Thursday, September 19, 2024
NEWS

วีเอ็มแวร์ บาย บรอดคอม ให้ข้อมูลถึงจุดยืนของผลิตภัณฑ์หลังถูกซื้อกิจการ

วีเอ็มแวร์ บาย บรอดคอม

วีเอ็มแวร์ บาย บรอดคอม ประเทศไทย ให้ความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าผ่านประสบการณ์จริงของ Customer Journey แห่งอนาคตในงาน VST ECS: The Show Day in Bangkok 2024

เมื่อเร็วๆ นี้ในงาน The Show Day in Bangkok 2024 ซึ่งจัดขึ้นโดย  บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้แนวคิด Empowering the Future VMware by Broadcom

ภายในงาน วีเอ็มแวร์_บาย บรอดคอม ประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลถึงจุดยืนของผลิตภัณฑ์ วีเอ็มแวร์ หลังถูกซื้อกิจการโดยบรอดคอมเมื่อช่วงต้นปี โดย นันทิชา เกียรติบุตร ผู้จัดการประจำประเทศไทย วีเอ็มแวร์ บาย บรอดคอม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรในไทย

นันทิชา กล่าวว่า “วีเอ็มแวร์ คือซอฟต์แวร์เรือธงของ บรอดคอม ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แนสแดค เป็นผู้นำทางด้านเซมิคอนดัคเตอร์และซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐาน ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมมากมาย การันตีด้วยจำนวนการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาสูงถึง 23000 สิทธิบัตร และมีการลงทุนทางด้าน R&D ถึง 5.3 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2566”

“การซื้อกิจการนี้ วีเอ็มแวร์ ได้กลายเป็นจิ๊กซอว์ที่สำคัญของ บรอดคอม ซึ่งการทำธุรกิจในประเทศไทยจะโฟกัสไปที่สามโจทย์ใหญ่ คือ พอร์ตโฟลิโอปัจจุบัน การทำการตลาดและช่องทางในการจัดจำหน่าย รวมถึงบริการหลังการขายของเรา” นันทิชา กล่าวเสริม

เปิดเผย พอร์ตฟอลิโอของวีเอ็มแวร์

“สำหรับพอร์ตฟอลิโอของวีเอ็มแวร์นั้น จะยังคงให้ความสำคัญกับ VMware cloud foundation (โซลูชันในการทำ Virtualization VM และ container จนถึง Private Cloud) เป็นลำดับแรก รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่อยอดอีกสามกลุ่ม ได้แก่ หนึ่ง Application modernization platform หรือที่รู้จักกันในชื่อ Tanzu สอง Application Network & Security”

“และสาม Software-Defined Edge (การรัน workload ที่ edge/cloud) สำหรับส่วนของ VMware end user computing ได้แยกออกไปเป็นอีกบริษัทภายใต้แบรนด์ Omnissa ส่วน Cybersecurity หรือ Carbonblack ก็จะถูกควบรวมไปกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ซิเคียวริติ้ของ บรอดคอม”

“อินโนเวชันธีมแรกที่ บรอดคอม ต้องการผลักดันคือ Single Platform หรือ Single Product ซึ่งหมายถึงหน้าจอการใช้งานทุกอย่างควรจะเห็นเป็นโปรดักส์เดียว ไม่ใช่หลายโปรดักส์มาต่อกัน โดยควรจะทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อและสามารถตั้งค่ามาตรฐาน หรือมอนิเตอร์ได้จากที่เดียว ดังนั้นฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ ที่ออกมาก็เพื่อตอบโจทย์นี้”

“รวมถึงการออกแพ็กเกจต่างๆ ด้วย สําหรับองค์กรที่ต้องการจะทํา public cloud integration to private cloud/hybrid cloud ก็สามารถทําได้โดยใช้รูปแบบการสมัครสมาชิกได้เลย สำหรับลูกค้าขนาดเล็กที่อยากจะใช้งานแค่เวอร์ชวลไลเซชัน ก็ยังสามารถใช้ VMware vSphere standard edition โดยไม่จำเป็นจะต้องซื้อในรูปแบบแพ็กเกจ”

