรอง และกลุ่ม Still หรือกลุ่มที่ค่อนข้างหยุดนิ่งกับที่ มีแนวโน้มที่จะคาดการณ์ถึงปัญหาล่วงหน้าและต่อต้านนวัตกรรมเทคโนโลยีที่นำเสนอจากที่รับรู้ถึงความเสี่ยง
ข้อพิจารณา 3 แนวทางเรื่องคนในองค์กร เพื่อฟันฝ่าอุปสรรค Digital Transformation
หลังจากที่องค์กรรู้ถึงกลุ่มการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว การวิจัยของเดลล์ ระบุว่า การปฏิรูปสู่ดิจิทัลที่ให้ความยั่งยืนเกิดขึ้น จากการมาบรรจบกันระหว่างคนและเทคโนโลยี การจะบรรลุความก้าวหน้าครั้งสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ ควรพิจารณาแนวทางใน 3 แง่มุมด้วยกัน
ประการแรก คือ มอบประสบการณ์การทำงานที่ต่อเนื่องและปลอดภัยให้กับพนักงาน ไม่ได้กำหนดว่าทำงานจากที่ไหน
ประการที่สอง ช่วยขับเคลื่อนผลลัพธ์ของงานด้วยการนำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเพื่อช่วยให้พนักงานมุ่งเน้นกับงานที่ทำได้ดีที่สุด
ประการสุดท้าย คือการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่เข้าอกเข้าใจรวมถึงความเป็นผู้นำที่แท้จริง
1. สร้างประสบการณ์การทำงานที่ต่อเนื่องและปลอดภัย
ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องของการเชื่อมต่อ การประสานความร่วมมือและการทำธุรกิจออนไลน์ในช่วงของการแพร่ระบาด แต่นับว่ายังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์
ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง บอกว่าอยากให้องค์กรของตนมอบระบบโครงสร้างและเครื่องมือที่จำเป็นที่ช่วยให้ทำงานได้จากทุกที่ (พร้อมให้อิสระในการเลือกรูปแบบการทำงานได้ตามต้องการ)
ในความเป็นจริง คนเหล่านี้ต่างกังวลว่าพนักงานของตนจะถูกทิ้งอยู่ข้างหลังเนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในเวลาที่เปลี่ยนไปใช้รูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ (ซึ่งการทำงานและการประมวลผลไม่ได้ผูกกับส่วนกลาง แต่เกิดขึ้นได้ทุกที่)
ลำพังแค่เทคโนโลยีอย่างเดียวนับว่าไม่พอ องค์กรธุรกิจต้องทำให้งานเป็นเรื่องที่เสมอภาคสำหรับคนที่มีความต้องการต่างกัน มีความสนใจและความรับผิดชอบต่างกัน
อาทิ ความชัดเจนต่อเนื่องเพื่อให้จัดการงานได้อย่างยืดหยุ่นและมีแนวทางปฏิบัติที่ทำได้จริง, เตรียมความพร้อมให้กับผู้นำในการบริหารจัดการทีมงานจากระยะไกลได้อย่างทัดเทียมและมีประสิทธิภาพ และ ให้อำนาจแก่พนักงานในการเลือกรูปแบบการทำงานได้ตามต้องการ
2. สร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
ในการสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ องค์กรสามารถนำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคน โดยสามารถมอบหมายงานที่ต้องทำซ้ำให้เป็นเรื่องของกระบวนการดำเนินงานแบบอัตโนมัติ และทำให้บุคลากรมีเวลาเพื่อมุ่งเน้นการทำงานที่สร้างคุณค่าได้มากขึ้น
ข้อมูลพบว่า พนักงานในประเทศไทย 73% มุ่งหวังว่าจะเรียนรู้เทคโนโลยีและทักษะใหม่ เช่นทักษะด้านความเป็นผู้นำ หลักสูตรด้านแมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือมุ่งเน้นที่โอกาสในเชิงกลยุทธ์มากขึ้นเพื่อต่อยอดหน้าที่การงาน
3. สร้างการเข้าอกเข้าใจระหว่างกันและกัน
หัวใจสำคัญ คือองค์กรธุรกิจต้องสร้างวัฒนธรรมที่มีแบบอย่างมาจากผู้นำที่มีความเข้าอกเข้าใจและดูแลพนักงานเสมือนเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญที่สุดที่ให้ความคิดสร้างสรรค์และคุณค่าแก่องค์กร
งานวิจัยชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่ามีงานที่ต้องทำและใช้ความเข้าอกเข้าใจในการตัดสินใจ จากการลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีลงเกือบครึ่งหนึ่งของคน
ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวสนับสนุนว่า “องค์กรส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ตระหนักดีถึงความจำเป็นในการปฏิรูปทางดิจิทัล
แต่พวกเขาพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก และบุคลากรที่อยู่ในองค์กรก็ไม่ได้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอไป ความขัดแย้งระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์นี้ประกอบกันขึ้นมาเพียงจากการแพร่ระบาดของโรค”
“ทำให้สุดท้ายแล้วเราต้องเข้าสู่การทำให้ธุรกิจความสามารถตอบสนองต่อวิกฤติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นก็ทำให้หลายๆ คนอ่อนแรงไปไม่ใช่น้อย วันนี้ องค์กรธุรกิจที่ปรารถนาความสำเร็จอย่างยั่งยืนต้องถามตัวเองว่าพวกเขาจะสามารถช่วยพนักงานของตนนำทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นต่อไปได้อย่างไร”
Featured Image: Image by Lifestylememory on Freepik