Sunday, December 22, 2024
CybersecurityNEWS

MFEC ตั้งเป้าหมายรายได้ธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ 1.5 พันล้านบาท ด้วยกลยุทธ์ O3

MFEC

MFEC เดินหน้ารุกตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ตั้งเป้าหมายรายได้ 1.5 พันล้านบาทในสิ้นปี 2566 ประกาศกลยุทธ์โซลูชันป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ภายใต้แนวคิด O3 Observability, Orchestrator, Optimization

ริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด หรือ_MFEC ผู้ให้บริการด้านไอทีครบวงจร เดินหน้ารุกตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้เพื่อตอบรับความต้องการที่สูงขึ้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยประกาศกลยุทธ์สำหรับโซลูชันป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ภายใต้แนวคิด O3 (Observability, Orchestrator, Optimization) ตั้งเป้าหมายรายได้ 1.5 พันล้านบาทในสิ้นปี 2566

ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้กำลังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญสืบเนื่องมาจากความต้องการของตลาดที่ผันเปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล แทบทุกกลุ่มธุรกิจต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และมองหาโซลูชันที่สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน”

“ด้วยประสบการณ์ 26 ปีทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของ MFEC และบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพื่อให้พร้อมที่จะนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงประเด็นและเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า เราจึงได้รวบรวมสถานการณ์ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นกับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยนำมาออกแบบกลยุทธ์ O3 เพื่อหาแนวทางที่สามารถแก้ปัญหาได้จริงอย่างยั่งยืน”

วางกลยุทธ์ O

ดำรงศักดิ์ รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าว กล่าวว่า “ความท้าทายในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อผลักดันให้การเติบโตของธุรกิจผ่านการทำ ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันเป็นไปอย่างปลอดภัยถือเป็นเป้าหมายหลักของ MFEC ในการนำเสนอกลยุทธ์โซลูชัน O3 ที่สามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาได้ครบทุกมิติตั้งแต่การป้องกัน การตรวจจับ และการแก้ไขเมื่อเจอภัยคุกคาม”

“โดยกลยุทธ์โซลูชัน O3 ประกอบด้วย Observability เสมือนมีผู้ช่วยสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวและติดตามหาหลักฐานของผู้โจมตีเพื่อป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์”

Orchestrator ตัวช่วยในการเชื่อมต่อและควบคุมการทำงานของ Software ที่มีความหลากหลายให้ทำงานเชื่อมต่อกันอย่างอัตโนมัติ ช่วยให้องค์กรสามารถกำกับและมองภาพรวมที่สามารถเปิด-ปิดการป้องกันภัยคุกคามได้อย่างง่ายดาย”

“และ Optimization ยกระดับความปลอดภัยให้ทุกองค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้ทำงานได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่บานปลาย”

“กลยุทธ์โซลูชัน O3 เริ่มจากพื้นฐานประสบการณ์ของ MFEC_และพันธมิตรคู่ค้าที่แข็งแกร่งกว่า 40 ราย ผนวกกับข้อมูลปัญหาและโซลูชันจากลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร โทรคมนาคม ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค เป็นต้น นำมาบูรณาการและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ปัญหาได้จริง”

เดินหน้าพัฒนาสินค้าและบริการรองรับกลยุทธ์ O3
ดำรงศักดิ์ รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)

ดำรงศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในการดำเนินกลยุทธ์โซลูชัน O3 จะนำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการ โดย กลยุทธ์แรก Observability นั้น MFEC_จะเดินหน้าพัฒนาการจัดตั้ง CSOC (Cyber Security Operation Center) เพื่อเพิ่มความสามารถในการเฝ้าระวังให้กับลูกค้า”

“ต่อมาคือ การพัฒนาระบบซอฟต์แวร์บริหารสั่งการจากศูนย์กลาง เพื่อประโยชน์กับลูกค้าในการจัดการระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การรักษาความปลอดภัย ในลักษณอัตโนมัติ เปรียบเสมือนวาทยกรที่คุมวงออเครสต้า เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์ Orchestrator”

“และกลยุทธ์ที่สาม Optimization ที่จะเน้นการใช้งานระบบ ซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า บนหลักการที่ลูกค้าจะได้ระบบการรักษาความปลอดภัยในระดับสูงและเกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุนของลูกค้า”

“โดยอาศัยการให้คำปรึกษาและทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อการวางแผนและออกแบบการใช้งานระบบคุ้มคาสูงสุด” ดำรงศักดิ์ กล่าว

ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ จะสนับสนุนให้ MFEC โตเกิน 15%

MFEC_ในฐานะผู้ให้บริการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของประเทศไทยวางแผนที่จะต่อยอดธุรกิจผ่านการพัฒนาบุคคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ วิเคราะห์ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีและองค์ความรู้ และเสริมสร้างฐานพันธมิตรคู่ค้า World Class Cyber Security Partner

โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2566 รายได้จากธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้จะอยู่ที่ 1.5 พันล้านบาท หรือเติบโตราว 15% ซึ่งจะเป็นตัวสนับสนุนให้ภาพรวมธุรกิจ_MFEC จะมีรายได้เติบโตเกิน 15% จากปีที่ผ่านมา หรือประมาณ 6,720 ล้านบาท