Saturday, November 23, 2024
NEWS

ซีเอ็นเอช ประเทศไทย ขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยด้วยนวัตกรรมและการศึกษา

งาน CNH Thailand Media Day ครั้งแรกของซีเอ็นเอช ประเทศไทยที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำความคิดในภาคการเกษตร พูดคุยเกี่ยวกับอนาคตประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางเกษตรกรรม

ซีเอ็นเอช บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านอุปกรณ์และบริการทางการเกษตรและก่อสร้าง ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมและโครงการด้านการศึกษาหลายโครงการ เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตรและความยั่งยืนของภาคการเกษตรในประเทศไทย ในงาน CNH Thailand Media Day ซึ่งถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ชุน วอยเทร่า ประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของซีเอ็นเอช

ซีเอ็นเอช ให้การสนับสนุนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นครสวรรค์ ในการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกและสิ่งอำนวยความสะดวกขนาด 45 เฮกตาร์ (280 ไร่) ให้เป็นฟาร์มต้นแบบ เพื่อยกระดับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ การวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีในชุมชนท้องถิ่น

นอกจากนี้ ซีเอ็นเอช ยังสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่เน้นหัวข้อเรื่องเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่และ เทคโนโลยีการเกษตรแบบแม่นยำ

ภายในงานเปิดบ้าน CNH วันนี้ ชุน วอยเทร่า ประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของซีเอ็นเอช กล่าวว่า “ความยั่งยืนและนวัตกรรมตลอดระยะเวลาเกือบ 190 ปีที่สั่งสมมาอันยาวนานของบริษัทพาเรามาถึงจุดนี้ที่เราภาคภูมิใจ เรามีแบรนด์ที่แข็งแกร่งและให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับหนึ่งเสมอ

ความฝันเล็กๆ ของดิฉันคือ การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของซีเอ็นเอชมาสู่เกษตรกรไทย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและทุกภาคส่วน และเพื่อที่จะสนุบสนุนความฝันดังกล่าว เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเครื่องจักรที่จะส่งมอบให้กับทุกกลุ่มผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาของเราที่มีถึง 49 แห่งทั่วโลก”

มาร์ค บรินน์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น บริษัท ซีเอ็นเอช

มาร์ค บรินน์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น บริษัท  ซีเอ็นเอช กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีอัจฉริยะในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เพื่อยกระดับงานอัน ทรงคุณค่าของเกษตรกร”

มาร์ค บรินน์ ร่วมกับคุณชุน วอยเทร่า ประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกันในหลายภาคส่วนและการร่วมกันสร้างเพื่อบูรณาการ และนำโซลูชั่นการเกษตรแบบแม่นยำ เครื่องจักรกลสมัยใหม่ และการฝึกอบรมทักษะภาคปฏิบัติไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของไทยในการเป็นศูนย์กลางการเกษตรระดับโลก

ซีเอ็นเอช ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำภาคความคิดมาร่วมพูดคุยกันในงาน Media Day เพื่อร่วมกันแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้ม เทคโนโลยี และความท้าทายในภาคการเกษตรไทย โดยมีผู้เข้าร่วมงาน อาทิ สุมาลี ชิณวงศ์ ผู้อำนวยกลุ่มส่งเสริมพืชเส้นใยและพืชหัว กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เบญจวรรณ ฤกษ์สมเด็จ ที่ปรึกษาฝ่ายบริหารการศึกษา บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

ทองอาบ บุญอาจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นครสวรรค์ และผู้นำภาคเหนือขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ดร. ธิติ มหบุญพาชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาภักดีพณิชยการและเทคโนโลยีและศาสตราจารย์ ดร.อุมา สีบุญเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการระหว่างประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ซีเอ็นเอช ให้การสนับสนุนโครงการการศึกษาการเกษตรในประเทศไทย รวมถึงโครงการทุนการศึกษา ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อออกแบบหลักสูตรการฝึกภาคปฏิบัติ และโครงการฝึกงาน ซึ่งในปีนี้ ซีเอ็นเอช และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อขยายความร่วมมือไปสู่การวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร

ซีเอ็นเอชได้จัดตั้ง Model Farm (ศูนย์การเรียนรู้) โดยร่วมมือกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ ซึ่งทำการสาธิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกรไทย โดยทำภายในศูนย์นี้ และไม่ได้จำกัดเฉพาะคนใน แต่เปิดโอกาสให้กับผู้สนใจทั่วไป และภาครัฐ

บทสรุปการเสวนา

ทางออกวิกฤตแรงงานภาคเกษตรคือการศึกษา อีกไม่นานสังคมทั่วโลกกำลังจะกลายเป็น aging society เนื่องจากการเกิดน้อยลง โดยภายในปี 2578 การเกิดจะลดลงถึงครึ่งนึง ดังนั้นในอนาคตการใช้เทคโนโลยีมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะในภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นโดรน การเกษตรแม่นยำ ซึ่งวิทยาลัยและภาคการศึกษาอาจไม่มีงบประมาณมากพอ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและภาครัฐร่วมมือกันในการจัดหาครุภัณฑ์ การฝึกอบรมและการจัดโปรแกรมสำหรับการปฏิบัติหน้างานจริง

นอกจากรุ่นเด็กในเจนเนอเรชั่นใหม่ เราไม่ควรจะลืมกลุ่มวัยกลางคน โดยจะต้องเพิ่มทั้ง Upskill/Reskill เพราะนอกจากแรงงานที่มีจำนวนน้อยลงไปทุกที แต่ความต้องการผลผลิตยังคงเท่าเดิมหรืออาจมากกว่า ดังนั้นจึงต้องใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วย

การปรับปรุงหลักสูตรภาคการเกษตร การลงมือฝึกปฏิบัติจริงในภาคสนามอย่างจริงจัง ทำให้เด็กหันมาสนใจและสมัครเรียนเพิ่มมากขึ้น