Friday, November 22, 2024
Digital Transformation

Digital Transformation ของอุตสาหกรรม F&B ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

Digital Transformation โดยอาศัย ระบบดิจิทัลจะช่วยให้ปรับปรุงกระบวนการและประสิทธิภาพโดยรวมของโรงงาน ทั้งการลดของเสีย ลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน และลดการใช้พลังงาน บรรลุประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานในระดับที่เหมาะสม พร้อมมอบสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ

คำถามที่มักเกิดขึ้นระหว่างทางของ Digital Transformation คือ เราจะรักษารากฐานด้านประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถด้านการติดตาม เสริมความยั่งยืน และความยืดหยุ่นเป็นสูตรสำเร็จได้อย่างไร

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการจะเป็นผู้ผลิตสินค้าบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ด้านเวชภัณฑ์ที่ให้ทั้ง ผลกำไรและสามารถตอบโจทย์ด้านคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น อีกทั้งต้องสอดคล้องตามกฎระเบียบข้อบังคับ มีราคาที่เหมาะสมสำหรับตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการอย่างรวดเร็ว

โซฟี บอร์เน รองประธานอาวุโส ฝ่ายธุรกิจโรงงานระบบดิจิทัล ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เรื่องนี้นับเป็นความท้าทายที่มากขึ้น ในขณะที่เรายังมีความหวังเมื่อ เป้าหมายของผู้ผลิตนวัตกรรมทั่วโลกคือ การให้การสนับสนุนลูกค้าในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ด้วยการช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงาน

พร้อมกับช่วยให้การดำเนินงานมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ด้วยการปฏิรูปสู่ดิจิทัลหรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตที่ไม่เคยมีความคล่องตัว

โซฟี บอร์เน รองประธานอาวุโส ฝ่ายธุรกิจโรงงานระบบดิจิทัล ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้อธิบายถึง นิยามใหม่ด้านประสิทธิภาพโรงงานอาหารและเครื่องดื่มในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ไว้ในบทความ

ซึ่งมีหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ และจะกลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถมองเห็นอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิต

ความคล่องตัว คืออนาคตของภาคการผลิต

ในช่วงที่มีการอ้างถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง นวัตกรรมด้านการผลิตครั้งยิ่งใหญ่ของเฮนรี่ ฟอร์ด สามารถนำรถยนต์ไปสู่การใช้งานในวงกว้าง การหาวิธีผลิตรถยนต์ให้ได้ปริมาณมากในราคาที่ต่ำ ทำให้รถยนต์เปลี่ยนจากสิ่งที่คนรวยเท่านั้นถึงจะเป็นเจ้าของได้ กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถหาซื้อได้

เรื่องนี้มีการอ้างถึงอยู่บ่อยครั้งว่า เป็นการก้าวสู่สายการผลิตในรูปของ assembly line หรือการประกอบชิ้นส่วน ซึ่งใช้คนงานจำนวนน้อย นอกจากนี้ ยังเป็นการย่นระยะเวลาในการสร้างรถยนต์จาก 12 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 2 ชั่วโมงครึ่ง การทำให้กระบวนการผลิตเรียบง่ายและลดจำนวนสายการผลิตให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น ทำให้รถยนต์ส่วนใหญ่ถูกผลิตออกมาแค่สีเดียว คือสีดำ เนื่องจากเป็นสีที่หาได้ในราคาถูกที่สุดและทนทานมากที่สุด

อุตสาหกรรม 4.0 ช่วยสร้างศักยภาพการผลิตที่คล่องตัว

หลักการด้านการผลิตโดยดั้งเดิมของฟอร์ด ยังคงเป็นพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ความกดดันในการผลิตสินค้าที่ถูกต้องในราคาที่เหมาะสมมีมากขึ้นกว่าที่ผ่านมามาก นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีเรื่องความท้าทายที่ต้องรับมือเพิ่มเติมอีก นั่นคือ ผู้คนต้องการรู้ว่าอาหารที่รับประทานมากจากไหน มีการผลิตขึ้นอย่างยั่งยืนหรือไม่ มาจากแหล่งที่มีจรรยาบรรณหรือไม่ สอดคล้องตามกฎระเบียบต่างๆ หรือไม่ และหากคุณไม่สามารถให้ข้อมูลเหล่านี้ได้ คนอื่นก็จะทำหน้าที่นี้แทน

