Thursday, November 21, 2024
ArticlesData Center

ความสำคัญของระบบมอนิเตอร์ไอที เพื่อการจัดการพลังงานในดาต้าเซ็นเตอร์

Paessler

การจัดการการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ในอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ คือหนึ่งในความท้าทายที่มีอยู่หลายประการ ทางออกของเรื่องนี้มีอยู่สองประการคือ พยายามลดการใช้พลังงานให้ได้มากที่สุด และการตรวจตราภายในระบบไอทีอย่างเรียลไทม์เพื่อให้เกิดใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสุงสุด

นโลกที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้หรือการสร้างข้อมูล การใช้ข้อมูล ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถูกเร่งด้วยการใช้เทคโนโลยี เช่น 5G, AI และIoT และไลฟ์สไตล์ดิจิทัลที่เกิดจากการทำงานแบบไฮบริด การทำงานระยะไกล การช็อปปิ้งออนไลน์ และดิจิทัลคอนเท้นท์ ทำให้ข้อมูลดิจิทัล เติบโตอย่างรวดเร็วใน ดาต้าเซ็นเตอร์

ผลการสำรวจของ Paessler AG ระบุว่า 53% ของธุรกิจในไทยจัดลำดับให้ การทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันมีความสำคัญสูงสุดในปี 2566 ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์กลายเป็นตัวแปรสำคัญของการจัดการไอที และเกี่ยวโยงกับความสำเร็จในการจัดการไอทีของทุกองค์กร

ขณะที่ Statista บริษัทวิจัยชั้นนำของยุโรปให้ข้อมูลว่า การจัดเก็บข้อมูลทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การสร้าง การคัดลอก การบันทึก และการบริโภคข้อมูล โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 59 เซ็ตตาไบต์ ในปี 2563 เป็นประมาณ 149 เซ็ตตาไบต์ ในปี 2567

การเติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคอาเซียน ส่งผลให้การลงทุนและการแข่งขันในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น กูเกิล, เฟซบุ๊ก, อเมซอน และไมโครซอฟท์ ที่ขยายธุรกิจ ดาต้าเซ็นเตอร์สู่ภูมิภาคนี้อย่างรวดเร็ว ทำให้อาเซียนกลายเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์เติบโต เร็วมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

มาตรวัดด้านความยั่งยืน
บทความโดย: เฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Paessler

จากการวิจัย Keeping watch: Monitoring your path to a sustainable IT ของ Paessler พบว่า 48% ของธุรกิจ ในไทยคือ มีกลยุทธ์ไอทีในด้านความยั่งยืน และปัจจุบันกำลังดำเนิน การด้านนี้อยู่ โดยดาต้าเซ็นเตอร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ดังกล่าว

ขณะที่การประมวลผล การจัดเก็บ และการจัดการข้อมูลเป็นงานที่ใช้พลังงานสูงมาก และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของดาต้าเซ็นเตอร์กลายเป็น ความท้าทายของธุรกิจในการบริหารจัดการพลังงานและความยั่งยืน

แต่ดาต้าเซ็นเตอร์ และผู้ให้บริการโคโลเคชัน มีกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจควบคู่ไปกับการบริหารจัดการ พลังงาน และความยั่งยืนหรือไม่? สามารถวัดผลได้จริงไหม? มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการ ทำงานหรือเปล่า? ในการดำเนินงานนั้น มีมาตรการด้านความยั่งยืนไหม? เหล่านี้เป็นคำถามสำคัญ ที่ต้องนำมาพิจารณา

จัดการกับการระบายพลังงาน

สองปัจจัยหลักที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีการใช้พลังงานมาก คือ หนึ่ง อุปกรณ์ไอทีภายในดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งในดาต้าเซ็นเตอร์แต่ละแห่งมีอุปกรณ์ไอทีจำนวนมากและกินไฟสูง ไม่ว่าจะเป็น เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เพาเวอร์ซัพพลาย ระบบสำรองไฟ ฯลฯ

อุปกรณ์เหล่านี้ถูกจัดวางในพื้นที่จำกัด และต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 7 วันเพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้ เกิดความร้อนสูงมาก และ สอง เพื่อป้องกันความร้อนสูงที่เกินไปจนก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ต่างๆ ดาต้าเซ็นเตอร์จึงจำเป็น ต้องมีระบบทำความเย็น เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา

ทั้งสองประการข้างต้นทำให้ ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นธุรกิจที่ใช้พลังงานสูงมาก ปัจจุบันจึงมีกลยุทธ์เพื่อควบคุมการใช้ พลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมลดการพึ่งพาระบบทำความเย็น ซึ่งจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 82% ของดาต้าเซ็นเตอร์ในอาเซียน มีการกำหนดกลยุทธ์ด้านไอทีเพื่อความยั่งยืน

ยกตัวอย่างไมโครซอฟท์ หนึ่งในผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์กำหนดกลยุทธ์โดยการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์บนภูเขาสูงเพื่อใช้ประโยชน์จากอุณหภูมิที่เย็น ที่กำลังทดลองติดตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ใต้น้ำนอกชายฝั่งหมู่เกาะ ออร์กนีย์ของสกอตแลนด์ ในโพรเจกต์ Natick

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ในอาเซียนเป็นเขตร้อน จึงต้องอาศัยระบบทำความเย็น การใช้น้ำเข้ามาช่วยในระบบเพื่อลดอุณหภูมิ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลด อุณหภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การติดตามตรวจสอบเพื่อลดการใช้พลังงาน

บริษัทส่วนใหญ่มากกว่า 90% ของธุรกิจ ในอาเซียนเห็นประโยชน์ของการมอนิเตอร์โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบเรียลไทม์ ขณะที่ 95% ของธุรกิจ ในไทยเห็นว่าการมอนิเตอร์ระบบไอทีมีประโยชน์ต่อใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสุงสุด การประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ อยู่ที่ความสามารถในการวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพื่อให้สามารถติดตามข้อมูลพื้นฐาน ความคืบหน้าและระบุถึงโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานได้

หนึ่งในวิธีตรวจจับการใช้พลังงานคือ การวัดการใช้พลังงานที่หน่วยจ่ายไฟฟ้า (PDU : Power Distribution Unit) ที่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟไปยังอุปกรณ์ในดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่ง PDU ขั้นสูงจะมีฟังก์ชันการตรวจสอบระยะไกล เพื่อให้สามารถติดตาม บันทึก และตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้

เช่น การใช้พลังงาน การจ่ายไฟ ค่าความผันผวน เวลาทำงาน โหลดของอุปกรณ์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับโซลูชันการตรวจสอบที่วัดค่าได้จะช่วยให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีภาพรวมการใช้พลังงานทั้งหมดแบบเรียลไทม์ และยังสามารถตรวจสอบ องค์ประกอบทั้งหมดของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างครอบคลุม รวมถึงระบบระบายความร้อนและพลังงานตาม ส่วนต่างๆ

โดยรวมแล้วการรวมประสิทธิภาพของ PDU เข้ากับโซลูชันการตรวจสอบแบบองค์รวม ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์ สามารถตรวจสอบและประเมินผลการใช้พลังงาน ระบุความผิดปกติ แนวโน้มที่ช่วยให้สามารถปรับปรุง วางแผนการใช้พลังงานได้อย่างชาญฉลาด เพื่อจัดการการใช้พลังงานโดยรวม และช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

การจัดการการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนคือ อนาคตของอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ แต่ยังมีความท้าทายอีกหลาย ประการที่มีความสำคัญ เช่น การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ความสมดุลของต้นทุนและประสิทธิภาพของไอที การจัดการกำลังการผลิต การบริหารต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น และความกังวลด้านความปลอดภัย

รวมถึงการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันและความยั่งยืน ที่มีการทำงานแบบไซโล ในสถานการณ์เช่นนี้ การทำธุรกิจด้านดาต้าเซ็นเตอร์ ถูกคาดหวังมากขึ้นให้ดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม คณะบุคคล รัฐบาล บริษัท หรืออุตสาหกรรมไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยการบูรณาการแบบองค์รวม และความร่วมมือจากทุกฝ่าย

Featured Image: Image by usertrmk on Freepik