Sunday, November 24, 2024
CybersecurityeGovernmentNEWS

ชัยวุฒิ ชู ระบบ Cyber Security การเงินไทยดีที่สุด

“ชัยวุฒิ” รมว.ดีอีเอส เผย Cyber Security การเงิน ไทยยอดเยี่ยม แนวโน้มการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล ดันปัญหาความปลอดภัยไซเบอร์เป็นภัยใกล้ตัว ย้ำนายกรัฐมนตรีใส่ใจ ความปลอดภัย ไซเบอร์ กับประชาชน หนุนเสริมขีดความสามารถรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ วอนทุกภาคส่วนตระหนักและสร้างความเข้าใจ ร่วมขับเคลื่อนการทำงาน

ชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในการเปิดงานสัมมนา “ไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ 2022” วันนี้ (30 มี.ค.65) ว่า ปัจจุบันความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสําคัญ ใกล้ตัว

และเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจําวัน และจะทวีความสําคัญยิ่งขึ้นตามแนวทางของโลก ที่กําลังปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลในหลากหลายมิติ ยิ่งมีการใช้งานหรือทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับดิจิทัลมากขึ้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์

ทั้งนี้ หลายประเทศตระหนักถึงภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ และได้กำหนดมาตรการในการป้องกัน ยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงาน ตลอดจนการเร่งรัดพัฒนา บุคลากรทางไซเบอร์ เพื่อให้สามารถรองรับกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา

ในส่วนของประเทศไทย มีการกฎหมายคือ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ซึ่งกําหนดให้มีการจัดตั้ง สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ขึ้นมา

เพื่อดําเนินการในการกําหนดนโยบาย จัดทําแผนปฏิบัติการ ทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ ตลอดจนการประสานงาน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นชื่นชมที่ผ่านประเทศไทยก็มีระบบการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ดีมาก

โดยเฉพาะระบบการเงินการธนาคารยังไม่มีการถูกแฮก ถึงแม้อาจมีการถูกโจมตีก็สามารถป้องกันได้  สามารถรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบการเงินการธนาคารได้ดี

รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆเรื่องไฟฟ้าหรือประปาหรือการขนส่งมวลชนต่างๆที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เราก็ระบบป้องกันที่ดีซึ่งรัฐบาล ท่านพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสำคัญ เป็นห่วงภัย ดังกล่าวใกล้ตัวประชาชน จึงได้ออกกฎหมายเพื่อตั้งหน่วยงานมากำกับดูแลเรื่องนี้ เรียกว่า สำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

ซึ่งตอนนี้ก็มีการออกมาตรฐานกำกับดูแลสิ่งต่างเหล่านี้ให้เป็นรูปธรรม มีความชัดเจนและก็ให้มีการพัฒนาระบบการมั่นปลอดภัยไซเบอร์ให้ทันสมัยต่อไป

ขณะที่ สกมช. ยังมีหน้าที่เร่งรัดการพัฒนาบุคลากร การยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศหน่วยงานถาครัฐ และหน่วยงานอื่นๆ ให้มีความพร้อมในการรับมือ ตอบโต้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ อย่างมีประสิทธิภาพ

“ส่วนตัวผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ในฐานะเป็นประธานกรรมการกํากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) และประธานกรรมการบริหาร สํานักงานณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กบส.) และเป็นกรรมการใน สกมช. จะร่วมมือกันทําหน้าที่กําหนดนโยบาย มาตรการ แนวทางการรักษาความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

สําหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ (CII) ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบ และสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน และประเทศชาติ เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ” ชัยวุฒิกล่าว

รมว.ดีอีเอส กล่าวเพิ่มเติมว่า การทําหน้าที่ของดีอีเอส และ สกมช. จําเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และการจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จําเป็นต้องสร้างความเข้าใจถึงภาระหน้าที่และความจําเป็น ที่ต้องมีหน่วยงานรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ อันจะเป็นการส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับให้กับสังคม และประชาชนในวงกว้าง