Friday, November 22, 2024
Uncategorized

AIS Business ประกาศยุทธศาสตร์ Cross Industry Collaboration สร้างการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน

AIS Business

AIS Business ประกาศยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร สร้างวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมดิจิทัล ด้วยความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม ส่งเสริม Sustainable Nation หรือการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน

นงาน AIS Business Digital Future 2024 ได้มีการประกาศยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กรสำหรับปี 2567 ด้วยแนวคิด Digital Industry Evolution Cross Industry Collaboration หรือ สร้างวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมดิจิทัล ด้วยความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม

เอไอเอสได้ยืนยันถึงเสาหลัก 3 ประการ Digital Intelligence Infrastructure, Human Capital & Sustainability และ Cross Industry Collaboration ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตลอดจนความยั่งยืน และแนวทางการสร้างความร่วมมือกันพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม

แสดงความพร้อมการขยายธุรกิจในกลุ่มลูกค้าองค์กรใน 3 อุตสาหกรรมหลัก ประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการขับเคลื่อนการเติบโต GDP และระบบเศรษฐกิจประเทศ

ตอกย้ำแนวคิดการเป็นดิจิทัลพาร์ทเนอร์ในใจองค์กรธุรกิจและผู้ประกอบการที่มุ่งสร้างการเติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน พร้อมส่งเสริม Sustainable Nation หรือการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารธุรกิจองค์กร AIS ได้แสดงวิสัยทัศน์ อนาคตขององค์กรดิจิทัล ในงาน AIS Business Digital Future 2024 โดยกล่าวว่า “ในสถานการณ์ความท้าทายด้านเศรษฐกิจ, สงครามการค้า รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อม ธุรกิจเริ่มมองหาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

“หลายองค์กรรวมทั้ง AIS เผชิญหน้ากับความท้าทายเรื่องการบริหารประสบการณ์ลูกค้ารูปแบบใหม่ ทำอย่างไรจะสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างคล้องตัว ปรับตัวเร็ว การดำเนินงานด้วยต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ รวมถึงการให้ความสำคัญถึง สิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสังคม และการมีธรรมาภิบาล”

เอไอเอสในฐานะผู้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ มีความตระหนักดีถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้าองค์กร จึงได้พัฒนาและสร้างนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมจะเป็นหนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาลูกค้าองค์กรและระบบดิจิทัลของประเทศ

ยึดมั่นเสาหลัก 3 ประการ

ธนพงษ์ กล่าวว่า “การทำงานไปด้วยกัน ที่ AIS ยังยึดมั่นเสาหลัก 3 ประการ ที่ประกอบด้วย Digital Intelligence Infrastructure, Human Capital & Sustainability และ Cross Industry Collaboration ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตลอดจนความยั่งยืน และแนวทางการสร้างความร่วมมือกันพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม”

ประการแรก Digital Intelligence Infrastructure เป็นพันธกิจของ AIS ในการสร้างโครงข่ายและปัจจัยพื้นฐานดิจิทัล ที่มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนแรกคือ เทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสาร 5G ครอบคลุมทั่วประเทศ เขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ EEC

ส่วนที่สอง การพัฒนาครือข่ายสำหรับธุรกิจ ทั้งเทคโนโลยีเครือข่ายมือถือ 4G 5G, เครือข่าย Low Power Network (NB-IoT) โครงข่ายไฟเบอร์ และระบบคลาวด์ ส่วนที่สาม คือ AIS Cloud X ระบบศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ รองรับความต้องการของผู้ประกอบการ ทั้งการประมวลผล การสำรองและกู้คืนข้อมูล รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัย

และส่วนที่สี่ คือ AIS PARAGON เป็นแพลตฟอร์มสำหรับลูกค้าให้สามารถขับเคลื่อนระบบดิจิทัลได้เร็วขึ้น รองรับการพัฒนาโซลูชันต่างๆ ได้เร็วขึ้น

หลังจากนี้ จะได้เห็นผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และนวัตกรรมเครือข่าย การสื่อสารสำหรับลูกค้าองค์กรจากฝั่ง AIS Business ออกมามากมาย อาทิ

Communications Platform-as-a-Service หรือ CPaaS บริการสื่อสารที่เชื่อมตอบโจทย์ทุกการสื่อสารขององค์กรในรูปแบบของ Cloud-based ไม่ว่าจะเป็น Voice VDO Mobile

