Saturday, September 28, 2024
AIIoTLogTechNEWS

โลจิสติกส์ยุค AI กับสมดุลของเทคโนโลยี ต้นทุน และประสิทธิภาพบริการ

เวลาร์

เปิดมุมมองเทรนด์โลจิสติกส์ยุค AI ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย ด้วยเทคโนโลยีช่วยจัดการ Supply Chain และ Fleet Management

ก็บแง่มุมที่น่าสนใจ ของธุรกิจโลจิสติกส์ในยุคการใช้งานและเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ผ่านมุมมองของ พันชนะ ตันติพิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท_เวลาร์ คอร์ปอเรชั่น (WAYLAR) จำกัด ที่เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการจัดการยานพาหนะ ซึ่งจัดขึ้นโดย HERE Technologies ภายในงาน HERE Directions Bangkok 2024 ที่สามารถสะท้อนได้ถึงแนวโน้มของอีโคซีสเต็มส์สำหรับธุรกิจโลจิสติก และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

สมดุลชองการบริหารต้นทุนและประสิทธิภาพบริการ
พันชนะ ตันติพิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวลาร์ คอร์ปอเรชั่น (WAYLAR) จำกัด

พันชนะ กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้ธุรกิจทางด้านโลจิสติกส์ ในภูมิภาคเอเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ การนำเทคโนโลยีมาช่วยในด้านการจัดการทางด้านการขนส่งจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ”

“ทั้งนี้เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานแล้ว ยังจะสามารถช่วยควบคุมการทำงานรวมไปถึงการประมวลผล ที่จะช่วยในการลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการทำงานได้อีกด้วย”

“อย่างเช่นที่ เวลาร์ เราได้นำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และงบประมาณ ด้วยการนำเทคโนโลยี IoT มาช่วยในการเก็บข้อมูลและแสดงผลได้แบบเรียลไทม์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการดำเนินงานในธุรกิจของเวลาร์”

“เช่น การปรับตารางเวลา เส้นทาง การจัดส่งสินค้า เพื่อลดความล่าช้าที่เกิดจากการจราจร ระบบติดตามสถานะการจัดส่ง การจัดสรรงานและบุคคลผ่านแอปพลิชัน”

“โดยเทคโนโลยีที่ได้แก่ Waylar Connect, Waylar Work และ Waylar Booking ซึ่งทั้งสามเป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาและออกแบบขึ้นโดยทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของเราเอง และ เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ให้บริการขนส่งหลายรายที่ไว้วางใจใช้บริการและมีเสียงตอบรับที่ดี”

AI เข้าเปลี่ยนอนาคตธุรกิจโลจิสติกส์

“ในอีก 5-10 ปีข้างหน้าข้างหน้า การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการยานพาหนะ จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เราคาดว่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยี AI และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยในการนำข้อมูลมาตัดสินใจเพื่อการได้อย่างเหมาะสมได้อย่างแม่นยำ”

“เช่น อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) รวมถึงการติดตาม GPS และเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่ให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และการเก็บข้อมูลที่สามารถสืบย้อนหลังได้ ในส่วนของการจัดการคลังคาดการว่าจะมีการนำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์”

“เช่น ระบบหยิบจับด้วยหุ่นยนต์ และยานพาหนะอัตโนมัติสำหรับการขนส่งมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ โดยเทคโนโลยีช่วยจัดการอย่าง Supply Chain และ Fleet Management จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้ให้บริการขนส่งบรรลุสู่เป้าหมาย

“ที่สำคัญคือ นวัตกรรมที่จะเข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมจะมาพร้อมกับการเน้นย้ำแนวคิดเพื่อความยั่งยืนและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการผลักดันทั้งในเรื่องกฎหมาย สิทธิพิเศษต่างๆ ที่ผู้ประกอบการจะได้รับหากมีนโยบายขององค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน”