Friday, November 22, 2024
ArticlesFinTech

5 เทรนด์ Fintech ที่ต้องจับตามองในปี 2021

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ให้ความเห็นถึง 5 เทรนด์ Fintech ที่ต้องจับตามองในปี 2021 น่าจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการชำระเงิน

วัตกรรมด้านฟินเทคได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของพวกเราไม่ว่าคุณจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม รู้หรือไม่ว่า 73 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกัน โดยอ้างอิงจาก Plaid: The Fintech Effect (2020) กล่าวว่า การใช้แอปพลิเคชันฟินเทคเข้ามาจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตแบบนิวนอร์มอล หลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 กลายเป็นตัวเร่งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแบงก์กิ้งและการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัล

ในปี 2020 อุตสาหกรรม Fintech ได้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของวีซ่าที่มีอยู่ทั่วโลกเพื่อสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการชำระเงินให้กับกลุ่มลูกค้าและผู้ประกอบการต่างๆ

นอกจากนั้นโครงการ Fast Track ที่ช่วยให้ฟินเทคสามารถใช้งานบนเครือข่ายของวีซ่าได้นั้น มีการเติบโตขึ้นถึง 360 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา (ข้อมูลเมื่อกันยายนปี ค.ศ. 2020) และยังได้มีการพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ อย่าง ดิจิทัลแบงก์กิ้ง กระเป๋าเงินดิจิทัล บัญชีเงินเดือนดิจิทัล คริปโต และโซลูชั่นในการชำระเงินเพื่อธุรกิจอื่นๆ เป็นต้น

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

ในปีนี้ สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการ วีซ่า ประจำประเทศไทย ให้ความเห็นถึง 5 เทรนด์ฟินเทคที่ต้องจับตามองในปี 2021 น่าจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการชำระเงิน

1. การชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลสำหรับโซเชียลคอมเมิร์ซ

การเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลกในครั้งนี้ได้พลิกโฉมพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนไปอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่ประเทศไทยเองก็ไม่อาจต้านทานเทรนด์นี้ไปได้

ข้อเท็จจริงคือจากการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ 67 เปอร์เซ็นต์ของคนไทย กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะเพิ่มการใช้อีคอมเมิร์ซ และนั่นคือเหตุผลที่วีซ่าตัดสินใจเปิดโครงการ Everyone Speaks Visa ขึ้นมา

โดยโครงการนี้ได้เชื่อมโยงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กกับบรรดาบริษัทฟินเทคชั้นนำของประเทศไทย เพื่อให้ผู้ขายสามารถรับการชำระด้วยบัตรวีซ่าจากผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

นอกจากนี้ ยังช่วยให้ธุรกิจ ร้านค้า สามารถขยายธุรกิจได้อีกด้วย เราเชื่อในเทรนด์ที่จะส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ว่าจะยังคงเดินหน้าต่อไป ตามผลของการศึกษาฉบับล่าสุดของ วีซ่า (Kantar COVID-19 Barometer) เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนด้านอุปนิสัยและพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากสถานการณ์ COVID-19  

ที่เผยให้เห็นว่า นิสัยในการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะยังคงดำเนินต่อไปแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะสิ้นสุดลง รวมถึง เกือบ 7 ใน 10 ของคนไทย (69 เปอร์เซ็นต์) ยังระบุว่าพวกเขาตั้งใจที่จะเลือกใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลต่อไปแทนที่จะกลับไปใช้เงินสดแม้ว่าการแพร่ระบาดครั้งนี้จะจบลงแล้วก็ตาม

2. เลือกเครดิตในแบบของคุณ

ฟินเทคไม่น้อยที่เริ่มจากการนำเสนอวงเงินแบบเดบิต ซึ่งปัจจุบันวีซ่ากำลังเฝ้ามองดูเทรนด์ที่น่าสนใจในเรื่องของเครดิต บริษัทมากมายอย่าง Upgrade ได้ออกบริการหมวดหมู่ใหม่ในการ ให้เครดิตอย่างรับผิดชอบ (responsible credit) ที่กำลังจะไปแทนที่ วงเงินแบบหมุนเวียน (revolving credit) ด้วยการให้วงเงินส่วนบุคคลสูงสุดที่สามารถชำระคืนได้ด้วยการแบ่งชำระเท่าๆ กัน

และ โปรแกรม Buy Now, Pay Later ก็ได้กลายมาเป็นบรรทัดฐานด้านการชำระในหลายๆ ตลาดเชิงพาณิชย์ไปแล้ว ที่น่าสนใจคือ พวกที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์หมวดนี้เป็นกลุ่มแรกมาจากตลาดที่กำลังพัฒนา อย่างเช่น ประเทศบราซิลที่ธุรกรรมครึ่งหนึ่งของวีซ่าถูกชำระแบบแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ

3. บัญชีเงินเดือนแบบเรียลไทม์

หากคุณสงสัยว่าทุกวันนี้บัญชีเงินเดือนเขาบริหารจัดการกันอย่างไร ตามหลักแล้วพนักงานจะให้นายจ้างกู้เงินจากเงินเดือนของพวกเขาจนกว่าจะถึงช่วงต้นเดือนของทุกเดือน จริงอยู่ว่าคุณได้รับเงินของคุณมาแล้ว แต่ทว่ามันยังคงค้างอยู่ในบัญชีงบดุลของบริษัทอยู่ก่อน

เราลองคิดดูว่าหากบัญชีเงินเดือนจะกลายมาเป็นรูปแบบเรียลไทม์ ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะบรรดาผู้ประกอบอาชีพอิสระเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหล่าพนักงานเงินเดือนประจำที่คุ้นเคยกับการเฝ้ารอให้เงินเดือนเข้าบัญชีทุกเดือนๆ ทุกวันนี้มีวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในการรับเงินเดือน คือการดำเนินการผ่านแพลตฟอร์ม Visa Direct ซึ่งหมายความว่าเงินเดือนของพนักงานจะถูกฝากเข้าบัญชีธนาคารหรือใส่บัญชีบัตรวีซ่าได้ทันทีแบบเรียลไทม์ แทนที่ต้องรอรับเงินช่วงสิ้นเดือน

4. การเชื่อมต่อสกุลเงินดิจิทัล

นักพัฒนารุ่นใหม่กำลังใช้ประโยชน์จากอีโคซิสเต็มที่มีความทันสมัยมากขึ้น อาทิ เครือข่ายระบบบล็อกเชนที่เปิดเป็นสาธารณะ (public blockchain) และสเตเบิ้ลคอยน์ (stablecoins) ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเงินดิจิทัล และบริการทางด้านการเงินเจเนเรชั่นใหม่

ตั้งแต่เปิดตัวโครงการ Fast Track ของวีซ่า บริษัทฟิเทคจำนวนกว่าหนึ่งในสามที่เข้าร่วมโครงการกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากสกุลเงินดิจิทัล

วีซ่าได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับแพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Coinbase ยักษ์ใหญ่ด้านสกุลเงินคริปโตที่เมื่อเร็วๆ นี้ได้ประกาศเปิดตัว Coinbase Card บัตรเดบิตของวีซ่า ที่ให้ลูกค้าใช้จ่ายเป็นสกุลเงินคริปโตได้อย่างสะดวก และยังทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับแพลตฟอร์มอย่าง Fold เพื่อเชื่อมต่อสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ กับผู้ค้ามากกว่า 61 ล้านรายบนเครือข่ายวีซ่า จนถึงตอนนี้วีซ่าได้ร่วมมือกับบริษัทด้านคริปโตแล้วถึง 25 รายทั่วโลก

5. เปิดโลกกระเป๋าเงินดิจิทัล

การชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วทุกมุมโลก ควบคู่ไปกับการเกิดแพลตฟอร์มใหม่ๆ อย่าง Airwallex, Gojek และ LINE Pay สิ่งที่วีซ่ามุ่งทำคือ การร่วมกับผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัล เพื่อทำให้วีซ่าสามารถกลายเป็น source of fund สำหรับทุกกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งหมายความว่า กระเป๋าเงินดิจิทัลต่างยี่ห้อกันก็สามารถจะคุยกันรู้เรื่อง เพราะมีวีซ่าเป็นตัวกลางในการชำระเงิน

วีซ่า เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มการชำระเงิน อีกหนึ่งความมุ่งมั่น คือการสนับสนุนผู้เล่นไม่ว่าจะรายเล็กหรือใหญ่ เพื่อสร้างเส้นทางการชำระเงินรูปแบบใหม่ไปพร้อมกับขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับคนทั่วโลก เราตระหนักถึงบทบาทของเราในการช่วยชี้แนะ ให้การสนับสนุน และผลักดันนวัตกรรุ่นใหม่ๆ ที่ต่อยอดอุตสาหกรรมนี้ให้แก่พวกเราทุกคน และตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะทำความเข้าใจกับเทรนด์เหล่านี้ไปด้วยกัน