Sunday, November 24, 2024
5GNEWS

หัวเว่ยสานต่อการพัฒนาบุคลากรไอซีที ผ่านโครงการ Seeds for the Future

หัวเว่ยสานต่อการพัฒนาบุคลากรไอซีที เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้นิสิตนักศึกษาผ่านโครงการ “Seeds for the Future” โครงการฝึกอบรมด้านไอซีทีระดับโลกของหัวเว่ยประจำปีนี้ได้รับเสียงตอรับเป็นอย่างดี เร่งเตรียมความพร้อมให้นิสิตนักศึกษาเข้าสู่โลกการทำงานในอีโคซิสเต็มดิจิทัล

ริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดโครงการประจำปี “Seeds for the Future 2021” ขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ฝึกฝนทักษะด้านไอซีที และให้นิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถได้ค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตนผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมภาคปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโดยพิธีปิดงานและพิธีมอบประกาศนียบัตรได้รับเกียรติจาก อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นประธานในพิธีฯ

ในปีนี้ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 15 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการ โดยตลอดหลักสูตรได้มีนักศึกษาจากประเทศอุซเบกิสถาน และเบลารุส เข้าร่วมในชั้นเรียนออนไลน์พร้อมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมระหว่าง 3 ประเทศ

อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

คอร์สฝึกอบรมแบบเร่งรัดในระยะเวลา 8 วัน ประกอบด้วยหลักสูตรไอซีทีที่ถ่ายทอดสดมาจากสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ยในเซินเจิ้น ประเทศจีนรวมถึงคลาสแบบออฟไลน์ที่จัดขึ้นที่สำนักงานของหัวเว่ย ประเทศไทยเช่นการเยี่ยมชมศูนย์

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดโครงการประจำปี “Seeds for the Future 2021” ขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ฝึกฝนทักษะด้านไอซีที และให้นิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถได้ค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตนผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมภาคปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโดยพิธีปิดงานและพิธีมอบประกาศนียบัตรได้รับเกียรติจาก อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นประธานในพิธีฯ

ในปีนี้ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 15 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการ โดยตลอดหลักสูตรได้มีนักศึกษาจากประเทศอุซเบกิสถาน และเบลารุส เข้าร่วมในชั้นเรียนออนไลน์พร้อมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมระหว่าง 3ประเทศ

คอร์สฝึกอบรมแบบเร่งรัดในระยะเวลา 8 วัน ประกอบด้วยหลักสูตรไอซีทีที่ถ่ายทอดสดมาจากสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ยในเซินเจิ้น ประเทศจีนรวมถึงคลาสแบบออฟไลน์ที่จัดขึ้นที่สำนักงานของหัวเว่ย ประเทศไทยเช่นการเยี่ยมชมศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) การจัดเวิร์กช็อปเขียนพู่กันจีนและศึกษาตัวอักษรภาษาจีน ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมจีนมากขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศของเพื่อนต่างชาติร่วมชั้นเรียน

การอบรมและเนื้อหาในหลักสูตรโครงการนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ย โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการทำงานทั้งในและต่างประเทศนอกเหนือจากหลักสูตรออนไลน์ในหัวข้อ 5G, IoT, AI และคลาวด์ คอมพิวติ้ง นิสิตนักศึกษาผู้เข้าร่วมยังได้มีโอกาสร่วมกันระดมความคิดสร้างสรรค์และทำโปรเจ็กต์กลุ่ม“TECH4Good” ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศนอกจากนี้นิสิตนักศึกษาที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากหัวเว่ยเพื่อเป็นหลักฐานการสำเร็จหลักสูตร

“หลักสูตรนี้ทำให้เราเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมและทิศทางของวงการไอซีทีในอนาคต เนื้อหาที่เราได้เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและทักษะต่าง ๆ นั้นจัดทำขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจริงที่ตั้งใจถ่ายทอดความรู้เชิงลึกที่หาไม่ได้ที่ไหน รวมไปถึงเวิร์คช้อปการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การไปเยี่ยมชมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และโครงการ TECH4Good ที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้เพื่อยกระดับคุณภาพของสังคมในด้านต่าง ๆช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตการทำงานจริงดิฉันมั่นใจว่าความรู้และทักษะที่ได้จากโครงการนี้จะช่วยยกระดับศักยภาพในการทำงานและเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พวกเราต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่จัดกิจกรรมดี ๆ แบบโครงการ Seeds for the Future นี้ขึ้นมา” พัชรินทร์ บุญสมเชื้อ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Seeds for The Future กล่าว

ระหว่างพิธีมอบประกาศนียบัตร อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโลกยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีว่า“หนึ่งในภารกิจหลักของกระทรวงฯ คือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน

และด้วยการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน เราจึงได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลคุณภาพสูงและส่งเสริมการพัฒนาอีโคซิสเต็มดิจิทัลที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน” พร้อมเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม รากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในปัจจุบัน แท้จริงแล้วคือการพัฒนาบุคลากรไอซีทีกระทรวงฯ เชื่อว่าการศึกษาเชิงปฏิบัตินั้นสร้างประโยชน์มากมายแก่ผู้เรียนเมื่อพวกเขาเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานเราจึงพร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพบุคคลอย่าง “Seeds for the Future” ของหัวเว่ยอย่างเต็มที่ตลอดมา

ดิฉันขอขอบคุณหัวเว่ยที่ได้ร่วมทุ่มเท เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร จนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความสามารถและการมีส่วนร่วมของหัวเว่ยในการช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 อย่างเต็มความสามารถตลอดมา” อัจฉรินทร์กล่าวสรุป

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย

“หัวเว่ยมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีภายใต้พันธกิจ ‘Grow in Thailand, Contribute to Thailand’ เรายังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคนี้ โครงการ Seeds for the Future ซึ่งริเริ่มขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 เราได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมไอซีทีให้แก่คนรุ่นใหม่มาโดยตลอด

และด้วยประสบการณ์ระดับโลกในด้านไอซีทีกว่าหลายสิบปี เราจะร่วมเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรดิจิทัล ให้ความรู้ในห้องเรียนสอดคล้องกับทักษะสำหรับการทำงานในชีวิตจริง เราพร้อมจับมือกับภาครัฐและพันธมิตร เพื่อยกระดับแรงงานดิจิทัลที่จะเข้ามาพลิกโฉมประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน”อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างพิธีปิดงาน

Ecosystem Innovation Center (5G EIC) การจัดเวิร์กช็อปเขียนพู่กันจีนและศึกษาตัวอักษรภาษาจีน ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมจีนมากขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศของเพื่อนต่างชาติร่วมชั้นเรียน

การอบรมและเนื้อหาในหลักสูตรโครงการนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ย โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการทำงานทั้งในและต่างประเทศนอกเหนือจากหลักสูตรออนไลน์ในหัวข้อ 5G, IoT, AI และคลาวด์ คอมพิวติ้ง นิสิตนักศึกษาผู้เข้าร่วมยังได้มีโอกาสร่วมกันระดมความคิดสร้างสรรค์และทำโปรเจ็กต์กลุ่ม“TECH4Good” ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศนอกจากนี้นิสิตนักศึกษาที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากหัวเว่ยเพื่อเป็นหลักฐานการสำเร็จหลักสูตร

“หลักสูตรนี้ทำให้เราเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมและทิศทางของวงการไอซีทีในอนาคต เนื้อหาที่เราได้เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและทักษะต่าง ๆ นั้นจัดทำขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจริงที่ตั้งใจถ่ายทอดความรู้เชิงลึกที่หาไม่ได้ที่ไหน รวมไปถึงเวิร์คช้อปการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การไปเยี่ยมชมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)และโครงการ TECH4Good ที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้เพื่อยกระดับคุณภาพของสังคมในด้านต่าง ๆช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตการทำงานจริง

ดิฉันมั่นใจว่าความรู้และทักษะที่ได้จากโครงการนี้จะช่วยยกระดับศักยภาพในการทำงานและเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พวกเราต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่จัดกิจกรรมดี ๆ แบบโครงการ Seeds for the Future นี้ขึ้นมา” พัชรินทร์ บุญสมเชื้อ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Seeds for The Future กล่าว

ระหว่างพิธีมอบประกาศนียบัตร อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโลกยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีว่า“หนึ่งในภารกิจหลักของกระทรวงฯ คือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน

และด้วยการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน เราจึงได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลคุณภาพสูงและส่งเสริมการพัฒนาอีโคซิสเต็มดิจิทัลที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน” พร้อมเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม รากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในปัจจุบัน แท้จริงแล้วคือการพัฒนาบุคลากรไอซีทีกระทรวงฯ เชื่อว่าการศึกษาเชิงปฏิบัตินั้นสร้างประโยชน์มากมายแก่ผู้เรียนเมื่อพวกเขาเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานเราจึงพร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพบุคคลอย่าง “Seeds for the Future” ของหัวเว่ยอย่างเต็มที่ตลอดมา

ดิฉันขอขอบคุณหัวเว่ยที่ได้ร่วมทุ่มเท เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร จนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความสามารถและการมีส่วนร่วมของหัวเว่ยในการช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 อย่างเต็มความสามารถตลอดมา” อัจฉรินทร์กล่าวสรุป

“หัวเว่ยมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีภายใต้พันธกิจ ‘Grow in Thailand, Contribute to Thailand’ เรายังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคนี้ โครงการ Seeds for the Future ซึ่งริเริ่มขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 เราได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมไอซีทีให้แก่คนรุ่นใหม่มาโดยตลอด

และด้วยประสบการณ์ระดับโลกในด้านไอซีทีกว่าหลายสิบปี เราจะร่วมเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรดิจิทัล ให้ความรู้ในห้องเรียนสอดคล้องกับทักษะสำหรับการทำงานในชีวิตจริง เราพร้อมจับมือกับภาครัฐและพันธมิตร เพื่อยกระดับแรงงานดิจิทัลที่จะเข้ามาพลิกโฉมประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน”อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างพิธีปิดงาน