Thursday, April 24, 2025
AIArticlesFinTechGenerative AI

ธุรกิจใน APAC กังวลใจการใช้ GenAI ฉ้อโกงการตรวจสอบอัตลักษณ์และการเงิน

GenAI Fruad

ธุรกิจใน APAC กำลังเผชิญปัญหาการฉ้อโกงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รายงานพบองค์กรมีความน่ากังวัลเรื่องวิวัฒนาการของ GenAI Fruad การฉ้อโกงที่เกี่ยวกับการตรวจสอบอัตลักษณ์และการเงิน โดยเฉพาะการปลอมแปลงอัตลักษณ์ทางดิจิทัล การสวมรอยบัญชี การล่อลวงด้วยโบนัสหรือโปรโมชั่นต่างๆ และการฟอกเงินและบัญชีม้า

.

ลการศึกษา รายงานการฉ้อโกงทั่วโลกประจำปี 2567 ฉบับใหม่ของ จาก GBG ผู้เชี่ยวชาญด้านอัตลักษณ์และตำแหน่งที่ตั้งทั่วโลก ซึ่งทำการสำรวจธุรกิจธนาคาร อีคอมเมิร์ซ บริการทางการเงิน ฟินเทค เกม ประกันภัย สินเชื่อ และโทรคมนาคม ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ พบว่า ธุรกิจในภูมิภาค APAC เกือบทั้งหมดมีความกังวลเกี่ยวกับการฉ้อโกงที่เป็นระบบและแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น 

ภาพรวมการฉ้อโกงในภูมิภาค APAC

ท่ามกลางการฉ้อโกงที่มีความซับซ้อนและเป็นระบบมากขึ้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันการฉ้อโกง 70% ต่างพบการค่อยๆ เพิ่มขึ้นของความพยายามในการฉ้อโกงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สูงกว่าที่พบในภูมิภาค EMEA (55%) และในสหรัฐอเมริกา (48%) 

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบสองในสาม (63%) ยังมองว่า การฉ้อโกงแบบฉวยโอกาสและสามารถทำได้ง่ายเป็นภัยคุกคามที่พบได้บ่อย

ในแง่ของความเสี่ยงด้านการเงิน ผู้ตอบแบบสอบถาม 11% เผยว่ามูลค่าธุรกรรมโดยเฉลี่ยของความพยายามในการฉ้อโกงสำหรับองค์กรของตนอยู่ที่ระหว่าง 35,000 ถึง 50,000 ดอลลาร์

การฉ้อโกงรูปแบบใดที่น่ากังวลที่สุด

เจ้าหน้าที่ในภูมิภาคนี้มองว่า วิวัฒนาการของ GenAI ในการฉ้อโกงที่เกี่ยวกับการตรวจสอบอัตลักษณ์และการเงินจะมีความน่ากังวัลในช่วง 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า (GenAI Fruad) โดย 35% ของเจ้าหน้าที่ในภูมิภาค APAC เชื่อว่ามีความน่ากังวลสูงสุด ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ 27% ในภูมิภาค EMEA และสหรัฐอเมริกาที่มองในแบบเดียวกัน

ทั้งนี้ ความกังวลที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดจากเหตุผลหลายประการ 27% มอง_GenAI เป็นเครื่องมือในการสร้างอัตลักษณ์ปลอมที่สามารถจูงใจให้เชื่อได้มากขึ้น, 26% เชื่อว่า GenAI จะเพิ่มความถูกต้องแม่นยำให้กับเอกสารที่มีการปลอมแปลงอัตลักษณ์และสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้นเมื่อทำการฉ้อโกงแบบฟิชชิ่งและการฉ้อโกงแบบฟิชชิ่งทางข้อความ SMS (smishing)

ธุรกิจมีการเตรียมความพร้อมที่จะสกัดกั้นการฉ้อโกงอย่างดีพอหรือไม่

แม้จะมีการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI ที่ช่วยให้ผู้ที่ทำการฉ้อโกงสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่ใช้ในการฉ้อโกงได้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันการฉ้อโกงเกือบหนึ่งในห้า (19%) ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการต่อสู้กับเครือข่ายอาชญากรรมที่มีความทันสมัยที่ใช้ทั้งการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ การฉ้อโกง การโจรกรรมอัตลักษณ์ และการฟอกเงินเพื่อทำการฉ้อโกงจากต้นทางถึงปลายทาง

สิ่งนี้ถูกซ้ำเติมด้วยการไม่สามารถระบบสัญญาณความเสี่ยงได้ตั้งแต่ในช่วงต้นของธุรกิจ โดย 28% มองว่าความเข้าใจที่มีต่อแนวโน้มการฉ้อโกงใหม่ๆ เป็นความท้าทายสูงสุด 

และ 27% ชี้ว่า การระบุและยับยั้งการฉ้อโกงในกระบวนการดูแลลูกค้า (onboarding) เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องดำเนินการในเรื่องที่จำเป็นเพื่อยับยั้งการฉ้อโกงและทำให้กระบวนการดูแลลูกค้ามีความราบรื่นไปพร้อมๆ กัน

ความคาดหวังและความเป็นจริงเกี่ยวกับความร่วมมือแบบข้ามองค์กร

เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันการฉ้อโกงส่วนใหญ่มองว่า การแบ่งปันข้อมูลอัตลักษณ์และการร่วมมือกันแบบข้ามองค์กร คือตัวที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างอย่างมีกลยุทธ์ให้กับการเอาชนะการฉ้อโกง 

โดยมีนิวซีแลนด์ (97%) และฟิลิปปินส์ (88%) ที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้เป็นลำดับต้นๆ ซึ่งความเป็นจริง ผู้ตอบแบบสอบถาม 81% ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมด้านข้อมูลทางอัตลักษณ์ ซึ่งมีการเชื่อมต่อธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั่วโลกและแบ่งปันข้อมูลลูกค้าระหว่างธุรกิจ ภาคส่วน และประเทศกันอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความต้องการอย่างมาก กลับมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนไม่ถึงครึ่งที่ลงมือต่อสู้กับการฉ้อโกงร่วมกันอย่างจริงจังด้วยการเข้าร่วมในการประชุมและการแลกเปลี่ยนความรู้ของอุตสาหกรรม (47%) การลงทุนในโซลูชันทางเทคโนโลยีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความปลอดภัย (46%) และร่วมมือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเพื่อแบ่งปันข้อมูล (46%)

ปัจจุบัน 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า องค์กรมีความกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันในการเข้าไปมีส่วนในความร่วมมือในการต่อสู้กับการฉ้อโกง ยิ่งไปกว่านั้น เกือบ 4 ใน 5 (79%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า รัฐบาลทั่วโลกยังไม่มีการสนับสนุนที่มากพอเพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบข้ามองค์กร

ผู้ที่กำลังต่อสู้กับการฉ้อโกงต่างเผชิญกับภาวะหมดไฟ

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด (100%) ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาต้องอดนอนเพราะองค์กรมีความเสี่ยงที่จะเกิดการฉ้อโกง โดยที่ปัญหาการตรวจสอบอัตลักษณ์ (46%) และการขาดทรัพยากร (44%) เป็นสองปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ทำให้พวกเขาต้องคอยทำงานดึกๆ ดื่น

ภาระอันหนักหน่วงนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันการฉ้อโกง โดยเกือบสามในสี่ (70%) ของเจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงเสียเอง

อ่านรายงานฉบับเต็ม: GBG Global Fraud Report

Featured Image: Image by vecstock on Freepik