บริการ AIS Cloud PC fot Enterprise ให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรแบบ Desktop as a Service บนคลาวด์ ที่สามารถปรับได้ตามการใช้งานของแต่ละองค์กร และมีความปลอดภัยสูงสุดในการเก็บข้อมูล จุดเด่นคือ ความยืดหยุ่นสำหรับการทำงาน สามารถทำที่ไหนก็ได้ ข้อมูลและการประมวลผลบนระบบคลาวด์ และเป็นระบบสมัครสมาชิก ตอบโจทย์เรื่องการลงทุน จาก CAPEX ไปสู่ OPEX

ประการที่สอง คนและความยั่งยืน Human Capital & Sustainability เอไอเอส ยึดมั่นในทุกเรื่องของการดำเนินธุรกิจ ไม่เฉพาะผลการดำเนินงานในเชิงของตัวเลขรายได้ แต่ยังต้องคำนึงถึงและทำควบคู่ไปคือ การทำสิ่งที่ดีให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนสำคัญของการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ ทำอย่างไรจะสนับสนุนและบริการลูกค้าได้

เทคโนโลยีที่มีบทบาทคือ AI ช่วยให้คนทงานได้มากขึ้น ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง AIS จับมือ ไมโครซอฟท์ ที่เชื่อมต่อการสื่อด้วยไมโครซอฟท์ทีม ให้ผู้ใช้งานสามารถโทรเข้าโทรออกได้ทั้งภายในและนอกองค์กร AI จะสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลให้กับทุกๆ คน

“AI จะมาช่วยให้องค์กรได้อย่างไร ประการแรก AI จะเข้ามาช่วยพนักงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สองการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และสาม พัฒนาประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น หรือพัฒนาสินค้าและบริการ หรือปรับรูปแบบธุรกิจให้ดีขึ้น AI First Organization เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น” ธนพงษ์ กล่าว

ในประการที่สองนี้ AIS ได้เปิดตัว AI สำหรับทุกองค์กรโดย Microsoft 365 Co-pilot for Enterprise ตัวช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงาน ลดเวลาการทำงาน และปกป้องข้อมูล ได้ผลสำเร็จ 87% ทำงานดีขึ้น มากขึ้น 81% ใช้เวลาค้นข้อมูลน้อยลง 88% ทำงานเร็วขึ้น

อีกส่วนหนึ่งคือ บริการใหม่ Microsoft team Operator Connect บริการการสื่อสารใหม่ ที่สามารถโทรศัพท์ติดต่อสื่อสารไปยังปลายทางทุกรูปแบบ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ระบบสายหรือระบบไร้สาย เป็นรายแรกในอาเซียน

ซึ่งเทคโนโลยี AI จะสร้างเข้ามาบริการใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ การบริการลูกค้า การขายสินค้า และการดำเนินธุรกิจในหลายๆ มิติอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน

ประการที่สาม Cross Industry Collaboration เอไอเอสต้องการผลักดันแนวคิด Cross Industry Collaboration ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีส่งผ่านไปยัง 3 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศไทย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก

ซึ่งทั้งสามอุตสาหกรรมเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการขับเคลื่อนการเติบโต GDP และระบบเศรษฐกิจประเทศ ตอกย้ำแนวคิดการเป็นดิจิทัลพาร์ทเนอร์ในใจองค์กรธุรกิจและผู้ประกอบการที่มุ่งสร้างการเติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน พร้อมส่งเสริม Sustainable Nation หรือการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่ง ธนพงษ์ ยืนยันถึงความพร้อมในการส่งมอบบริการดิจิทัลและโซลูชันให้กับทั้ง 3 อุตสาหกรรมดังกล่าว

โชว์ความสำเร็จ ยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีจากเอไอเอส

ในงาน AIS Business Digital Future 2024 ได้เปิดเวทีให้พันธมิตรอุตสาหกรรมของเอไอเสได้แสดงผลความสำเร็จ ยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีจากเอไอเอส ในหลายๆ อุตสาหกรรม อาทิ

สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม ติดตามการใช้พลังงานได้เรียลไทม์

ณรงค์ชัย บัณฑิตวรางกูล บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด ในฐานะดิจิทัลพาร์ทเนอร์ที่นำขีดความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเข้าไปยกระดับการทำงาน กล่าวเสริมว่า “การนำเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานขององค์กรมีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญ อย่างการนำแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงาน (Energy Platform) มาใช้ในการกระบวนการผลิต”

“สามารถทำให้เราติดตามข้อมูลการใช้พลังงานได้แบบเรียลไทม์ หรือแม้แต่การตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลการผลิตได้ตามความต้องการ เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการผลิต พร้อมสนับสนุนวิสัยทัศน์ระดับโลกของโตโยต้าและเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาค”

5G Private Network เพิ่มประสิทธิภาพให้ ฮัทชิสัน พอร์ท

ในขณะที่ผู้ให้บริการท่าเทียบเรือชั้นนำของท่าเรือแหลมฉบัง อย่าง ฮัทชิสัน พอร์ท โดย อาณัติ มัชฌิมา ประธานบริหารงานทั่วไป บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ก็ให้ข้อมูลอย่างน่าสนใจว่า “บริษัทได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นความปลอดภัย สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ทั้งการร่วมกันพัฒนา 5G Private Network สำหรับการทำงานของท่าเรือ”

“นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบ Smart Seaport ที่สามารถควบคุมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่การนำรถบรรทุกอัตโนมัติไร้คนขับมาใช้งานในท่าเรือเป็นแห่งแรกของโลก และการให้บริการ Automated Gate ทำให้ลูกค้า รถบรรทุกตู้สินค้าสามารถผ่านเข้าออกท่าด้วยระบบ อัตโนมัติและดำเนินการได้ด้วยตนเอง”

เซ็นทรัลพัฒนา และ เดอะมอลล์กรุ๊ป เป็น Smart Retail เต็มตัว

สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการค้าที่ 2 ผู้เล่นใหญ่ในตลาดทั้ง เซ็นทรัลพัฒนา และ เดอะมอลล์กรุ๊ป ก็มุ่งสู่การเป็น Smart Retail ด้วยการผสานขุมพลังของดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าไปเสริมขีดความสามารถการทำงานในมิติต่างๆ เพื่อส่งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งให้กับลูกค้า

วัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า “AIS คือหนึ่งในพันธมิตรหลักที่สำคัญของเซ็นทรัลพัฒนา โดยร่วมพัฒนาให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล ต่อยอดให้เป็นศูนย์การค้าที่สร้างประสบการณ์แบบล้ำสมัย”

“อาทิ การเปิดตัว Flagship Store แห่งแรก กับหุ่นยนต์อัจฉริยะ AIS 5G ที่เซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงบริการ Smart Mirror ที่มอบประสบการณ์การลองเสื้อผ้าในรูปแบบเสมือนจริงแบบ Virtual Fitting นับเป็นการทำงานร่วมกันที่ตอกย้ำศูนย์การค้าเซ็นทรัล สู่การเป็น Future of Retail ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง”

ด้าน เดอะมอลล์กรุ๊ป ทาง จิรยุทธ์ กาญจนมยูร ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายไอที บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ให้ข้อมูลว่า “ทางเดอะมอลล์ มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีเข้าสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ให้กับลูกค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ พร้อมวางกลยุทธ์พัฒนาบริษัทด้วยการนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันมาเป็นตัวช่วยในการทำงาน ร่วมถึงพัฒนาแพลตฟอร์การจำหน่ายสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า และร้านค้า”

“ที่ผ่านมาได้ร่วมนำพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและ 5G มาพัฒนาและต่อยอดการให้บริการลูกค้าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการอินเทอร์เน็ตตามที่ต้องการที่ยืดหยุ่นกับร้านค้า, การให้บริการ 5G, Wi-Fi และบริการให้ข้อมูลการตลาดเพื่อลูกค้า”

“นอกจากนี้ยังตั้งเป้านำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งการจะทำให้ศูนย์การค้ามีความทันสมัยได้ตลอดเวลา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี Digital Partner ที่มี Infrastructure ที่แข็งแรงอย่าง AIS เข้ามาเสริมศักยภาพเพื่อต่อยอดการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น”

“คำถามสำคัญของธุรกิจ ณ นาทีนี้คือ องค์กรจะใช้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยไปช่วยธุรกิจในมิติต่างๆ ได้อย่างไร ซึ่ง AIS Business จะเข้ามาช่วยองค์กรต่างๆ ประสบความสำเร็จได้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุด และแนวทางการสร้างความร่วมมือกันพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม” ธนพงษ์​ กล่าวปิดท้าย