ช่วงระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ประสิทธิภาพของโรงงานเป็นเรื่องที่มากกว่าประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมถึงเรื่องการผลิตที่คล่องตัวและสามารถติดตามที่มาที่ไปได้ ข่าวดีก็คือ เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันช่วยให้เราปรับปรุงประสิทธิภาพได้ อีกทั้งยังช่วยให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวมากขึ้น

โซลูชัน IIoT ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโรงงานได้อย่างไร

ผู้ประกอบการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จะบรรลุประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานในระดับที่เหมาะสม พร้อมมอบสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการได้อย่างไร? ทั้งนี้โซลูชันระบบดิจิทัลจะช่วยให้เรา ปรับปรุงกระบวนการและประสิทธิภาพโดยรวมของโรงงานได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดของเสีย ลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและลดการใช้พลังงาน

อีกทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต นับว่าเป็นความโชคดีที่โซลูชันระบบดิจิทัลในลักษณะเดียวกันเหล่านี้ ยังช่วยให้ก้าวสู่การดำเนินงานที่คล่องตัวยิ่งขึ้น ให้ความยั่งยืนมากขึ้น และผลลัพธ์สำหรับโรงงานที่นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ก็น่าตื่นเต้นมาก

ในประเทศจีน ผู้ผลิตอาหารชั้นนำอย่าง Yili Group สามารถบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ถึง 19 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 5 เปอร์เซ็นต์

การใช้เทคโนโลยี AR ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม

เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ช่วยให้คนทำงานมั่นใจว่ามีข้อมูลที่ถูกต้อง เมื่อใดก็ตามที่ต้องการ และในทุกสถานที่ที่ต้องการ รวมถึงข้อมูลด้านการซ่อมบำรุง และในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นก็จะมีคำแนะนำ แสดงเป็นภาพให้เห็นถึงบริเวณที่เกิดความผิดพลาดและวิธีการแก้ไข จากการที่บุคลากรผู้ดูแลเรื่องการซ่อมบำรุง มักจะใช้ เวลา 50 เปอร์เซ็นต์ของที่มีอยู่ในปัจจุบันไปกับการค้นหาข้อมูล

เทคโนโลยี AR สามารถช่วยได้ในเรื่องการลดการหยุดปฏิบัติงานหรือดาวน์ไทม์ และปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) นอกจากนี้ AR ยังสามารถช่วยในเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากในหลายๆ กรณีนั้น พนักงานไม่จำเป็นจะต้องเปิดประตู panel จริงเพื่อให้เห็นและเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น

การบริหารและรักษาความปลอดภัยจากระยะไกล

ปัจจุบันนี้ เราสามารถทำอะไรต่างๆ ได้มากมายโดยที่ไม่ต้องเข้าโรงงาน การรักษาความปลอดภัยในการเชื่อมต่อสินทรัพย์ ช่วยให้คุณเชื่อมต่อสินทรัพย์เพื่อการซ่อมบำรุง เปลี่ยนพารามิเตอร์ด้านการผลิต หรือแม้กระทั่งการแก้ปัญหาก็ตาม โดยทำทุกอย่างได้จากระยะไกล

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญสามารถ “คอยช่วยดูแล” เพื่อแนะนำหรือให้ข้อเสนอแนะในเวลาที่คุณประสบกับปัญหา หรือพยายามช่วยให้ทุกสิ่งทำงานได้ดียิ่งขึ้น การเชื่อมต่อทั้งหมดจะมีการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อย่างครบวงจร และการเข้าถึงได้จากระยะไกลจะช่วยคุณลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานได้ ในบางกรณี วิธีการดังกล่าวยังช่วยย่นระยะเวลาในการแก้ปัญหาจาก 7 วันเหลือแค่ระยะเวลาสั้นเพียงแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น!

ในกรณีที่มีแรงกดดันจากการที่ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่กดราคาต่ำลง และมีการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารต้องหาทางปรับปรุงต้นทุนการผลิต และปรับช่วงเวลาที่สามารถส่งมอบให้ตลาดได้อย่างเหมาะสม

ระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เฮนรี่ ฟอร์ด ประสบความสำเร็จในเรื่องประสิทธิภาพด้านการผลิตที่ต้องแลกกับความยืดหยุ่น โดยในช่วงต้นศตวรรษ 21 ระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เราอาจสามารถทำได้พร้อมกันทั้งสองเรื่อง