Tuesday, September 17, 2024
NEWS

ผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2024 ชี้ ธุรกิจไทยมองหาการสนับสนุนด้านการค้าข้ามพรมแดน และความยั่งยืน

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยแพร่รายงานผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2024 ชี้ ธุรกิจไทยมองหาการสนับสนุนด้านการค้าข้ามพรมแดน และความยั่งยืน

นาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้เผยแพร่รายงานผลสำรวจ UOB Business Outlook Study ประจำปี 2567 ในประเทศไทย ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ถึงความเชื่อมั่นและแนวโน้มทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่าสนใจ ในด้านการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ อุปสรรคต่อความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจแบบดิจิทัล

วีระอนงค์  จิระนคร ภู่ตระกูล Head of Retail and Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Deputy CEO และ Wholesale Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในทางบวก และส่งเสริมการเติบโตให้กับธุรกิจในประเทศไทยและในอาเซียน โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารชั้นนำในด้านการค้าและผลกระทบด้านความยั่งยืน วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างระบบนิเวศที่มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าของเรา

เมื่อมองไปในอนาคต การค้าข้ามพรมแดน การเงินที่ยั่งยืน และการจัดการซัพพลายเชนที่เป็นดิจิทัล เป็นพื้นที่หลักที่ธุรกิจกำลังมองหาการสนับสนุน เราได้ลงทุนในนวัตกรรมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับคู่ค้าและพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบโซลูชันที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา”

วีระอนงค์ ได้อ้างอิงถึงรายงานผลสำรวจ Business Outlook Study ของธนาคาร เกี่ยวกับเทรนด์ที่น่าสนใจ ในหมู่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ของไทย รวมถึงการสนับสนุนของธนาคารในเรื่องดังกล่าว

ความสนใจที่เพิ่มขึ้นด้านการขยายการเติบโตในต่างประเทศ

ธุรกิจไทยให้ความสำคัญกับการขยายการเติบโตระหว่างประเทศ โดยเกือบร้อยละ 90 มีเป้าหมายที่จะขยายตลาดไปต่างประเทศภายในสามปีข้างหน้า อาเซียนและจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะเวียดนาม เป็นเป้าหมายหลักสำหรับการเติบโตนี้ โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของประเทศไทยในอาเซียน โดยมีมูลค่าการค้าทวิภาคีเกินกว่า 20 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2022

“เมื่อพูดถึงการขยายการเติบโตในต่างประเทศ ธุรกิจกำลังเผชิญกับความท้าทาย เช่น การขาดแคลนบุคลากรภายในประเทศ การเข้าถึงฐานลูกค้าในต่างประเทศที่จำกัด และการขาดการสนับสนุนด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และการปฏิบัติตามข้อกำหนด นี่คือจุดที่หน่วยงานให้คำปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเราสามารถเข้ามาให้ความช่วยเหลือโดยใช้ความเชี่ยวชาญระดับภูมิภาคของธนาคาร เพื่อให้แน่ใจว่าการเข้าสู่ตลาดใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล” วีระอนงค์ กล่าว

ธนาคารยูโอบี ได้จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDIA) ตั้งแต่ปี 2554 ธนาคารได้สนับสนุนธุรกิจกว่า 4,200 บริษัทในการขยายธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งมี 370 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และนับตั้งแต่ปี 2562 หน่วยงานนี้ได้ช่วยให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทย รวมมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการจ้างงานอีกกว่า 18,000 ตำแหน่งทั่วประเทศไทย

ธุรกิจยังมีข้อจำกัดในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

จากผลสำรวจ แม้ว่ากว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน แต่มีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ได้นำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปใช้ แรงจูงใจหลักในการนำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปใช้ได้แก่ การปรับปรุงภาพลักษณ์ของธุรกิจ (ร้อยละ 56) การดึงดูดนักลงทุน (ร้อยละ 50) และการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ (ร้อยละ 46)

ยูโอบีได้จัดทำกรอบการบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Financing Frameworks) ครอบคลุมอาคารสีเขียว เมืองอัจฉริยะ เศรษฐกิจหมุนเวียน การเงินการค้า อาหารและการเกษตร และการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน(Transition Finance) เพื่อช่วยธุรกิจในการเดินทางไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอน โครงการสำคัญภายใต้กรอบเหล่านี้ ได้แก่ โซลูชัน U-Drive, U-Solar และ U-Energy นอกจากนี้ ธนาคารยังมี UOB Sustainability Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือแรกในอุตสาหกรรม ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีในทุกอุตสาหกรรม ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้วยการทำแบบประเมินออนไลน์ เพื่อรับรายงานที่ระบุแผนงานและขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน

ในปี 2023 ธนาคารได้ขยายการให้สินเชื่อที่ยั่งยืนเป็นมูลค่า 33.1 พันล้านบาท และประมาณร้อยละ 25 ของสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติใหม่เป็นสินเชื่อสีเขียว

การดำเนินธุรกิจแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

การนำดิจิทัลมาใช้ยังคงอัตราที่สูงในหมู่ธุรกิจไทย โดยเกือบร้อยละ 40 ได้นำโซลูชันดิจิทัลมาใช้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ซึ่งเกินค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาค การปรับสู่ดิจิทัลได้เพิ่มการเข้าถึงลูกค้า สร้างประสบการณ์อันดีแก่ลูกค้า และเพิ่มความเร็วในการเข้าสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม การปรับใช้ดิจิทัลกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการคู่ค้ายังคงตามหลังอยู่

ยูโอบีตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ผ่านการจัดการห่วงโซ่อุปทานทางการเงินดิจิทัล (FSCM) ฟีเจอร์ใหม่บนบริการธนาคารดิจิทัลสำหรับลูกค้าธุรกิจนี้ ช่วยให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพผ่านแพลตฟอร์มเดียว โดยสามารถช่วยธุรกิจบริหารจัดการคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตั้งแต่การจัดซื้อ การรับชำระเงิน การผลิตไปจนถึงการขาย การออกใบแจ้งหนี้และการติดตามหนี้ โดยการเปลี่ยนจากการทำงานแบบดั้งเดิมที่มีเอกสารมากมาย ไปสู่กระบวนการดิจิทัล ช่วยให้ธุรกิจได้รับความสะดวก รวดเร็ว และมีความโปร่งใส สร้างการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่ง พร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจ

วีระอนงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าและพันธมิตร ยูโอบีจึงเข้าใจถึงภูมิทัศน์ธุรกิจในปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการปรับใช้เรื่องความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ด้วยจุดแข็งหลักของเราในฐานะธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค ที่มีรากฐานมั่นคงในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารผู้นำด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านผลกระทบทางความยั่งยืน และมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้”