Friday, November 22, 2024
CybersecurityNEWS

จีเอเบิล ส่ง ไซเบอร์จีนิคส์ แบ่งเค้กไซเบอร์ซีเคียวริตี้ 13,000 ล้าน

ไซเบอร์จีนิคส์

จีเอเบิล เปิดตัว ไซเบอร์จีนิคส์ บริษัทที่ปรึกษาไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ส่งมือโปรพร้อมโซลูชันระดับโลกครบไลน์ เข้าแบ่งเค้กไซเบอร์ซีเคียวริตี้ 13,000 ล้านบาท ช่วยลูกค้าเติบโตอย่างมั่นใจ

จีเอเบิล ประกาศเปิดตัว_ไซเบอร์จีนิคส์ บริษัทที่ปรึกษาด้านโซลูชันไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างเป็นทางการ เป็นการต่อยอดธุรกิจของ G-Able ในบทบาทของ Tech Enabler ที่สร้างความเป็นไปได้ให้กับองค์กรธุรกิจ ได้อย่างสะดวก ง่ายดายและปลอดภัยสำหรับทุกคนในทุกองค์กร

โดยวางเป้าหมาย รุกตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ด้วยบริการครบวงจร พร้อมด้วยโซลูชันชั้นนำจากพันธมิตรระดับโลก เพื่อมอบบริการให้คำปรึกษา บริหารจัดการความปลอดภัยและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ ครอบคลุมทุกความต้องการของธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบ สอดรับเทรนด์การเติบโตด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อช่วยองค์กรเติบโตอย่างปลอดภัย

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) เผยว่า “จีเอเบิล ดำเนินธุรกิจในฐานะ Tech Enabler ที่ให้บริการด้าน Digital Transformation แบบครบวงจร ด้วยฐานลูกค้าจำนวนมากของเรา และโซลูชันครบวงจร แบบ end to end ที่ผสานรวมกับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์”

“ด้วยความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีล้ำหน้าเหล่านี้มาช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและปลอดภัยในยุคดิจิทัล คือหนึ่งในสาเหตุที่ตัดสินใจสปินออฟธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อขยายศักยภาพในการบริการลูกค้าในองค์กรธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบ และครบวงจร พร้อมมอบประสิทธิภาพสูงสุดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์”

ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ มีความสำคัญต่อทุกองค์กร

สุธี อัศวสุนทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด เผยว่า “ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะภัยคุกคามเป็นสิ่งที่รอไม่ได้ และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ภาพรวมภัยคุกคามปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งที่ไซเบอร์จีนิคส์ เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงธรรมชาติของระบบโครงสร้างเทคโนโลยีของลูกค้าในแต่ละกลุ่มธุรกิจ”

“โดยเฉพาะเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ต้องอาศัยการเตรียมพร้อมในทุกจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยคุกคาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด โดยเราพร้อมมอบบริการที่ครอบคลุม ทั้งบริการให้คำปรึกษา บริหารจัดการความปลอดภัยและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจได้อย่างครบวงจรด้วยโซลูชันล้ำหน้าจากพันธมิตรผู้จำหน่ายระดับโลก”

แบ่งเค้ก 13,000 ล้านบาท

ปัจจุบันตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในประเทศไทยมีมูลค่าราว 13,000 ล้านบาท ซึ่งทุกธุรกิจที่ต้องการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล จำเป็นต้องมีการลงทุนด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดตามความเหมาะสมด้านงบประมาณ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทุกรูปแบบ

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกภาคส่วน โดยต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคาม ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการธนาคารและการเงิน รวมถึงประกันชีวิต ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเปลี่ยนไปสู่สมาร์ท BFSI ส่วนธุรกิจเทคโนโลยี โทรคมนาคม คมนาคมและการขนส่ง เฮลธ์แคร์ ค้าปลีก

ภาคอุตสาหกรรมการผลิต พลังงานและสาธารณูปโภค ล้วนนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อนำเสนอบริการในระบบดิจิทัล รวมถึงการผสมผสานการทำงานจากระยะไกล การลงทุนด้านคลาวด์ และ AI เพื่อช่วยในการดำเนินงาน ดังนั้นความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น และต้องดำเนินการได้อย่างรัดกุม 

ชูจุดแข็ง คน กระบวนการ และเทคโนโลยี

สุธี เผยต่อว่า “ด้วยวิสัยทัศน์และแนวคิดของไซเบอร์จีนิคส์ ที่ต้องการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจผ่านการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันได้อย่างปลอดภัย เรามีจุดยืนที่แข็งแกร่งในการรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของลูกค้า ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกแบบครบวงจร”

พร้อมความมุ่งมั่นในการรักษาโลกธุรกิจให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมของเรา ที่ให้บริการโดยบุคลากรที่มีความรอบรู้เรื่องความปลอดภัยอยู่ในทุก DNA เรามั่นใจในจุดแข็งของทีมงานมืออาชีพของไซเบอร์จีนิคส์ ที่มีทั้งความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ อย่างลึกซึ้ง

อีกทั้งรับรองด้วยมาตรฐานด้านโซลูชันระดับโลกจากพันธมิตรชั้นนำของเรา เพื่อรองรับการให้บริการทุกธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมได้อย่างครบวงจร นอกจากนี้ ไซเบอร์จีนิคส์เอง ยังผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 27001 ที่เป็นตัวการันตีคุณภาพการให้บริการและมาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศอีกด้วย

พร้อมให้บริการ ความต้องการด้านคลาวด์ซีเคียวริตี้

สุธี กล่าวว่า “ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้ย้ายการประมวลผลบนโครงสร้างพื้นฐานเดิมไปสู่คลาวด์ รวมถึงมีการใช้งานแอปพลิเคชันไปสู่สู่คลาวด์ ซึ่งแนวคิดการทำซีเคียวริตี้ก็เปลี่ยนไป ซึ่งเรามองเห็นความต้องการด้านการให้บริการซีเคียวริตี้บนคลาวด์ที่เพิ่มมากขึ้น”

“ความต้องการดังกล่าว ไซเบอร์จีนิคส์ เตรียมรับมือการให้บริการคลาวด์ซีเคียวริตี้ โดยการศึกษา และมองหาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพเข้ามาให้บริการ มีการเตรียมสร้างทีมงานเพื่อให้คำปรึกษาและให้บริการ มีการวางแผนทำงานร่วมกันในหลายๆ โซลูชัน ทั้งทีมของไซเบอร์จีนิคส์เองและทีมจากจีเอเบิล เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า”

“การให้บริการของไซเบอร์จีนิคส์ครอบคลุมทั้ง บริการให้คำปรึกษา บริหารจัดการความปลอดภัยและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในรูปแบบต่างๆ เช่น Infrastructure Security Protection, Cloud Security, Zero Trust Cybersecurity, IOT/OT Security, Active Directory Security, Beach and Attack Simulation, Attack Surface Management, Identity Access Management, Identity Governance and Administration, Security Rating, Security Consultant และ Manage Security Services อีกด้วย” สุธี กล่าวสรุป