Wednesday, January 15, 2025
AIArticlesFinTechGenerative AI

ธุรกิจใน APAC กังวลใจการใช้ GenAI ฉ้อโกงการตรวจสอบอัตลักษณ์และการเงิน

GenAI Fruad

ธุรกิจใน APAC กำลังเผชิญปัญหาการฉ้อโกงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รายงานพบองค์กรมีความน่ากังวัลเรื่องวิวัฒนาการของ GenAI Fruad การฉ้อโกงที่เกี่ยวกับการตรวจสอบอัตลักษณ์และการเงิน โดยเฉพาะการปลอมแปลงอัตลักษณ์ทางดิจิทัล การสวมรอยบัญชี การล่อลวงด้วยโบนัสหรือโปรโมชั่นต่างๆ และการฟอกเงินและบัญชีม้า

ลการศึกษา รายงานการฉ้อโกงทั่วโลกประจำปี 2567 ฉบับใหม่ของ จาก GBG ผู้เชี่ยวชาญด้านอัตลักษณ์และตำแหน่งที่ตั้งทั่วโลก ซึ่งทำการสำรวจธุรกิจธนาคาร อีคอมเมิร์ซ บริการทางการเงิน ฟินเทค เกม ประกันภัย สินเชื่อ และโทรคมนาคม ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ พบว่า ธุรกิจในภูมิภาค APAC เกือบทั้งหมดมีความกังวลเกี่ยวกับการฉ้อโกงที่เป็นระบบและแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น 

ภาพรวมการฉ้อโกงในภูมิภาค APAC

ท่ามกลางการฉ้อโกงที่มีความซับซ้อนและเป็นระบบมากขึ้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันการฉ้อโกง 70% ต่างพบการค่อยๆ เพิ่มขึ้นของความพยายามในการฉ้อโกงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สูงกว่าที่พบในภูมิภาค EMEA (55%) และในสหรัฐอเมริกา (48%) 

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบสองในสาม (63%) ยังมองว่า การฉ้อโกงแบบฉวยโอกาสและสามารถทำได้ง่ายเป็นภัยคุกคามที่พบได้บ่อย

ในแง่ของความเสี่ยงด้านการเงิน ผู้ตอบแบบสอบถาม 11% เผยว่ามูลค่าธุรกรรมโดยเฉลี่ยของความพยายามในการฉ้อโกงสำหรับองค์กรของตนอยู่ที่ระหว่าง 35,000 ถึง 50,000 ดอลลาร์

การฉ้อโกงรูปแบบใดที่น่ากังวลที่สุด

เจ้าหน้าที่ในภูมิภาคนี้มองว่า วิวัฒนาการของ GenAI ในการฉ้อโกงที่เกี่ยวกับการตรวจสอบอัตลักษณ์และการเงินจะมีความน่ากังวัลในช่วง 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า (GenAI Fruad) โดย 35% ของเจ้าหน้าที่ในภูมิภาค APAC เชื่อว่ามีความน่ากังวลสูงสุด ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ 27% ในภูมิภาค EMEA และสหรัฐอเมริกาที่มองในแบบเดียวกัน

ทั้งนี้ ความกังวลที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดจากเหตุผลหลายประการ 27% มอง_GenAI เป็นเครื่องมือในการสร้างอัตลักษณ์ปลอมที่สามารถจูงใจให้เชื่อได้มากขึ้น, 26% เชื่อว่า GenAI จะเพิ่มความถูกต้องแม่นยำให้กับเอกสารที่มีการปลอมแปลงอัตลักษณ์และสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้นเมื่อทำการฉ้อโกงแบบฟิชชิ่งและการฉ้อโกงแบบฟิชชิ่งทางข้อความ SMS (smishing)

ธุรกิจมีการเตรียมความพร้อมที่จะสกัดกั้นการฉ้อโกงอย่างดีพอหรือไม่

แม้จะมีการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI ที่ช่วยให้ผู้ที่ทำการฉ้อโกงสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่ใช้ในการฉ้อโกงได้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันการฉ้อโกงเกือบหนึ่งในห้า (19%) ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการต่อสู้กับเครือข่ายอาชญากรรมที่มีความทันสมัยที่ใช้ทั้งการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ การฉ้อโกง การโจรกรรมอัตลักษณ์ และการฟอกเงินเพื่อทำการฉ้อโกงจากต้นทางถึงปลายทาง

สิ่งนี้ถูกซ้ำเติมด้วยการไม่สามารถระบบสัญญาณความเสี่ยงได้ตั้งแต่ในช่วงต้นของธุรกิจ โดย 28% มองว่าความเข้าใจที่มีต่อแนวโน้มการฉ้อโกงใหม่ๆ เป็นความท้าทายสูงสุด 

และ 27% ชี้ว่า การระบุและยับยั้งการฉ้อโกงในกระบวนการดูแลลูกค้า (onboarding) เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องดำเนินการในเรื่องที่จำเป็นเพื่อยับยั้งการฉ้อโกงและทำให้กระบวนการดูแลลูกค้ามีความราบรื่นไปพร้อมๆ กัน

ความคาดหวังและความเป็นจริงเกี่ยวกับความร่วมมือแบบข้ามองค์กร

เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันการฉ้อโกงส่วนใหญ่มองว่า การแบ่งปันข้อมูลอัตลักษณ์และการร่วมมือกันแบบข้ามองค์กร คือตัวที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างอย่างมีกลยุทธ์ให้กับการเอาชนะการฉ้อโกง 

โดยมีนิวซีแลนด์ (97%) และฟิลิปปินส์ (88%) ที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้เป็นลำดับต้นๆ ซึ่งความเป็นจริง ผู้ตอบแบบสอบถาม 81% ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมด้านข้อมูลทางอัตลักษณ์ ซึ่งมีการเชื่อมต่อธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั่วโลกและแบ่งปันข้อมูลลูกค้าระหว่างธุรกิจ ภาคส่วน และประเทศกันอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความต้องการอย่างมาก กลับมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนไม่ถึงครึ่งที่ลงมือต่อสู้กับการฉ้อโกงร่วมกันอย่างจริงจังด้วยการเข้าร่วมในการประชุมและการแลกเปลี่ยนความรู้ของอุตสาหกรรม (47%) การลงทุนในโซลูชันทางเทคโนโลยีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความปลอดภัย (46%) และร่วมมือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเพื่อแบ่งปันข้อมูล (46%)

ปัจจุบัน 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า องค์กรมีความกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันในการเข้าไปมีส่วนในความร่วมมือในการต่อสู้กับการฉ้อโกง ยิ่งไปกว่านั้น เกือบ 4 ใน 5 (79%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า รัฐบาลทั่วโลกยังไม่มีการสนับสนุนที่มากพอเพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบข้ามองค์กร

ผู้ที่กำลังต่อสู้กับการฉ้อโกงต่างเผชิญกับภาวะหมดไฟ

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด (100%) ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาต้องอดนอนเพราะองค์กรมีความเสี่ยงที่จะเกิดการฉ้อโกง โดยที่ปัญหาการตรวจสอบอัตลักษณ์ (46%) และการขาดทรัพยากร (44%) เป็นสองปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ทำให้พวกเขาต้องคอยทำงานดึกๆ ดื่น

ภาระอันหนักหน่วงนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันการฉ้อโกง โดยเกือบสามในสี่ (70%) ของเจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงเสียเอง

อ่านรายงานฉบับเต็ม: GBG Global Fraud Report

Featured Image: Image by vecstock on Freepik