Saturday, November 23, 2024
NEWSSustainabilityTechnology

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดดิจิทัลเซอร์วิส บริการเชิงคาดการณ์ระบบไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม

EcoStruxure

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดบริการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้านการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า ช่วย วิเคราะห์ คาดการณ์ ลดดาวน์ไทม์ เน้นประสิทธิภาพและความยั่งยืน อาศัย EcoStruxure_ให้ศักยภาพด้าน IoT และใช้ AI มาช่วยในการวิเคราะห์

ไนเดอร์ อิเล็คทริค ประกาศบริการใหม่ ดิจิทัลเซอร์วิส ที่เข้ามาช่วยองค์กรและภาคอุตสาหกรรม ในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้านการบริหารจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน โดยอาศัยเทคโนโลยี IoT ร่วมกับ AI อัจฉริยะ ที่เป็นการให้ประสิทธิภาพการดำเนินการที่ดียิ่งขึ้น

รวมถึงการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของระบบไฟฟ้าทั้งระบบ คาดการณ์แนวโน้มการเสื่อมสมรรถภาพของอุปกรณ์ พร้อมแจ้งเตือนความล้มเหลวของอุปกรณ์ล่วงหน้า ช่วยลดดาวน์ไทม์ ยืดอายุของอุปกรณ์ไฟฟ้า และแนะนำแผนการบำรุงรักษาได้อย่างเหมาะสม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

วราชัย จตุรสถาพร รองประธาน ธุรกิจ Field Services ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา เผยว่า “ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวบริการใหม่ คือ ดิจิทัลเซอร์วิส เป็นการบริการด้านการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่บริการภาคสนามเพียงอย่างเดียว ยังมีการผนวกบริการดิจิทัล ด้วย EcoStruxure_ที่ให้ศักยภาพด้าน IoT และใช้ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ มีการบริการที่โดดเด่นได้แก่”

EcoStruxure Service Plans คือ การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าด้วยบริการดิจิทัลตลอดอายุสัญญา ที่ให้บริการครอบคลุมถึงระบบ IoT ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ และปรับปรุงอุปกรณ์ที่ลูกค้ามีอยู่ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทรานส์ฟอร์มระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ด้วยซอฟต์แวร์ ระบบวิเคราะห์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อกับดิจิทัล”

“ช่วยลดความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ลดกิจกรรมด้านการบํารุงรักษา ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเอง ลดเวลาขัดข้องที่ไม่ได้วางแผนไว้ตลอดจนยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และสินทรัพย์”

EcoStruxure Asset Advisor ช่วยเสนอแนวทางในการจ่ายไฟฟ้าและการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ประเมินผลข้อมูลแบบเรียลไทม์จากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ ใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ให้ความสามารถในการคาดการณ์และแก้ไขปัญหาก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น”

“ลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผน ความสูญเสียจากการปฏิบัติงาน และการบำรุงรักษาที่มีราคาแพง ซึ่งลูกค้าหรือผู้ใช้งานสามารถดำเนินการด้วยตนเองอีกทั้งยังสามารถใช้บริการ Service Bureau ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่คอยดูแลและให้บริการตลอด 24×7”

โดยบริการดิจิทัลของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มี 2 แพ็คเกจหลัก ได้แก่

Preventive Services เป็นการบริการเชิงป้องกัน ดูเทรนด์ของระบบ สามารถตรวจสอบได้ ช่วยให้มองเห็นภาพรวมและสถานะของอุปกรณ์ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในแบบเรียลไทม์ พร้อมการแจ้งเตือนอัจฉริยะเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ นอกจากนี้ตลอดแพ็คเกจการใช้งานจะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในระบบตลอด 24 ชม. พร้อมกับการรายงานให้แบบรายเดือน

Predictive Services เป็นการบริการเชิงคาดการณ์ ได้รับบริการพื้นฐานเหมือนกับ Preventive Services แต่จะมีความแตกต่าง อาทิ การรายงานข้อมูลเชิงลึก แบบกำหนดเองได้ มีทีมงานช่วยดูแลและให้คำปรึกษาพร้อมการแจ้งเตือนโดยตรง ตลอด 24 ชั่วโมง และการคาดการแนวโน้มการซ่อมบำรุงในส่วนต่างๆ ทำให้ลดการเกิดดาวน์ไทม์ หรือเหตุขัดข้องโดยไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าได้

โดยผู้ใช้งานจะได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาได้ทันท่วงที หรือก่อนที่จะเกิดเหตุ พร้อมทั้งช่วยให้สามารถรู้ และแจ้งเตือน ช่วงเวลาในการซ่อมบำรุงของอุปกรณ์ต่างๆ ได้เมื่อถึงเวลา หรือใกล้เสื่อมประสิทธิภาพ และเมื่อใกล้หมดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์

EcoStruxure

เปลี่ยนการบำรุงรักษาแบบไทม์เบส ไปสู่ พรีดิกชันเบส

“เรื่องต้นทุนของการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรม เป็นหนึ่งประการที่มีความสำคัญ ระบบของชไนเดอร์ ได้เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนจากการบำรุงรักษาตามเวลาที่กำหนด หรือแบบไทม์เบส ซึ่งต้องชัตดาวน์ระบบทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ มาเป็นคอนดิชันเบส”

“และพัฒนาไปสู่รูปแบบการคาดการณ์ล่วงหน้า หรือ พรีดิกชันเบส พบว่าจะธุรกิจจะสามารถวัด ROI ได้ (Return on Investment) ภายในระยะ 5 ปี ทำให้เกิดการลดต้นทุนด้านการซ่อมบำรุง และต้นทุนการสูญเสียในการหยุดสายการผลิตต่างๆ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน รวมถึงสร้างความยั่งยืนได้อีกด้วย”

ดิจิทัลเซอร์วิส ที่ตอบโจทย์นโยบายความยั่งยืน

“ดิจิทัลเซอร์วิส ของชไนเดอร์ จะช่วยให้ลูกค้ามีข้อมูล ที่จะสามารถนำไปวิเคราะห์ และวางแผน ตามนโยบายด้านความยั่งยืนของแต่ละองค์กร ซึ่งส่งผลให้องค์มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าที่ดีขึ้น เกิดการใช้พลังงานได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด และเหมาะสมที่สุด”

“การเปลี่ยนระบบไฟฟ้าให้เป็นดิจิทัล เป็นการแก้ปัญหาความท้าทายของระบบไฟฟ้าในอดีต ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ โดยเฉพาะการดาวน์ไทม์ที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เนื่องจากการเสื่อมของอุปกรณ์ที่มีอยู่ หรือจากปัจจัยสภาวะแวดล้อมต่างๆ”

“เมื่อเปลี่ยนเป็นดิจิทัลแล้ว ทำให้สามารถเข้าถึงและมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของระบบไฟฟ้า รวมถึงประสิทธิภาพ ในแบบเรียลไทม์ และย้อนหลังได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ คาดการณ์แนวโน้มของระบบได้อย่างมั่นใจ” วราชัย กล่าว สรุป