ให้ความกระจ่างเรื่องบิซิเนสโมเดล

นันทิชา อธิบายเพิ่มเติมว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าบิซิเนสโมเดล หรือรูปแบบการให้บริการ ของบริษัทซอฟต์แวร์องค์กรในปัจจุบันเกือบทั้งหมดได้เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นสมาชิก ดังนั้นองค์กรที่เคยใช้แบบ การให้ใช้ licenses ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีอายุการใช้งาน (perpetual license) และการต่อสัญญาบริการดูแลและบำรุงรักษา MA อาจจะมองว่าไม่เหมือนเดิม”

“ในขณะที่องค์กรที่ต้องการจะมุ่งไปคลาวด์ก็เริ่มคุ้นเคยมากขึ้นกับการจ่ายแบบ จ่ายตามที่ใช้งาน (pay per use) หรือจ่ายเป็นรายปี สำรับ วีเอ็มแวร์ บาย บรอดคอม เรานำเสนอโมเดลการสมัครสมาชิกที่มีความยืดหยุ่นทั้งในแง่ของระยะเวลา การซื้อพร้อมฮาร์ดแวร์ หรือการเซ็นต์สัญญาระยะยาว 3 ปี 5 ปี โดยสามารถแบ่งจ่ายเป็นรายปี หรือจะดูเป็นรายปีต่อปีตามการใช้งาน เป็นต้น”

“สำหรับลูกค้าเดิมที่อยู่บน perpetual license ก็สามารถใช้งานต่อไปได้และถ้ามีสัญญา MA ก็ยังสามารถอัพเกรดหรือเปิดเคสได้ตามปกติ แต่หากไม่ต่อสัญญา MA ทางบรอดคอมยังคงซัพพอร์ตให้สามารถดาวน์โหลด Critical security patch level สูงได้เช่นเดิม”

เดินสายอธิบายลูกค้ามาต่อเนื่อง

“ในช่วงเปลี่ยนผ่านตลอด 8 เดือนที่ผ่านมา ทีมงานของทั้ง วีเอ็มแวร์ บาย บรอดคอม และ VST ECS ได้ร่วมมือกันช่วย พาร์ทเนอร์และลูกค้าหลากหลายองค์กรเพื่อเปรียบเทียบ Total Cost of Ownership (TCO) สำหรับการใช้จ่ายรูปแบบ subscription เมื่อเทียบกับรูปแบบเดิม”

“ซึ่งในหลายๆ เคสผลสรุปเผยว่าการใช้จ่ายแบบรูปการสมัครสมาชิก ทำให้ Total Cost of Ownership (TCO) โดยรวมดีขึ้น และเราสามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียหากลูกค้าต้องการจะมูฟเวิร์คโหลดขึ้นคลาวด์หรือไปแพลตฟอร์มใดก็ตาม เรายังมีผลการศึกษาจากหลายๆ เคสอีกมากมายให้ลูกค้าได้ศึกษาทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจ”

“หลายองค์กรยังคงให้การยอมรับและไว้ใจให้ระบบหลักรันอยู่บนเทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์ เนื่องจากการมีจุดแข็งและความได้เปรียบที่มากไปกว่าเรื่องของเทคโนโลยี นั่นก็คือ บุคลากรที่มีความสามารถและคุ้นเคยในการดูแลระบบ และการเข้าไปเป็นส่วนสำคัญในโพสเซสของการปฏิบัติงานขององค์กร เช่นในเรื่องของการผนวกเข้ากับเครื่องมือต่างๆ การทำ Disaster recovery เป็นต้น” นันทิชา กล่าว

เมื่อไม่นานมานี้ ซีอีโอของวีเอ็มแวร์ ประกาศลงทุนเพิ่มอีก 2 พันล้านดอลลาร์ในการวิจัยและพํฒนา เพื่อเร่งสร้างฟังก์ชั่นและฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ออกสู่ตลาดเร็วขึ้น โดยเฉพาะโซลูชันหลัก vSphere และได้รับการจัดอันดับโดยการ์ทเนอร์ให้เป็นผู้นำทางด้าน server virtualization และ container runtime

ล่าสุดได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรม VMware Private AI Foundation กับ NVIDIA เป็นเฟรมเวิร์คที่ลูกค้าสามารถเลือกติดตั้ง private AI LLM ต่างๆ ได้ ช่วยให้ลูกค้าสามารถรัน workload ทุกประเภทได้บนแพลตฟอร์มของวีเอ็มแวร์